อุ้มลูกน้อยด้วยแขนข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
พอเริ่มเป็นคุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าใครก็คงทำตัวไม่ค่อยถูก ทำแบบนี้ แบบนั้นจะผิดไหมนะ? บางคนทำไปก็ไม่รู้ว่าจะอันตรายกับลูกหรือเปล่า โดยเฉพาะท่าอุ้มลูกที่พ่อแม่มือใหม่มักเป็นกังวล เพราะเจ้าหนูยังบอบบาง กลัวอุ้มลูกไปจะไปโดนอวัยวะส่วนไหนแล้วน้องเจ็บ หรือไม่สบายตัว รวมถึงความปลอดภัยในการอุ้มอีกด้วย ดังนั้นท่าอุ้มลูกในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องศึกษาไว้นะ อุ้มลูกน้อยด้วยแขนข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ สังเกตไหมคะว่าคุณเเม่ส่วนใหญ่มักจะอุ้มลูกไว้ซ้ายมือของตัวเอง เพราะอะไรกันแน่
0-3 เดือน
ละลายในอ้อมแขน
ทำไมการอุ้มลูกข้างซ้ายจึงเป็นที่นิยมกัน เพราะเเขนคุณเเม่เเข็งเเรงกว่าเหรอ หรือเด็กๆ จริงๆ เเล้ว อุ้มลูกข้างไหน ยังไงดี วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
มีการเก็บข้อมูลค่ะว่า 80% ของคุณเเม่ จะอุ้มลูกเอาไว้ข้างซ้าย ซึ่งเชื่อว่าการที่คุณเเม่อุ้มลูกไว้ข้างซ้าย มือขวาของคุณเเม่จะได้ว่าง ทำอะไรต่อมิอะไรได้
อุ้มลูกซ้ายมือ ดียังไง
จริงๆ เเล้ว สมองด้านขวาของคนเราจะรับสัญญาณจากร่างกายด้านซ้าย กลับกันสมองด้านซ้ายก็จะรับสัญญาณจากร่างกายด้านขวาค่ะ ซึ่งสมองด้านขวานั้นมีความสำคัญในการจดจ่อ เเปลงสัญญาณ เเละสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
การอุ้มลูกเอาไว้ด้านซ้ายมือของคุณเเม่ จึงช่วยให้คุณเเม่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เเละระมัดระวังภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คอยปกป้องลูกจากอันตรายรอบด้าน นอกจากนี้ยังช่วยให้การสานสัมพันธ์กับลูกน้อยได้ด้วย จากการช่วยเหลือของสมองซีกขวา สิ่งเหล่านี้ก็คือเหตุผลเเละเเนวโน้มตามธรรมชาติที่คุณเเม่ส่วนใหญ่อาจจะไม่ทราบกันก็เป็นได้ค่ะ
6 ท่าอุ้ม ที่ห้ามทำเด็ดขาด เพราะอันตรายต่อลูก !
การอุ้มลูกวัยทารกดูดนม อุ้มไล่ลม อุ้มกล่อม อุ้มเดินเล่น เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ แต่หากพ่อแม่อุ้มไม่ถูกต้อง ข้อเสียที่เกิดขึ้นกับลูกมีหลายอย่างเลยนะคะ
1. วัย 0-3 เดือน อุ้มไม่ได้ประคองคอและหลัง เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อคอและหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกโดยไม่ประคองคอและหลัง จะทำให้กล้ามเนื้อของลูกอักเสบได้
2. วัย 3-6 เดือน ไม่ได้ประคองหลัง เด็กวัยนี้แม้กล้ามเนื้อคอจะพัฒนาจนชันคอได้แล้ว แต่กล้ามเนื้อหลังยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้กล้ามเนื้อหลังของลูกอักเสบได้
3. อุ้มเขย่าหรืออุ้มโยน ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้เลือดออกในสมองของลูกได้
4. อุ้มลูกในท่าที่คอพับหรือหงายเกินไป ทำให้ลูกหายใจได้ไม่สะดวก ควรสังเกตลูกตลอดว่าคอลูกพับลงมาจนทำให้คางติดหน้าอกหรือเปล่า หรือว่าอุ้มแล้วลูกแหงนหน้าจนเกินไปหรือไม่
5. อุ้มเข้าเอวเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อลูกและกล้ามเนื้อของพ่อแม่อักเสบได้ และลูกจะเห็นมุมมองที่ซ้ำๆ เดิมๆ ไม่เห็นมุมมองใหม่ๆ ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกด้วย
6. อุ้มลูกนอน คุณพ่อคุณแม่บางคนอุ้มลูกจนหลับไป แต่ลืมระมัดระวังศีรษะของลูก หากอุ้มพาดบ่าลูกอาจจะหลับคอพับคออ่อน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อของลูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
เลี้ยงลูกคนโต ไม่ให้เขารู้สึกขาดความรัก
นอกจากนี้..เพราะสุขภาพของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องใส่ใจ ยิ่งหากคุณเป็นคุณแม่มือใหม่ด้วยแล้ว การเรียนรู้ ศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องสุขภาพทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อต้องห้ามหลังคลอดต่างๆ ทั้งต่อตัวคุณเองและตัวลูกน้อยเองนั้น ย่อมถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเลยล่ะ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าข้อต้องห้ามที่คุณแม่ควรเฝ้าระวังและไม่ควรปฏิบัติกับเจ้าตัวน้อยที่คุณรักนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
1.ห้ามออกนอกบ้านก่อน 3 เดือนละเจ็บป่วยด้านอื่นๆ แทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้ค่ะ
เพราะภูมิคุ้มกันและระบบต่างๆ ทั้งภายในภายนอกของลูกน้อยยังทำงานไม่เต็มที่ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กออกนอกบ้าน รวมถึงการเดินทางไปที่สาธารณะที่มีคนเยอะๆ ด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ร่างกายของลูกติดเชื้อและเจ็บป่วยด้านอื่นๆ แทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้ค่ะ
2.ห้ามทานอาหารเสริมก่อนถึงวัย 6เดือน
สำหรับเด็กแรกคลอดนั้น ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ จึงไม่ควรให้ทานอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ จนกว่าจะถึงวัยที่รับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ได้
3.ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก
ผิวหนังของทารกมีความบอบบางมาก อาจเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวได้ง่าย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู หรือข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ที่สำคัญแป้งเด้ก คุณแม่ควรตรวจสอบส่วนผสมด้วยค่ะ ว่า มีสารต้องห้าม ทัลคั่มด้วยหรือเปล่า ห้ามใช้นะคะ
4.ห้ามนอนหรืออุ้มเด็กผิดท่า
กระดูกและกล้ามเนื้อของทารกยังคงบอบบาง จึงควรจัดท่าทางการนอนหรือการอุ้มด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงระวังบริเวณข้อต่อต่างๆ และคอด้วย หากให้ดีแนะนำให้คุณแม่ควรศึกษาท่าอุ้มลูกในอิริยาบถต่างๆ ไว้เนิ่นๆ ล่วงหน้าก่อนคลอดจะดีกว่าเพื่อให้เกิดการทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนก่อนที่วันคลอดจะมาถึง ทำให้การอุ้มลูกหลังจากคลอดแล้วเต็มไปด้วยความเข้าใจและระมัดระวังมากกว่าความเก้ๆ กังๆ และความประหม่าที่อาจมีมากกว่า
5.ห้ามกดบริเวณกระหม่อม
กระหม่อมของเด็กทารกยังคงบอบบางมาก อีกทั้งยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงมีโอกาสฉีกขาดสูงหากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง จนอาจเกิดภาวะร้ายแรงตามมาและอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ดังนั้นห้ามกดหรือทำกิจกรรมที่จะไปกระทบสมองของลูกน้อยเด็ดขาด
เมื่อได้ทราบข้อห้ามเหล่านี้แล้วก็อย่าลืมใส่ใจและระมัดระวังกันให้มากนะคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งของคุณแม่ รวมถึงความปลอดภัยต่อลูกน้อยด้วย หลายข้ออาจดูเหมือนยุ่งยากแต่จริงๆ แล้วปฏิบัติได้ง่ายมาก เพียงแค่ต้องหมั่นเอาใจใส่เท่านั้นเองค่ะ
ที่มา momjunction
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำไมพ่อถึงเป็นอีกคนที่ควรอุ้มลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ
ท่าอุ้มลูกที่ถูกวิธี แม่ปลอดภัย ไม่เป็นเอ็นข้อมืออักเสบ
https://parenttown.com/
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!