TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลลูกน้อย อย่างไรให้ถูกวิธี? พ่อแม่ดูแลลูกแบบนี้หรือเปล่า

บทความ 3 นาที
ดูแลลูกน้อย อย่างไรให้ถูกวิธี? พ่อแม่ดูแลลูกแบบนี้หรือเปล่า

บางครั้งความเชื่อหรือการได้ยินคำบอกต่อ ๆ กันมา อาจทำให้พ่อแม่นำวิธีเหล่านั้นมาใช้ดูแลลูกน้อยอย่างเข้าใจผิด มันอาจเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นสำหรับพ่อแม่มือใหม่ เรื่องบางอย่างที่พ่อแม่ไม่รู้หรือเข้าใจผิด มาอ่านคำแนะนำจากกุมารแพทย์กันค่ะ

ดูแลลูกน้อย อย่างไรให้ถูกวิธี? พ่อแม่ดูแลลูกแบบนี้หรือเปล่า

 

 

#การวัดไข้ด้วยมือ

การใช้มือจับศรีษะ รักแร้ คอ หรือหน้าผาก แล้วรู้สึกว่าลูกตัวร้อน อาจบอกได้ว่าลูกมีไข้ต่ำ ๆ หรืออาจมีอุณหภูมิที่ปกติก็ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วการวัดไข้ด้วยมือ เป็นการประเมินอุณหภูมิร่างกายที่ไม่แน่นอน เพราะมือเป็นอวัยวะส่วนปลาย อุณหภูมิจะน้อยกว่าอวัยวะแกนกลางตัวเสมอ ยิ่งอากาศเย็นเท่าไหร่ความต่างตรงนี้ก็มากขึ้น วิธีการสัมผัสอาจใช้หน้าผากของพ่อแม่สัมผัสกับหน้าผากของลูกจะรับรู้ถึงอุณหภูมิได้มากกว่าการใช้มือ แต่การใช้ปรอทวัดไข้นั้นเป็นอุปกรณ์ที่วัดไข้เมื่อลูกมีอาการไม่สบายได้ดีที่สุด การรู้อุณหภูมิไข้ของลูกที่มีค่าแม่นยำจะช่วยให้พ่อแม่ตัดสินใจในการพาลูกมาหาหมอและช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

 

ดูแลลูกน้อย

 

#คิดว่ายาฉีดดีกว่ายากิน

จริง ๆ แล้วยากินหรือยาฉีด ถ้าเป็นกลุ่มเดียวกันก็จะให้ผลลัพธ์ได้เท่ากัน เพียงแต่ว่ายากินต้องดูดซึมและมีการเมตาบอลิสซึ่ม แต่สุดท้ายก็จะกลายเป็นระดับยาในเลือดเช่นเดียวกันกับยาฉีด แต่ถ้าเป็นยาคนละกลุ่มก็ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

 

#การให้ยาลดไข้ผิดวิธี

พบว่าผู้ปกครองเข้าใจผิดว่าให้ลูกกินยาลดไข้สามารถป้องกันการเกิดไข้ได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ถูกต้อง การให้ยาลดไข้ควรให้ลูกกินเฉพาะตอนมีไข้เท่านั้น และถ้าตัวรุม ๆ ควรเช็ดตัวลูกก่อนให้กินยาลดไข้ เมื่อลูกไข้ลดอาจไม่จำเป็นต้องกินยาลดไข้ได้

 

ดูแลลูกน้อย

 

#ปั่นหูหรือแคะขี้หูให้ลูกเพราะกลัวขี้หูตัน

การใช้ไม้พันสำลีหรือ cotton bud ไปแคะหรือปั่นในหูของลูก จะกลับดันขี้หูให้ย้อนกลับ สะสมเป็นก้อน ขวางการไหลของผิวตามปกติ ส่งผลทำให้ขี้หูมากขึ้นและใหญ่จนไปตันได้ รวมถึงอาจนำเชื้อโรคเข้าไปส่งผลทำให้เป็นหูน้ำหนวกได้ การมีขี้หูหรือ ear wax ผลิตออกมาเป็นเรื่องปกติ เพื่อเคลือบในช่องหูและจะค่อยเคลื่อนออกมาด้านนอกกลายเป็นขี้ไคลจึงค่อยใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ ก็พอ การที่พ่อแม่ไปปั่นหรือแคะหูให้ลูกจะทำให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยและไปกระตุ้นเส้นประสาท ทำให้มีพฤติกรรม “ติด” และลูกจะหาอะไรไปแคะหูปั่นหูด้วยตัวเอง จนอาจทำให้อักเสบหรือติดเชื้อขึ้นได้

 

#ดูดนมเสร็จแล้วดูดน้ำตาม

สำหรับการให้นมลูกในวัยทารกหลังจากลูกดูดนมเสร็จแล้วไม่จำเป็นต้องให้น้ำเพิ่มอีก เพราะนมแม่ก็มีน้ำอยู่แล้ว การดูดน้ำเสริมจะส่งผลให้ทารกทานนมได้น้อยลงและจะได้รับสารอาหารจากนมน้อยลง อีกทั้งเพิ่มเพิ่มโอกาสการสำรอกอีกด้วยเมื่อได้รับน้ำมากเกินที่กระเพาะจะรับได้ และถ้ากลัวว่าจะเกิดคราบนมหรือเชื้อราภายในช่องปากของลูก ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสะอาดพันนิ้ว เช็ดเหงือกลิ้น ให้ลูกวันละ1-2ครั้ง เหมือนการแปรงฟัน ก็จะช่วยป้องกันเชื้อราในปากได้

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

 

ขอบคุณที่มา : www.pantip.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 ความเข้าใจผิด ๆ ของการใช้ถุงยางอนามัย
7 ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ครีมกันแดด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ดูแลลูกน้อย อย่างไรให้ถูกวิธี? พ่อแม่ดูแลลูกแบบนี้หรือเปล่า
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว