อย่างที่ทราบกันครับว่า นมแม่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากมาย ไม่ว่าจะมีสารอาหารที่เหมาะสม ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และการติดเชื้อ และยังช่วยบำรุงสมอง แต่เชื่อหรือไม่ว่า อวัยวะของลูกน้อย ก็มีส่วนกระตุ้นน้ำนมแม่ได้เช่นกัน มาเรียนรู้ กลไกการดูดนมของลูก กันค่ะ
กลไกการดูดนมของลูก
กลไกของการดูดนมของลูก นั้นต้องอาศัยการทำงานของลิ้น และขากรรไกรของลูกน้อย รวมถึงเต้านมคุณแม่ นอกจากนี้ ยังมีไขมันที่แก้มของลูกน้อย ที่ยังจะช่วยให้ลิ้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการดูดนม และยังช่วยให้แก้มของลูกน้อยคงตัวขณะที่ดูดนม และไขมันนี้เอง ที่ช่วยลดแรงกดดัน ขณะที่ลูกน้อยดูดนมจากเต้าคุณแม่อีกด้วยครับ
ภายในหลอดลมของลูกน้อยที่ทำหน้าที่ส่งอากาศไปยังปอด ก็มีส่วนช่วยในการดูดนม นอกจากนั้น ยังมีอีกอวัยวะหนึ่งที่ช่วยในการดูดนม คือกล้องเสียงที่กั้นระหว่างหลอดลม ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันอาหาร และน้ำนมไหลเข้าสู่หลอดลมได้ครับ
อวัยวะทั้งหมดประสานงานกันอย่างลงตัว เพื่อช่วยให้นมผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะ และยังช่วยให้ขนาดของคอลูกน้อยขยายขึ้น ช่วยให้ขากรรไกรล่างขยายตัว ขณะที่ดูดนมจากเต้าคุณแม่ ดังนั้น ลูกจึงต้องดูดถึงลานนม เพื่อให้ลูกดูดนมได้ดียิ่งขึ้น
เพื่อที่จะทำให้คุณแม่เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามาชมวีดีโอนี้ไปพร้อม ๆ กันครับ
ได้เห็นอย่างนี้คุณแม่คงหายเหนื่อยไปเยอะ พร้อมมีกำลังใจในการให้นมลูกน้อยไปอีกนาน ๆ เลยใช่ไหมครับ
กระตุ้นนมแม่ให้มาเร็วด้วยหลัก 3 ดูด
การให้ลูกได้ดูดนมอุ่นๆ จากอก ถือเป็นความสุข และความภาคภูมิใจของแม่ทุกคน แต่แม่มือใหม่จำนวนไม่น้อย มักมีความกังวลว่าจะมีน้ำนมไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงลูก ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น หากแม่ใช้เทคนิคการกระตุ้นน้ำนมให้มาเร็วด้วยหลัก 3 ดูด แล้วจะรู้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวค่ะ
วิธีบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม
บทความ : วิธีบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม
การบีบเต้า (Breast Compression) เป็นการเลียนแบบกลไกการหลั่งน้ำนม (letdown reflect) และช่วยกระตุ้นให้เกิดกลไกการหลั่งน้ำนมตามธรรมชาติ เพื่อให้น้ำนมยังคงไหลต่อไปเมื่อทารกหยุดดูดนมด้วยตัวเอง หรือเมื่อทารกทำท่าดูดแต่ไม่ได้กินนม และช่วยให้ทารกยังสามารถกินนมต่อไปได้ วิธีบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม จะให้ผลค่อนข้างดีในช่วงวันแรก ๆ ช่วยทำให้ทารกได้รับน้ำนมเหลือง (colostrum) มากขึ้น นอกจากนั้นแล้วการบีบเต้าจะมีประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้
1. ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อย
2. ต้องให้นมถี่ ๆ หรือให้นมนาน ๆ
3. ทารกมีอาการโคลิค
4. คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม
5. ท่อน้ำนมอุดตัน
6. กระตุ้นให้ทารกที่ชอบหลับคาอก ในขณะที่ดูดนม ได้กินนมอย่างต่อเนื่อง
วิธีบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม ทำอย่างไร?
1. อุ้มทารกด้วยแขนข้างหนึ่ง
2. จับเต้านมด้วยมืออีกข้าง โดยนิ้วมืออยู่ค่อนข้างห่างจากหัวนม ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านหนึ่งของเต้านม และนิ้วอื่น ๆ อยู่ด้านตรงข้าม (หากนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ด้านบนของเต้านมจะง่ายที่สุด)
3. สังเกตการกินนมของทารก โดยทารกจะกินนมได้เยอะเมื่อเค้ากินนมด้วยการดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก”
4. เมื่อทารกเริ่มอมหัวนม และไม่ได้กินนมด้วยการดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก” ให้เริ่มบีบเต้านม แต่อย่าบีบแรงมาก พยายามอย่าบีบจนลานนมเปลี่ยนรูปร่าง และอย่าคลึงนิ้วตามเต้านมไปหาทารก
5. ค่อย ๆ บีบเต้านมไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งลูกหยุดกินนม จากนั้นจึงคลายแรงบีบ โดยเหตุผลที่ต้องคลายแรงบีบ ก็เพื่อให้คุณแม่ได้พักมือ และได้ปล่อยให้น้ำนมเริ่มไหลให้ลูกอีกครั้ง หากลูกหยุดดูดนมตอนที่คุณแม่คลายแรงบีบ เขาจะเริ่มดูดอีกครั้ง เมื่อน้ำนมเริ่มไหล
6. ทำต่อเนื่องที่เต้านมข้างแรกต่อไป จนกระทั่งทารกไม่กินนมอีกแล้ว แม้จะบีบหน้าอกช่วย คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ที่เต้าข้างนั้นต่อไปอีกสักครู่หนึ่ง เพราะบางทีน้ำนมของคุณแม่ อาจจะยังคงมีกลไกการหลั่งค้างอยู่ และทารกก็อาจจะกินนมต่อได้
7. ถ้าทารกยังต้องการกินนมต่อ สลับให้เขากินนมจากเต้านมอีกข้าง และทำซ้ำตามขั้นตอนข้างบน โดยหากคุณแม่ไม่มีอาการเจ็บหัวนม คุณแม่ ก็อาจจะให้ทารกกินนมสลับกันไปมาในลักษณะนี้ได้หลาย ๆ ครั้ง
8. อย่าลืมว่า ให้ใช้การบีบเต้าช่วย เฉพาะเมื่อทารกทำท่าดูดแต่ไม่ได้กินนม
การบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม นั้นเป็นวิธีที่ใช้ได้ดี แต่หากว่าการให้นมเป็นไปด้วยดีอยู่แล้ว คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้การบีบเต้าเช่นนี้เสมอหรือตลอดไป และสามารถปล่อยไปตามธรรมชาติได้ โดยคุณแม่ควรจะให้ลูกกินนมจากเต้านมข้างแรกจนเกลี้ยงเต้าก่อน และจึงให้เขากินนมจากเต้านมอีกข้างหนึ่งนะครับ
วิธีการดูว่านมเกลี้ยงเต้าหรือไม่ สังเกตได้ดังนี้ครับ
บทความ : จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ
- ก่อนให้ลูกดูดนมจะสังเกตได้ว่าเต้านมจะตึงมาก แต่หากคุณแม่บางท่านมีอาการตึงจนเจ็บ แบบนี้เรียกว่าเต้านมคัด
- หลังจากให้ลูกดูดนมเสร็จ เต้านมจะนิ่มลง และอาการเจ็บก็จะหายไปด้วย
- หากคุณแม่ให้นมลองเอามือบีบเต้านม น้ำนมจะไม่พุ่งออกมามาก และจะมีน้ำนมออกมาเพียงแค่หยดสองหยดเท่านั้น
ที่มา : pregnancyvideo
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ว่า…ทำไมนมแม่จึงดีต่อสุขภาพลำไส้ของลูก
จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอ?