ลูกไม่กินข้าวอาหารเสริม แม่ต้องทำอย่างไร ต้องให้วิตามินเสริมหรือไม่

อย่าซี้ซั้วซื้อให้ลูกกิน! หมอเตือนอย่าซื้อวิตามินเสริมให้ลูกกินเอง หวังดีอยากให้ลูกได้สารอาหาร กลับกลายเป็นทำร้ายลูกไม่รู้ตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่กินข้าวอาหารเสริม แม่ต้องทำอย่างไร ลูกน้อยกินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว ซื้อวิตามินเสริมให้ลูกกิน อันตรายแค่ไหน แม่กลัวลูกขาดสารอาหาร!

 

แม่กลัวลูกขาดสารอาหาร ซื้อวิตามินเสริมให้ลูกกิน

พ่อแม่ควรให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ โดยวิตามินเสริมควรใช้เฉพาะเด็กขาดสารอาหารเท่านั้น และการซื้อวิตามินเสริมให้ลูกกิน ก็ถือเป็นการทำร้ายลูก

 

ซื้อแคลเซียมเสริมให้ลูกกินเพราะกลัวลูกขาดสารอาหาร

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรณีข่าวดังในต่างประเทศ คุณแม่ให้ลูกน้อยกินแคลเซียมเสริมตั้งแต่อายุ 10 วัน หวังให้โตมาสูง สุดท้ายไตพัง และคงมีอีกหลายครอบครัวเมื่อเห็นลูกน้อยไม่ยอมกินอาหาร หรือดูดแต่ขวดนม กินอาหารได้ไม่ครบ 5 หมู่ เช่น ไม่กินข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือห่วงแต่เล่น พ่อแม่ที่วิตกกังวลกลัวลูกขาดสารอาหาร จะพยายามสรรหาวิตามินมาเสริม หวังให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม โภชนาการสำหรับเด็กเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ให้อาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอและสมวัย

 

ด้านนพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า วิตามินที่ผู้ปกครองส่วนมากมักจะเสริมให้ลูก ได้แก่

  • วิตามินซี
  • น้ำมันตับปลา
  • วิตามินรวม
  • ธาตุเหล็ก

กรณีที่เด็กขาดสารอาหารมีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินเสริม แพทย์จะพิจารณาให้ตามความเหมาะสม การให้วิตามินเสริมในเด็กที่ปกติ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อเด็กแล้ว อาจเกิดพิษหรือผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้น เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการจัดอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นแบบอย่างที่ดีของการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน หลากหลาย กินผักผลไม้เป็นประจำสม่ำเสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เริ่มให้นมแม่อย่างเดียวสำหรับทารก 6 เดือนแรก
  • เริ่มอาหารตามวัยที่พอเหมาะ 1 มื้อ เมื่อทารกอายุ 6 เดือน พร้อมกับลดมื้อนม
  • เพิ่มอาหารตามวัยเป็น 2-3 มื้อ เมื่ออายุ 8-10 เดือน
  • หลังอายุ 1 ปี เด็กควรดื่มนมรสจืดวันละ 2-3 ครั้ง เลิกดูดขวดนม

 

ทำได้ดังนี้ จะทำให้เด็กเจริญเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลจากโรคเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมบรรยากาศการกินในครอบครัวไม่บังคับให้เด็กกิน เพราะเด็กจะต่อต้านการกินอาหาร ทำให้เป็นเด็กกินยากและเลือกกิน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลัวลูกขาดสารอาหารเพราะลูกกินแต่นม

ลูกกินแต่นมไม่ยอมกินข้าว แม่กลัวลูกขาดสารอาหาร

พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์ กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3 อธิบายถึงการทานอาหารเสริมของทารก ว่า สำหรับลูกการทานอาหารเสริมเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของเค้า เนื่องจาก

  • อาหารเสริมมีรสสัมผัสแปลกใหม่ซึ่งข้นและหยาบมากขึ้น รสชาติกลิ่นและสีที่หลากหลาย
  • ทารกต้องใช้ทักษะและประสาทสัมผัสในการทานที่มากขึ้น ทั้งการเคี้ยวและการกลืน

ดังนั้น การที่ลูกจะเรียนรู้และฝึกฝนได้ จึงต้องอาศัยความพยายาม อดทน และความช่วยเหลือจากพ่อแม่ และผู้ดูแล เพื่อสร้างลักษณะนิสัยการกินที่ดีให้กับเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีเริ่มอาหารเสริม

  • ควรเริ่มให้อาหารเสริมเมื่อทารกอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายทารกพร้อมทั้งทางระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และระบบไต และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณจนสามารถทดแทนนมได้ 1 มื้อ โดยค่อย ๆ เพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นเรื่อย ๆ จากเหลวไปข้นมากขึ้น หยาบไปเป็นชิ้น ทารกก็จะค่อย ๆ เรียนรู้สัมผัสและรสชาติของอาหารและพัฒนาการเคี้ยวการกลืน การหยิบการตักอาหารทานเองก็มีส่วนในการพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างสายตาและมือของเด็ก โดยทารกที่เริ่มอาหารตามวัยช้าหรือทานแต่อาหารเหลวตลอดก็อาจเกิดปัญหาการปฏิเสธที่จะกิน หรือการเลือกกินได้
  • ปริมาณอาหารที่ให้ขึ้นกับความต้องการพลังงานประจำวันตามอายุ
  • มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ใช้อาหารที่หลากหลาย โดยค่อย ๆ เพิ่มชนิดของอาหารทีละอย่างทุก 5-7 วัน
  • ความเข้มข้นของอาหารต้องไม่ใสเกินไป คือต้องข้นเหมือนกล้วยขูด หรือแยม
  • ความหยาบของอาหาร ค่อย ๆ เพิ่มตามอายุ โดยทารกอายุ 6 เดือนใช้วิธีการบดให้เนื้อค่อนข้างละเอียด และเมื่อสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดีขึ้น จึงค่อย ๆ เพิ่มความหยาบจนถึงอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนอายุ 12 เดือน ทารกจะสามารถทานอาหารเหมือนผู้ใหญ่ได้ แต่รสไม่จัด
  • จำนวนมื้อที่ป้อนต้องเหมาะสมตามวัย ได้แก่ เริ่ม 1 มื้อเมื่อทารกอายุ 6 เดือน และเพิ่มเป็น 1-2 มื้อ ในช่วงอายุ 6-8 เดือน, 2-3 มื้อ ในช่วงอายุ 9-11 เดือน, 3 มื้อ ในช่วงมากกว่า 12 เดือน
  • จัดมื้ออาหารให้เหมาะสม เป็นเวลา ไม่ทานอาหารใกล้กับมื้อนม จะทำให้ทานอาหารได้น้อย
  • ปรับลดมื้อนมเมื่อเพิ่มมื้ออาหาร เช่น อาหาร 1 มื้อ นม 5 มื้อ, อาหาร 2 มื้อ นม 4 มื้อ, อาหาร 3 มื้อ นม 3 มื้อ
  • การทานน้ำผลไม้ น้ำหวาน หรือขนมมากเกินไปในระหว่างวัน จะทำให้ทานอาหารมื้อหลักได้น้อย

ส่วนประกอบต้องสะอาดถูกหลักอนามัย มีคุณค่าทางอาหาร ต้องล้างมือก่อนเตรียมและป้อนอาหาร นอกจากนี้ บรรยากาศของมื้ออาหารต้องดี มีการพูดคุย สบตากับทารกขณะป้อนอาหาร เพื่อเป็นการให้ความรัก และกระตุ้นพัฒนาการ

อ่านเพิ่มเติม ลูกทารกวัยอาหารเสริม กินแต่นม ไม่ยอมกินข้าว ทำอย่างไรดี

 

พ่อแม่ที่กลัวลูกขาดสารอาหาร ควรหาวิธีที่จะช่วยให้ทารกอยากกินอาหารมากขึ้น แทนที่จะซื้อวิตามินเสริมมาให้ลูกกินเอง เนื่องจากการให้วิตามินเสริมที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายของทารก จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตารางอาหารทารกขวบปีแรก ลูกน้อยในแต่ละวัยควรกินอะไร เท่าไหร่ ถึงจะพอดี?

ลูกขาดวิตามิน ลูกขาดสารอาหาร ลูกไม่กินข้าว อาหารเสริม ทารกขอกินแต่นม ทั้งที่ถึงวัยต้องเสริมอาหารแล้ว

สารอาหารสำคัญ แม่ให้นม อาหารช่วงให้นมบุตร โภชนาการแม่หลังคลอด ห้ามขาดสารอาหารสำคัญ

โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya