TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ครอบครัวสู้ เมื่อลูกประสบภาวะหายใจเร็วชั่วคราวหลังผ่าคลอด

บทความ 3 นาที
ครอบครัวสู้ เมื่อลูกประสบภาวะหายใจเร็วชั่วคราวหลังผ่าคลอด

ประสบการณ์ตรงของ คุณแม่เบลล์ เกี่ยวกับภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในเด็กทารก ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยหลังผ่าคลอด

ประสบการณ์ตรง ของ คุณแม่เบลล์ คุณแม่ลูก 2 ของน้องไอรินและน้องไอเดีย โดยคุณแม่ได้ขอแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับ ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในเด็กทารก ที่เกิดขึ้นกับน้องไอเดีย ที่ตรวจพบหลังจากทำการผ่าคลอด ซึ่งคุณแม่และครอบครัวร่วมกันฝ่าฝันอุปสรรค จนปัจจุบันนี้น้องไอเดีย อายุจะครบ 2 เดือนและสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว ถือว่าเป็นครอบครัวที่มีจิตใจเข้มแข็งกันทั้งบ้าน น่ายกย่องมาก ๆ ค่ะ

ซึ่ง คุณแม่ได้แชร์ประสบการณ์นี้ไว้มีข้อความว่า…

1 ในภาวะเสี่ยงที่แม่ผ่าคลอดควรเตรียมใจไว้รับมือ แม่เบลล์ตั้งใจจะแชร์ประสบการณ์เรื่องนี้นานแล้วหล่ะค่ะ แต่เพิ่งมีเวลามาเขียน อันที่จริงโรคนี้เป็นเพียงภาวะชั่วคราว หายแล้วหายเลยไม่กลับมาเป็นอีก และไม่ได้มีอันตรายอะไรร้ายแรง เพียงแต่ยาก ถ้าหากแม่ๆอย่างเราไม่ได้เตรียมใจเอาไว้ ก็อาจจะทำให้ภาวะจิตใจย่ำแย่ โดยเฉพาะในตอนคลอดใหม่ๆค่ะ ซึ่งแน่นอน แม่เบลล์ก็ไม่ได้เตรียมใจไว้เหมือนกันค่ะ แค่คิดว่าอาจจะมีตัวเหลืองบ้างเท่านั้นเนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่นๆ ภาวะนี้เกิดจากการที่เด็กแรกคลอดไม่สามารถปรับการหายใจได้ปกติใน 6 ชม. หลังคลอด ซึ่งเกิดจากการที่ไม่สามารถรีดน้ำอยู่ที่ในปอดออกได้หมดค่ะ จึงทำให้หายใจเร็ว คุณหมอต้องเพิ่ม ออกซิเจน ในการหายใจและยังไม่สามารถให้นมได้ต้องใช้สายยางในการค่อยๆนำน้ำและน้ำย่อยออกมา น้องต้องรับน้ำเกลือแทนอาหาร แม่เบลล์เหรอคะ นอนรอลูกในห้องพัก จนเย็นก็สงสัยทำไมลูกยังไม่มา ลุกก็ไม่ได้ เพราะฤทธิ์ยาชา สักพัก คุณหมอก็โทรมาแจ้งอาการน้องค่ะ ก็ช๊อคค่ะ แต่มีสติให้คุณยายไปดูน้อง สรุปวันแรกไม่ได้อุ้มไม่ได้เห็นน้องเลยค่ะ T.T วันที่ 2 ลุกจากเตียงได้ก็ไปหาลูกเลยค่ะ สงสารมากเลยมีกล่องออกซิเจน สายยาง สายน้ำเกลือด้วย แม่เบลล์นอน รพ. 4 วันค่ะ ไม่ได้อุ้มน้องเลย ส่วนน้องนอน รพ. 10 วันค่ะ กลับบ้านไม่พร้อมลูกเป็นอะไรที่สภาพจิตใจแย่มากค่ะ ลูกก็ยังไม่ได้ดูดนมแม่ แม่ก็ยังไม่มีการกระตุ้นน้ำนม สิ่งที่ทำได้คือ สตรอง และต้องมีน้ำนมให้เร็วที่สุดเพื่อเอาไปส่งที่ รพ. น้ำนมหยดแรกของแม่เบลล์ได้จากการกระตุ้นจากเครื่องปั๊มนมค่ะ ดังนั้นหากใครบอกว่าลูกไม่ดูดเลยไม่มีน้ำนม แม่เบลล์อยากให้ลองพยายามนะคะ น้ำนมลอตแรก ของแม่เบลล์ ได้ไม่ถึง 1ออนซ์ค่ะ แต่ก็เอาไปให้น้องไอเดียที่ รพ. ค่ะ อยากให้น้องแข็งแรงๆ วันที่ 6 แม่เบลล์ดีใจมากที่ได้ให้น้องเข้าเต้าแต่ก็ยังห้อยสายน้ำเกลืออยู่ แต่ละวันที่หิ้วนมไปให้มันผ่านไปนานมากค่ะ กว่าจะครบ 10 วัน แล้วยิ่งต้องเห็นว่าน้องย้ายตำแหน่งน้ำเกลือยิ่งสงสาร 2 ใน 10 วัน ไม่ได้อุ้มค่ะ น้องส่องไฟตัวเหลือง เฮ้อ….แต่ก็อย่างที่บอกนะคะโรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรงหายแล้วหายเลย เกิดขึ้นได้กับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และผ่าคลอดค่ะ หากใครเจอเหตุการณ์แบบนี้ขอให้สบายใจระดับหนึ่งว่าไม่ร้ายแรงนะคะ การคลอดธรรมชาติ ในช่วงเวลาที่มดลูกบีบตัวจะช่วยรีดน้ำในปอด 1 ใน 3 การที่เราเบ่งคลอด น้องต้องผ่านช่องคลอดเล็ก ๆ ก็ช่วยได้อีก มากกว่า 2 ใน 3 ค่ะ ส่วนที่เหลือ น้องสามารถขับออกมาด้วยการร้อง ที่แม่เบลล์มาเล่าเพราะอยากแชร์ประสบการณ์ และอยากแม่ๆรับมือไว้ด้วยค่ะ ทั้งเรื่องของสติ ความเข้มแข็ง และ **ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดค่ะ** ไม่ได้หมายความว่า คลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอดดีกว่ากันนะคะ เพราะแม่เบลล์ก็ผ่านมาทั้ง 2 แบบค่ะ ท้องนี้ที่จำเป็นต้องผ่า เพราะน้องหัวลอยค่ะเลยต้องผ่าคลอดค่ะ บอกตรงๆสิ่งที่ทำให้แม่เบลล์ไม่ฟูมฟายคือน้องไอรินลูกสาวคนโตค่ะ กำลังใจของแม่จริงๆค่ะ และป่ะป๊าที่เข้มแข็งและให้กำลังใจกันตลอด ตอนนี้มันผ่านไปแล้วค่ะ น้องไอเดียจะ 2 เดือนแล้ว กินเก่ง และแข็งแรงมากค่ะ ^^ ขอให้แม่ๆที่เตรียมคลอดโชคดีและมีสติ เด็กๆแข็งแรงนะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะคะ แม่เบลล์

 

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในเด็กทารก

ซึ่ง ภาวะหายใจเร็วหลังคลอดของเด็กทารก อาจเกิดได้หลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยในเด็กที่ผ่าคลอด คือ transient tachypnea of the newborn หรือย่อว่า TTNB เกิดจากการที่เด็กขาดกลไกธรรมชาติในการรีดน้ำออกจากปอด ซึ่งจะเกิดในตอนที่คลอดผ่าช่องคลอดออกมาเท่านั้น ภาวะนี้ไม่อันตราย ไม่นานก็หายไปเองได้ถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน (ขอบคุณข้อมูลจาก เพจใกล้มิตรชิดหมอ)

 

ขอขอบพระคุณคุณแม่เบลล์ ที่แชร์ประสบการณ์ให้เราทราบถึงภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในเด็กทารก ขอให้คุณแม่ น้องไอริน น้องไอเดีย และครอบครัว มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงต่อ ๆ ไปนะคะ

หากคุณพ่อคุณแม่มีประสบการณ์ใด ๆ ที่อยากร่วมแชร์ แสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยค่ะ

 

ที่มาจาก Facebook – Idea Thanadol

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ความรู้จากแพทย์กับโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก

ลูกมีอาการไข้ ไอ และหายใจหอบเหนื่อย ระวังโรคปอดบวมนะคะ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ครอบครัวสู้ เมื่อลูกประสบภาวะหายใจเร็วชั่วคราวหลังผ่าคลอด
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว