ภาวะหยุดหายใจ เป็นปัญหาสำคัญในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกเกิดก่อนกำหนด ตามคำจำกัดความของ The American Academy of Pediatrics หมายถึง ภาวะที่มีการหยุดหายใจมากกว่า 20 วินาที หรือหยุดหายใจน้อยกว่า 20 วินาที แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจช้า (น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที) และ/หรือ มีอาการเขียว (cyanosis) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง (Committee on Fetus and Newborn, American Academy of Pediatrics, 2003) – (เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, 2542)
การพยาบาลเมื่อทารกมีภาวะหยุดหายใจ
พยาบาลที่ดูแลทารกแรกเกิดจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องภาวะหยุดหายในใจทารกแรกเกิด เมื่อทารกหยุดหายใจ ให้กระตุ้นทารกโดยการลูบแขนขา หรือลำตัวเบาๆ หากพบว่าทารกมีการสำรอกนมร่วมด้วย ให้ดูดนม หรือสารคัดหลั่งออกด้วย หากทารกยังไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจโดยใช้ bag และ mask และให้ออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูงกว่าที่ได้รับอยู่ร้อยละ 10 (เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, 2542) ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่มขึ้นภายใน 30 วินาที หลังช่วยหายใจ แพทย์จะพิจารณาใส่ท่อหลอดลมคอ และใช้เครื่องช่วยหายใจ (ประวิน จันทร์วิทัน, 2546) จากนั้นจะค้นหาสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะหยุดหายใจ เพื่อให้การรักษาต่อไป
ชมคลิปการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะหยุดหายใจ
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : www.cmnb.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คลิปสุดซึ้ง เมื่อมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นหลังการคลอด
ทารกคลอดก่อนกำหนดรอดปาฏิหาริย์ด้วยถังน้ำแข็ง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!