คุณแม่ที่มีการฝากครรภ์และได้ไปตรวจตามนัดคุณหมอ จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าคลอดตามกำหนดหรือก่อนกำหนด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะต้องมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า และในหลายกรณีที่จำเป็นต้องผ่าคลอดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจคาดไม่ถึง ดังนั้นการ ก่อนผ่าคลอด ต้องทําอะไรบ้าง ก่อนผ่าคลอด ต้องทําอะไรบ้าง สิ่งที่คุณแม่ควรรู้มีดังนี้
เตรียมตัวผ่าคลอด เตรียมตัวก่อนผ่าคลอด
แม่ท้อง ควรเตรียมตัวสำหรับการผ่าคลอดอย่างไรบ้าง?
1. ไม่เครียด และงดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนผ่าคลอด
ก่อนถึงวันผ่าตัด ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการผ่าตัด ทำจิตใจให้สงบแจ่มใส อย่ากังวล อย่าเครียด และควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ ก่อน งดน้ำ และ งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนถึงวันผ่าตัด และ ควรไปถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาผ่าตัดอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เช่น เปลี่ยนชุด วัดสัญญาณชีพ พบแพทย์วิสัญญี และทำการเตรียมตัวก่อนเข้าห้องผ่าตัด
2. กระเป๋าเตรียมคลอด
การคลอดเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ การเตรียมตัวล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ “กระเป๋าเตรียมคลอด” โดยทั่วไป คุณแม่ควรเริ่มเตรียมกระเป๋าเตรียมคลอดประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนกำหนดคลอด ภายในกระเป๋าควรมีของใช้จำเป็นสำหรับทั้งคุณแม่และทารกแรกเกิด เช่น ใบนัดแพทย์ บันทึกการตั้งครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวของโรงพยาบาล บันทึกการฝากครรภ์ สำเนาบัตรประชาชนคุณพ่อและคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หลังจากการผ่าตัด ควรพยายามลุกขึ้นเดิน
หลังจากผ่านการผ่าตัด ร่างกายของเราต้องการเวลาในการพักฟื้นและฟื้นฟู การลุกขึ้นเดิน ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น ดังนี้
- ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต: การเดินช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตไปยังบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งจะช่วยเร่งการส่งอาหารและออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อ ส่งผลให้แผลหายเร็วขึ้นและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
- ลดอาการเจ็บปวด: การเดินช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติในร่างกายที่มีฤทธิ์คลายปวด
- ลดอาการท้องผูก: การเคลื่อนไหวร่างกายช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ซึ่งจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกที่พบบ่อยหลังผ่าตัด
- ลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน: การนอนนิ่งเป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในขา การเดินช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและลดความเสี่ยงนี้
- ช่วยให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น: การเดินช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ กลับมาทำงานได้อย่างปกติ ช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังงานและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
4. ดูแลแผลผ่าคลอดให้ดี
ในระหว่างพักฟื้นตัวอยู่ในโรงพยาบาล คุณหมอ และพยาบาลจะคอยเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลผ่าตัด และจะคอยให้คำแนะนำในการดูแลแผลผ่าคลอดของคุณแม่ ให้ระวังการติดเชื้อหลังผ่าตัดช่วงแรก ๆ เพราะความประมาทเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นอาจนำไปสู่อันตรายต่อลูกน้อยและสุขภาพของคุณแม่ได้
ก่อนผ่าคลอด ต้องทําอะไรบ้าง
- เมื่อถึงกำหนดวันผ่าคลอด ก่อนมาโรงพยาบาล คุณแม่สามารถอาบน้ำเตรียมตัวมาได้ก่อนทำการผ่าคลอด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- ไม่ควรโกนขนอวัยวะเพศด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงจากการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัดเพิ่มขึ้น แพทย์จะทำการพิจารณาหากจำเป็นต้องกำจัดขนออกก่อนการผ่าตัด
- ก่อนเข้าทำการผ่าคลอด คุณแม่จะได้รับการทำความสะอาดบริเวณท้อง และใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อสวนปัสสาวะที่ตกค้างอยู่ โดยสายสวนปัสสาวะจะค้างไว้จนผ่าคลอดเสร็จ และจะนำออกหลังจากผ่าคลอดประมาณ 1 วัน
- แพทย์จะทำการเจาะแขนเพื่อใส่สายน้ำเกลือสำหรับการให้เลือดหรือยา
- ในบางโรงพยาบาลแพทย์จะแนะนำให้พูดคุยกับวิสัญญีแพทย์เกี่ยวกับการบล็อกหลังระหว่างผ่าคลอด หรือการฉีดยาชาเข้าทางช่องไขสันหลัง และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการบล็อกหลังผ่าคลอด
- แพทย์อาจให้คุณแม่ทำการตรวจเลือดก่อนการผ่าตัด เพื่อดูระดับฮีโมโกลบินและกรุ๊ปเลือดของคุณแม่ เพื่อการจัดเตรียมเลือดสำรองไว้ในกรณีที่ให้เลือดในระหว่างการผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง
- จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการผ่าคลอด ซึ่งการผ่าคลอดโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
เตรียมตัวผ่าคลอด เตรียมตัวก่อนผ่าคลอด
หลังผ่าคลอด คุณแม่จะทำการพักฟื้นตัวอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อดูอาการปวดหลังจากการผ่าตัด และให้แพทย์ได้ดูแลเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลผ่าตัด รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด ในระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาลคุณแม่ควรลุกขึ้นเดิน เคลื่อนไหวร่างกายบ้างเล็กน้อยเพื่อให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจเดินไปให้นมลูกได้ทันทีเมื่อคุณแม่รู้สึกดีขึ้น
หลังผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้างไหม?
หลังการผ่าคลอดนั้น คุณแม่จำเป็นต้องงดน้ำ และอาหาร ประมาณ 12 – 24 ชั่วโมงแรก และในวันถัดมา คุณแม่จะสามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้ โดยหลังผ่าคลอดช่วงแรก ควรเน้นไปที่อาหารอ่อน ๆ ก่อน เพื่อช่วยปรับลำไส้ในระบบย่อยอาหาร และหลังจากนั้นถึงสามารถรับประทานอาหารปกติได้
อาหารชนิดไหนบ้าง ที่คุณแม่ผ่าคลอดห้ามกิน หรือควรหลีกเลี่ยง:
1. แอลกอฮอล์: คุณแม่ที่ผ่าคลอด ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ช้า และไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกอีกด้วย
2. อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย: แม่ ๆ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ทุกชนิด อย่างเช่น อาหารทะเล ถั่ว นม ผลไม้
3. อาหารเสริม หรือยาต่าง ๆ: คุณแม่ที่ต้องการรับประทานอาหารเสริม หรือมียาประจำตัว ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนว่าควรหรือไม่ที่จะรับประทานอาหารเสริม หรือยาต่าง ๆ ทั้งในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ จนไปถึงการผ่าคลอดหรือไม่ เพราะอาหารเสริมหรือยาบางชนิด อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายในระหว่างการตั้งครรภ์ และผ่าคลอดได้ รวมไปถึงการให้นมลูกด้วย
4. อาหารดิบ: อาหารที่ผ่านการปรุงที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่มีลักษณะสุก ๆ ดิบ ๆ คุณแม่ผ่าคลอดควรเลี่ยงอาหารประเภทนี้ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ซึ่งไม่ดีต่อร่างกายหลังผ่าคลอดของคุณแม่
5. อาหารรสจัด: อาหารรสจัด อาจจะไม่เหมาะสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด ควรเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ดเกินไป เค็มเกินไป เน้นเป็นรสชาติกลาง ๆ ก่อนค่ะ
7. อาหารที่มีคาเฟอีน: หลังการผ่าคลอด คุณแม่ควรงด หรือพยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหาร หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
8. อาหารหมักดอง: ถึงแม้ว่าอาหารหมักดองจะไม่ได้ส่งผลกับแผลผ่าคลอด แต่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนี้ เนื่องจากอาหารหมักดอง อาจจะทำให้คุณแม่มีอาการท้องเสียได้ และอาจส่งผลไม่ดีต่อคุณแม่ที่ให้นมลูกอีกด้วย
เมื่อกลับบ้าน นอกจากการใช้เวลาดูแลลูกน้อยแล้ว คุณแม่ควรได้รับพักผ่อนและการพักฟื้นเพื่อให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น หากในขณะที่พักฟื้นหลังผ่าคลอด คุณแม่มีอาการ
- ไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
- รู้สึกปวดท้องอย่างรุนแรง
- มีอาการแดง บวมหรือมีของเหลวไหลออกมาจากแผลผ่าตัด
- มีของเหลวกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากช่องคลอด
- มีเลือดออกเต็มผ้าอนามัยภายในเวลา 1 ชั่วโมงหรือมีเลือดออกต่อเนื่องกันมากกว่า 8 สัปดาห์หลังจากผ่าคลอด
- รู้สึกเจ็บขณะปัสสาวะ
ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณแม่ควรไปพบคุณหมอทันที อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่ตัดสินใจผ่าคลอด ควรศึกษาและสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากคุณหมอเกี่ยวกับการผ่าคลอดให้ชัดเจน เพื่อลดความกังวล ความเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าคลอดนะคะ
ที่มา : www.pobpad.com, mamypoko, enfababy
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
เตรียมตัวก่อนผ่าคลอด 6 เคล็ดลับดูแลตัวเองเพื่อให้ผ่าคลอดได้อย่างราบรื่นปลอดภัย
ใกล้เวลาผ่าคลอดแล้ว คุณพร้อมแค่ไหน? มีใครตื่นเต้นบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!