ร้องไห้ง่าย เป็นโรคอะไร สาเหตุต้นตอของน้ำตาที่ไม่ควรมองข้าม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ร้องไห้ง่าย เป็นโรคอะไร และการร้องไห้บ่อยนั้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ แต่เป็นสภาวะที่เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในจิตใจหรือสภาวะที่เกิดอารมณ์มากท่วมท้น เช่น ไม่ว่าจะมีความรู้สึกดีใจหรือเสียใจมาก จิตใต้สำนึกจะปรับอารมณ์ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ การร้องไห้จึงช่วยทำให้เกิดการปรับอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น หากอยากรู้ว่าการ ร้องไห้ง่าย เป็นโรคอะไร และต้นตอของน้ำตามาจากสาเหตุใด ตามไปไขคำตอบพร้อมกันกับบทความนี้ได้เลย

 

น้ำตาไม่ใช่สัญลักษณ์ของความอ่อนแอ

หลายคนอาจคิดว่าการร้องไห้คือการแสดงออกถึงความอ่อนแอและเป็นคนเจ้าน้ำตา แท้จริงแล้วน้ำตานั้นไม่ใช่สัญลักษณ์ของความอ่อนแอ แต่หากว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของอารมณ์ที่ต้องอดทนอดกลั้นมามากพอสมควร จนเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความอดทนนั้นหมดไป การร้องไห้ออกมาจึงเป็นวิธีการแสดงอารมณ์ที่ช่วยทำให้เกิดความสบายใจได้มากขึ้น โดยวิธีการจัดการกับอารมณ์ที่ถูกต้องคือการไม่กดอารมณ์หรือข่มใจบอกกับตนเองว่าห้ามร้องไห้ เพียงแต่เป็นการรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นและดึงสติกลับมาจดจ่ออยู่กับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น การสูดหายใจเข้าลึก ๆ และผ่อนคลายร่างกายให้ไม่เกร็ง

 

8 สาเหตุที่อาจเป็นที่มาของน้ำตา

ในชีวิตของแต่ละคนอาจปะปนไปด้วยช่วงเวลาที่มีทั้งดีและไม่ดี เพราะชีวิตไม่ได้มีความสวยงามไปตลอด บางเหตุการณ์อาจทำให้เราน้ำตาไหลออกมาโดยที่ไม่รู้ตัว หากพบเจอและรู้สึกถึงอารมณ์แบบนี้อยู่บ่อย ๆ อันดับแรกเราต้องมาหาสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้นกับจิตใจของตนเองกันแน่

 

1. ความเครียด

เริ่มต้นกันที่สาเหตุแรกนั้นคือความเครียด หากว่าการใช้ชีวิตของคุณต้องตกอยู่ภายใต้ความเครียด ความกดดัน จนทำให้จิตใจหม่นหมอง หมดเรี่ยวแรง และเกิดความว่างเปล่าจนไม่อยากที่จะทำอะไร สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้คุณสามารถร้องไห้ได้ง่ายกว่าปกติที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจได้โดยตรง นอกจากความเครียดจะส่งผลกระทบต่อจิตใจแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายได้อีกด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย หรือปวดท้อง หากมีภาวะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกแจ้งเตือนแล้วว่าควรถึงเวลาที่ต้องหยุดพักแล้วพาร่างกายออกไปพักผ่อนเพื่อคลายความเครียดนี้ลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. วัยทอง

เมื่ออายุของคุณได้เริ่มต้นเข้าสู่ในช่วงวัยสามสิบปลายหรือสี่สิบต้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงวัยทองเรียบร้อยแล้ว อาการร้องไห้ง่ายกว่าปกตินั้นคือสิ่งที่ต้องควรระวัง เนื่องจากร่างกายได้เข้าสู่ภาวะวัยทองแล้วฮอร์โมนภายในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน นอนหลับไม่สนิท และอาการร้อนวูบวาบ ล้วนเป็นสัญญาณของภาวะวัยหมดประจำเดือนที่อาจส่งผลต่อความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลได้

 

3. ขาดวิตามินบี 12

การขาดวิตามินบี 12 ส่งผลต่อปัญหาการร้องไห้ง่ายและที่สำคัญอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ เพราะวิตามินบี 12 มีบทบาทสำคัญในการรักษาเลือดและเซลล์ประสาทให้แข็งแรงซึ่งจะมีผลต่อการช่วยสร้าง DNA อีกทั้งยังส่งผลนำไปสู่อาการต่าง ๆ ทางร่างกาย เช่น เหนื่อยล้า น้ำหนักลด อ่อนแรง เบื่ออาหาร ท้องผูก และยังส่งผลปัญหาทางระบบประสาท รวมถึงระบบภายในร่างกายที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจาง ดังนั้นควรเติมวิตามินบี 12 เข้าสู่ร่างกายที่สามารถพบได้ในอาหารประเภทปลา เนื้อ นม และไข่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. พักผ่อนไม่เพียงพอ

การพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะร้องไห้ง่ายและอาจส่งผลกระทบทางด้านอารมณ์อื่น ๆ ที่ทำให้สภาวะจิตใจเกิดความอ่อนไหวสามารถทำให้ร้องไห้ได้ง่าย ดังนั้นการนอนหลับเป็นเวลา 7-9 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น 

 

5. อาการก่อนมีประจำเดือน

หากคุณมีอาการร้องไห้ง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือท้องอืดในช่วงก่อนมีประจำเดือน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกที่เรียกว่า Premenstrual Syndrome (PMS) หรืออาการก่อนมีประจำเดือนที่ผู้หญิงหลายคนมักมีอาการหงุดหงิดง่ายในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน 1-2 สัปดาห์ อาจส่งต่อสาเหตุที่ทำให้คุณมีอารมณ์อ่อนไหวจนทำให้ร้องไห้ง่ายได้

บทความที่น่าสนใจ : วิธีนับประจำเดือน นับวันแรกและวันสุดท้ายตอนไหนเรามีคำตอบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา


6. ภาวะ Pseudobulbar Affect

ภาวะ Pseudobulbar Affect เป็นภาวะการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอาการออกเป็น 2 แบบ คือ หัวเราะผิดปกติ (Pathological Laughing) และร้องไห้ผิดปกติ (Pathological Crying) มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บทางสมอง เช่น โรคเนื้องอกในสมอง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อในสมอง โรคเส้นเลือดในสมอง

 

7. ต่อมไทรอยด์

สำหรับใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำตาไหลและร้องไห้ง่ายนั่นเอง

 

8. เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า

การที่เราร้องไห้บ่อยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะอาการซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำได้โดยตรง นอกจากอาการร้องไห้ง่ายแบบไม่มีเหตุผลแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น สิ้นหวัง หดหู่ เศร้า อ่อนไหวง่ายกว่าปกติ หรือหมดความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำแล้วเกิดความสนุก นอกจากนี้ยังส่งผลให้นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับที่อาจเป็นปัญหาตามมา ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

 

ร้องไห้ง่ายกับภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้

การร้องไห้ง่ายอย่างไม่มีเหตุผลยังสามารถพบได้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกน้อยออกมา ภาวะนี้มีชื่อเรียกว่า ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด โดยทั่วไปแล้วมักพบได้กับผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกเสร็จในช่วงสัปดาห์แรก ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนภายในร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ง่าย หงุดหงิด หรือวิตกกังวล ซึ่งพบได้ประมาณ 85% ของผู้หญิงหลังคลอด โดยภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวและหลังจากนั้นอาการนี้จะดีขึ้นและหายไปในช่วงเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ 

 

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดควรรักษาหรือไม่ ?

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดนั้นไม่รุนแรงและสามารถหายกลับมาดีขึ้นเองได้ จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อต้านความเศร้า เพียงแต่ใช้วิธีการรักษาด้วยการดูแลทางด้านจิตใจจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะสามี ครอบครัว และเพื่อนๆ เพื่อช่วยทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หากคุณแม่ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีรอบเดือน มีความเครียดในช่วงตั้งครรภ์ หรือมีปัญหากับคู่สมรส อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดได้มากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การที่เราร้องไห้ง่ายนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องความเครียด ร่างกายเข้าสู่วัยทอง อาการก่อนมีประจำเดือน หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ร้องไห้ง่ายได้ และอาการดังกล่าวยังสามารถพบได้เป็นจำนวนมากกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้วิธีการรักษาที่ดีที่สุดนั้นมาจากการช่วยเหลือของผู้คนรอบข้างที่ต้องหมั่นคอยเติมพลังบวกด้านจิตใจให้แก่กันเพื่อทำให้อาการนี้ดีขึ้นและหายไปได้ในที่สุด

 

บทความที่น่าสนใจ :

ร้องไห้ ตาบวม ทำยังไงดี วิธีแก้ตาบวมจากการร้องไห้ กลบให้มิดปิดให้อยู่!

ร้องไห้ อาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์

ฝันว่าร้องไห้ ฝันว่าร้องไห้เสียใจมาก หมายความว่าอะไร? มาดูคำทำนายไปพร้อมกัน

ที่มา : thairath, thairath, thairath

บทความโดย

Thanawat Choojit