ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ว่าด้วยเรื่องวันนั้นของเดือนของคุณผู้หญิง ต้องเข้าใจก่อนว่ารอบเดือนและประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรู้สึกว่าเดือนนี้เมนมาเยอะเหลือเกิน แต่อีกเดือน ประจำเดือนมาน้อย ก็เป็นไปได้ ซึ่งความแปรปรวนเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก 21- 35 วัน ในแต่ละเดือนก็อาจจะมีปริมาณที่ไม่เท่าปกติที่เคยเป็นมาก็ได้

ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป, มากะปริดกะปรอย มาขาด ๆ หาย ๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย วันนี้ theAsianparent จะพาไขข้อสงสัยให้รู้กันไปเลย ว่าประจำเดือนปกติควรมีประมาณไหน แล้วแค่ไหนถึงควรต้องไปหาหมอ?

บทความที่น่าสนใจ : อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เดี๋ยวหงุดหงิด เดี๋ยวเศร้า รับมืออย่างไรดี ?

ประจำเดือนมาน้อยเป็นแบบไหน

ประจำเดือนมาน้อย คือ เลือดที่ออกมาในช่วงที่มีประจำเดือน แต่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือครั้งนั้นมาไม่เกิน 2 วัน โดยอาจจะมีลักษณะคล้ายเลือดหยด, คราบเปื้อนที่ผ้าอนามัยเล็กน้อย เรียกอีกอย่างได้ว่าภาวะที่มีเลือดประจำเดือนไหลออกมาน้อยกว่าปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่ไม่ใช่สัญญาณอันตรายเสมอไป มักเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยรุ่นหรือหญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ผู้ที่มีรอบเดือนมาตามกำหนดปกติ แต่ในระหว่างนั้นมีเพียงระยะเวลาสั้น ๆ อาจเป็นเพราะช่วงนั้นเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน, ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิดก็เป็นได้ ในระยะนี้ยังไม่มีอะไรต้องกังวลมาก ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือนไม่ได้หายไปไหน แต่ถ้าใครที่รู้สึกตัวว่านอกจากจะมาน้อยแล้ว ยังมีช่วงที่ประจำเดือนขาดหายไปด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาให้ประจำเดือนมาตามปกติ

 

อาการประจำเดือนมามากเกินปกติ

โดยทั่วไปรอบเดือนของผู้หญิงอยู่ในช่วง 21-35 วัน และมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนมาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วัน แต่บางรายอาจมีประจำเดือนประมาณ 2-7 วัน ซึ่งเป็นภาวะปกติ โดยเลือดที่ไหลออกมานั้น อาจมีปริมาณแตกต่างกันไป การมาแต่ละเดือนอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันเป๊ะ แต่ก็สามารถมาเร็วหรือช้ากว่าเดินที่ผ่านมาได้บวก-ลบ 7 วัน ทั้งนี้ไม่ว่าประจำเดือนของเราจะมาทุกกี่วัน นานหรือไม่นาน มาในปริมาณเท่าไร ปวดท้องหรือไม่ปวด ก็เป็นสิ่งที่ต้องสังเกตว่า ประจำเดือนปกติของตัวเองนั้นเป็นแบบไหน

อย่างที่บอกว่าประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นนิยามคำว่าวันมามากของแต่ละคนก็ต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีประจำเดือนมากทุกเดือนเป็นปกติ ในขณะที่บางคนไม่ใช่ แต่รู้สึกว่าเดือนนี้มามากกว่าปกติที่เคยสังเกตมา ก็อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือไปปรึกษาหมอ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเสียเลือดประจำเดือนน้อยกว่า 16 ช้อนชา (80 มิลลิลิตร) ในแต่ละเดือน และมักจะอยู่ในปริมาณประมาณ 6-8 ช้อนชา หากมากกว่า 80 มิลลิลิตร หรือมีประจำเดือนติดต่อกันนานเกิน 7 วันจะถือว่าประจำเดือนมามากเกินปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีสังเกตประจำเดือนมามาก

  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือน ผ้าอนามัยทั้งหลาย เต็มทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่าเหรียญ 10 บาท ปนออกมาด้วย
  • เลือดประจำเดือนซึมเปื้อนกางเกงหรือที่นอน
  • จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือนร่วมกันหลายแบบ เช่น ใช้ทั้งผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด

งานวิจัยบอกว่า สาเหตุของประจำเดือนมามากส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในเยื่อบุโพรงมดลูก หรือปัญหาภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนไทรอยด์ก็สามารถทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ ( Menorrhagia) ได้ถึง 32-56%

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตอาการประจำเดือนมาน้อย

ผู้ป่วยอาจมีภาวะประจำเดือนมาน้อยโดยไม่มีสาเหตุ อาจเผชิญปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อยู่ หรืออาจเกิดภาวะเลือดออกในช่องคลอด ดังนั้น ควรสังเกตอาการ และไปปรึกษาแพทย์ทันที หากมีภาวะต่อไปนี้

  • ประจำเดือนมาน้อยกว่า 2 วัน
  • มีเลือดประจำเดือนน้อยมาก หรือเป็นหยดเลือดเพียงเล็กน้อย
  • ประจำเดือนมาน้อยเป็นประจำ โดยเกิดขึ้นบ่อยกว่าการมีรอบเดือนตามปกติ
  • มีภาวะประจำเดือนขาด
  • ประจำเดือนมาและหมดไวกว่าที่เคย
  • ใช้ผ้าอนามัยน้อยกว่าที่เคย

อย่างไรก็ตามการที่ประจำเดือนจะมาน้อยนั้น ยังคงต้องสังเกตว่าเลือดที่ออกมานั้นอาจจะเป็นการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือตกขาวที่มีสีก็ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุประจำเดือนมาน้อย

หากเคยมีเลือดประจำเดือนไหลปกติ หรือประจำเดือนมามากอย่างสม่ำเสมอมาก่อน อาการประจำเดือนมาน้อยอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้ และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • การตกไข่ แม้จะเป็นกระบวนการปกติที่ทำให้ผู้หญิงมีประจำเดือน แต่บางครั้งก็อาจทำให้มีเลือดไหลจากช่องคลอดในช่วงกลางรอบประจำเดือนหรือในช่วงตกไข่ได้ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนปกติที่มาน้อย
  • ตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย ซึ่งอาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็กที่เกิดหลังการปฏิสนธิ โดยจะมีเลือดออกเพียง 1-2 วันเท่านั้น ทำให้เข้าใจผิดได้ อาจเกิดจากการคุมกำเนิดที่ผิดพลาด หรือไม่ได้คุมกำเนิดในขณะมีเพศสัมพันธ์ จึงควรตรวจการตั้งครรภ์หากพบอาการดังกล่าว
  • การให้นมบุตร ในระยะให้นมฮอร์โมนที่ช่วยสร้างการผลิตน้ำนมจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศ ทำให้ไข่ตกช้าและเกิดภาวะประจำเดือนขาด โดยจะใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมามีประจำเดือนตามปกติ ทั้งนี้ อาจมีโอกาสตั้งครรภ์ในระยะนี้ได้ หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในระยะนี้
  • คุมกำเนิดประเภทต่าง ๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, วงแหวนคุมกำเนิด อาจมีผลยับยั้งกระบวนการตกไข่ในเพศหญิง ทำให้ผนังมดลูกบางลงเป็นเหตุให้ประจำเดือนมาน้อยหรือประจำเดือนขาดได้ โดยอาจเผชิญภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ หากเพิ่งเริ่มหรือเพิ่งหยุดใช้ยาคุมกำเนิดไม่นาน และประจำเดือนจะกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดใช้การคุมกำเนิดไปแล้ว
  • ช่วงวัย ด้วยวัยรุ่นเป็นช่วงวัยแรกของการมีประจำเดือน การเจริญเติบโตของร่างกายอาจส่งผลต่อฮอร์โมน ทำให้มีปริมาณหรือระยะห่างที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจเผชิญภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เริ่มลดลง โดยช่วงอายุที่ผู้หญิงมักเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและทำให้เผชิญกับปัญหาประจำเดือนมาน้อย คือ ช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี
  • ความเครียด เมื่อเกิดภาวะเครียดสมองจะปรับเปลี่ยนฮอร์โมนที่คุมรอบเดือน ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยหรือไม่มาเลย แต่จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติหลังหายจากภาวะเครียดแล้ว
  • น้ำหนักตัวไขมันในร่างกาย อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงน้ำหนักตัวน้อยหรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาดได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเสมอ
  • ออกกำลังกายมากเกินไป ปกติแล้วการออกกำลังกายไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะประจำเดือนผิดปกติ แต่หากเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงมาก หรือออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อาจเผชิญภาวะประจำเดือนมาน้อย มาในช่วงสั้น ๆ มานานกว่าปกติ หรือประจำเดือนขาดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ
  • การเจ็บป่วยอื่น ๆ บางโรคหรือบางภาวะอาจทำให้มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด จนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือนได้ เช่น เนื้องอกในมดลูก ภาวะท้องนอกมดลูก ภาวะแท้ง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่เกิดกับอวัยวะในระบบสืบพันธุ์

นอกจากนี้ อาจมีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือนที่มาน้อยกว่าปกติได้ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในช่องคลอด ดังนั้น หากผู้ป่วยพบความผิดปกติของประจำเดือน หรือสงสัยว่าเลือดที่ไหลออกมาอาจไม่ใช่เลือดประจำเดือน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

 

บทความที่น่าสนใจ :

ช่วยตัวเองตอนเป็นประจำเดือน อันตรายไหม มีข้อดีหรือไม่ ?

ไขข้อข้องใจเรื่องตรวจการตั้งครรภ์ ประจำเดือนขาด 1 สัปดาห์ก็สามารถตรวจรู้ว่าตั้งครรภ์ได้แล้ว

พฤติกรรมและอาหารที่สาว ๆ ควรเลี่ยงขณะเป็นประจำเดือน

ที่มา : (pobpad) (2) (3)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn