นมแม่สีเหลือง ปกติมั้ย? ลูกกินได้หรือเปล่า น้ำนมแม่มีกี่สี

lead image

น้ำนมแม่เปลี่ยนสีได้นะคะ ซึ่งมาสาเหตุจากหลายปัจจัย มาดูกันว่านมแม่เปลี่ยนได้กี่สี ปกติมั้ย?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในช่วงแรกของชีวิตลูกน้อย เพราะนมแม่มีสารอาหารและภูมิคุ้มกันที่สำคัญมากมายอันจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาการของทารก แต่บางครั้งคุณแม่มือใหม่บางคนอาจปั๊มนมแล้วเห็นว่า “น้ำนมแม่เป็นสีเหลือง” จนกลายเป็นใจไม่ดี? อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ! เพราะสีของน้ำนมแม่เปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งสีที่แตกต่างล้วนมีความหมายและบอกถึงคุณประโยชน์ที่หลากหลายด้วย เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า นมแม่เหลือง เป็นสัญญาณของความผิดปกติหรือไม่? ลูกกินได้หรือเปล่า แล้วจริงๆ น้ำนมแม่มีกี่สี เพื่อให้คุณแม่มั่นใจในทุกหยดน้ำนมที่มอบให้ลูกน้อยค่ะ

ประโยชน์ของนมแม่

นมแม่ แหล่งรวมโภชนาการของลูกน้อย

ทารกแรกเกิดนั้นยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่จึงเปรียบเหมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อย เพราะมีภูมิคุ้มกันโรค มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วยจำนวนมาก ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้นหากเป็นไปได้ ทั้งนี้ สารอาหารในน้ำนมแม่มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาหลังการคลอด ผ่านกระบวนการสร้างน้ำนมที่เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะค่ะ

 

สารอาหารในน้ำนมแม่

น้ำนมระยะที่ 1

(Colostrum)

  • ระยะหัวน้ำนม 1-3 วันแรก
  • น้ำนมจะมีสีเหลือง บางครั้งเรียกว่า น้ำนมเหลือง เนื่องจากมีแคโรทีนสูงกว่านมระยะหลังมาก
  • เป็นน้ำนมที่อุดมสมบูรณ์มาก มีโปรตีนที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกลือแร่ วิตามิน สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสมองและการมองเห็นของลูก
  • มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยในการขับขี้เทาของลูกได้ด้วย
น้ำนมระยะที่ 2

(Transitional Milk)

  • เป็นน้ำนมสีขาวขุ่น มาในช่วง 5 วัน – 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  • มีสารอาหารเพิ่มขึ้นทั้งไขมันและน้ำตาล ในปริมาณเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
น้ำนมระยะที่ 3

(Mature Milk)

  • น้ำนมช่วงหลังจาก 2 สัปดาห์
  • มีปริมาณมากขึ้น และมีสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก ได้แก่
  • โปรตีน ช่วยยับยั้งจากเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เพิ่มภูมิต้านทาน และเอนไซม์ที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้
  • ไขมัน ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น ได้แก่ DHA และ AA มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น
  • น้ำตาลแลคโตส โอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น ซึ่งมีมากกว่า 200 ชนิด มากกว่านมวัวถึง 5 เท่า สำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้
  • วิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไม? นมแม่สีเหลือง

เมื่อพูดถึง “น้ำนม” แน่นอนว่าภาพจำและความเข้าใจของเราทุกคนต้องเห็นภาพ “น้ำนมสีขาวขุ่น” อย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อคุณแม่มือใหม่บางคนพบว่าสีของน้ำนมเป็นสีเหลือง จึงทำให้เกิดความกังวลใจได้ว่า นมแม่สีเหลือง ปกติมั้ย? สามารถให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้ตามปกติหรือเปล่า ซึ่งต้องบอกว่าสีของนมแม่นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยสีเหลืองของน้ำนมส่วนใหญ่เกิดจาก

  • เป็นน้ำนมส่วนแรก

น้ำนมส่วนแรก (Colostrum) ซึ่งมาช่วงแรกหลังคลอด 1-3 วันแรก จะมีสีเหลืองเข้ม บางครั้งอาจพบว่าเป็นสีส้มคล้ายกับไข่แดงก็ได้เช่นกัน เนื่องจากมีสารอาหารและแอนติบอดีสูงมาก โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ หากคุณแม่พบว่าน้ำนมมีสีเหลืองในช่วงนี้ก็สบายใจได้ค่ะว่าปกติ เพราะน้ำนมเหลืองนี้มีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยอย่างยิ่ง ลูกกินนมแม่ได้ปลอดภัยแน่นอนค่ะ

  • นมแม่สีเหลือง เพราะอาหารที่คุณแม่กิน

หากคุณแม่กินอาหารที่มีสีเหลืองหรือส้ม เช่น แครอท ฟักทอง หรือผักใบเขียวเข้ม อาจทำให้สีของน้ำนมเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้เช่นกันค่ะ

  • ไขมันในน้ำนม

น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk) ซึ่งมีปริมาณไขมันสูงกว่าน้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) อาจมีสีเหลืองเข้มกว่าได้

 

นมแม่สีเหลือง ผิดปกติมั้ย? ทำไมนมแม่เปลี่ยนสีได้

โดยทั่วไปแล้ว นมแม่สีเหลือง ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ไม่น่ากังวล และเป็นสัญญาณที่ดีว่าลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตน้ำนม อย่างไรก็ตาม สีของน้ำนมแม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่สีเหลือง หรือสีขาวขุ่นเท่านั้น มาดูกันค่ะว่า น้ำนมแม่มีกี่สี สีน้ำนมแม่ บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำนมแม่มีสีอะไรได้บ้าง

น้ำนมสีขาว
  • น้ำนมระยะที่ 2 (Transitional Milk) เป็นช่วงที่น้ำนมของแม่เริ่มเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีขาว
สีขาวข้น
  • Mature Milk หรือ น้ำนมระยะที่ 3 เป็นช่วงที่เต้านมได้ผลิตนมแม่ออกมาแบบเต็มตัว
  • ลักษณะน้ำนมแม่ในระยะหลังจากนี้เป็นต้นไป จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะไขมัน หากไขมันมากน้ำนมก็จะมีสีขาวข้น
น้ำนมแม่สีเขียว
  • อาจเกิดจากการกินผักใบเขียว เช่น ผักโขม สาหร่าย ตำลึง สมุนไพรหรืออาหารเสริมบางชนิด
  • เครื่องดื่มที่ผสมสีเขียวบางชนิด ก็ส่งผลให้น้ำนมแม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้เช่นกัน
สีชมพู ส้ม และแดง
  • เกิดจากการกินอาหารอย่าง บีทรูท แครอท น้ำส้ม หรืออาหารแต่งสีต่างๆ เป็นต้น
นมแม่สีน้ำตาล สีสนิม

หรือสีแดงแบบมีเลือดปน

  • เกิดจากการมีเลือดปนผสมอยู่ในน้ำนม
  • อาจจะเกิดจากปัญหาหัวนมแตก หรือเส้นเลือดฝอยแตก น้ำนมนี้ไม่เป็นอันตราย ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน อาการก็จะดีขึ้น
สีดำ
  • พบได้น้อยมาก อาจเกิดจากการกินยาปฏิชีวนะบางตัว หากมีอาการนี้ ควรหยุดให้นมลูก และรีบปรึกษาแพทย์

ดูแลยังไง? เมื่อนมแม่เปลี่ยนสี

การที่นมแม่เปลี่ยนสีเกิดจากปัจจัยหลายอย่างข้างต้น ซึ่งเมื่อปัจจัยเปลี่ยนหรือกลับสู่จุดที่เป็นปกติ สีของนมแม่ก็จะกลับมาเป็นปกติได้เองค่ะ อย่างไรก็ตาม มีวิธีการดูแลตัวเองง่ายๆ ของแม่ให้นมมาฝาก ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. รักษาสุขอนามัยในการให้นม อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายตามปกติ แต่ไม่ควรใช้สบู่ถูบริเวณหัวนมหรือขัดถูหัวนมแรงๆ และซับเต้านมให้แห้งเสมอ นอกจากนี้ ควรล้างมือให้สะอาดและรักษาความสะอาดของเต้านมทั้งก่อนและหลังการให้นม
  2. ให้นมบ่อยๆ และให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธีจะช่วยให้กระบวนการผลิตน้ำนมเป็นไปอย่างราบรื่น
  3. หากคุณแม่สังเกตเห็นว่ามีอาการปวดเต้านม หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและคำแนะนำ เช่น
  4. กินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เพื่อให้น้ำนมมีคุณภาพดี และดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยในการผลิตน้ำนม

มาถึงตรงนี้คุณแม่น่าจะคลายความกังวลเรื่องสีของน้ำนมลงได้บ้าง และสามารถให้นมลูกน้อยอย่างต่อเนื่องได้แล้ว ซึ่งการให้นมแม่ไม่เพียงช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของลูกเท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือช่วยสร้างความรักสานความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้เป็นอย่างดี ช่วงเวลาที่ตาสบตา ร่วมกับสัมผัสแห่งอ้อมกอด ที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกของการเป็นแม่ได้เป็นอย่างดี ร่างกายผลิตฮอร์โมนออกซิโทซินเพื่อสร้างความสุข รวมถึงช่วยให้คุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้นด้วยค่ะ

 

 

ที่มา : คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง , multimedia.anamai.moph.go.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไม? อยู่ดีๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า วิธีแก้ไขให้ลูกน้อย ยอมกลับมากินนมแม่

นมแม่เป็นลิ่ม เพราะอาหารที่กินจริงมั้ย? เกี่ยวกับ ท่อน้ำนมอุดตัน หรือเปล่า?

ลูกกินนมแม่ท้องอืด ได้ไหม? วิธีป้องกันและดูแลเมื่อเด็กนมแม่ท้องอืด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี