จากนมแม่สู่นมผง เปลี่ยนนมตอนอายุเท่าไหร่ ต้องเปลี่ยนสูตรนมตามวัยไหม

การเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผงมีเหตุจากหลายปัจจัย แล้วจะเปลี่ยนนมตอนอายุเท่าไหร่ จึงเหมาะสมกับลูกน้อย ลองมาดูกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะอาหารคือปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์ ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงหลังคลอด การเลือกอาหารอย่างเหมาะสมในปริมาณที่พอดีจะยิ่งมีส่วนช่วยให้ลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ โดยเฉพาะนมแม่ที่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูก แต่เมื่อผ่านช่วงให้นมแม่ไปสักระยะหนึ่งซึ่งอาจเป็นเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน คุณแม่ให้นมหลายคนอาจมีคำถามในใจว่าจะสามารถเปลี่ยนให้ลูกกินนมผงหรือเปล่า เปลี่ยนนมตอนอายุเท่าไหร่ มีความจำเป็น ต้องเปลี่ยนนมตามวัยไหม บทความนี้มีคำตอบรออยู่ค่ะ

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง

เรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือ “นมแม่” เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยค่ะ เนื่องจากในนมแม่นั้นเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามที่ร่างกายลูกต้องการ ทั้งยังเป็นสารภูมิคุ้มกันอย่างดีของทารกด้วย อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนมีความจำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนจากนมแม่ให้ลูกกินนมผงได้หรือไม่ เปลี่ยนอย่างไร เปลี่ยนนมตอนอายุเท่าไหร่ ซึ่งการเปลี่ยนนมอาจมาจากหลายสาเหตุ อาทิ

  • คุณแม่จำเป็นต้องกลับไปทำงาน จึงอาจไม่สามารถให้นมแม่อย่างต่อเนื่องได้
  • บางกรณีคุณแม่อาจมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถให้นมลูกได้ เช่น ป่วยเป็นโรคบางชนิด มีความจำเป็นต้องใช้ยาบางประเภท หรือได้รับการผ่าตัด
  • ลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพบางประการที่ส่งผลต่อการดูดนมแม่ เช่น มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้ดูดนมได้ไม่ดี กินนมได้น้อย

ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้นมผงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับทารก เนื่องจากนมผงถูกผลิตขึ้นมาพร้อมกับการเติมสารอาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารกเข้าไปหลากหลายชนิด

 

ข้อดีของการให้นมแม่

ข้อดีของนมผง

  • ย่อยง่าย และมีสารอาหารครบถ้วนสำหรับทารก
  • มีการเติมสารอาหารเข้าไปหลากหลายชนิด
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้
  • มีส่วนช่วยกรณีคุณแม่มีภาวะหัวนมแตก หรือเต้านมอักเสบ ไม่สามารถให้นมแม่ได้
  • ช่วยสร้างความผูกพันและสายใยระหว่างแม่และลูก
  • สามารถให้คนอื่นช่วยดูแลลูกน้อยได้ง่ายขึ้น
  • เป็นอาหารที่ดีที่สุด และช่วยคุณแม่ประหยัดได้มากที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เปลี่ยนนมตอนอายุเท่าไหร่ เหมาะต่อพัฒนาการและสุขภาพลูกน้อย

ตามหลักการแล้ว องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกกินนมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นจึงสามารถเริ่มให้อาหารเสริมควบคู่ไปกับการกินนมแม่ได้ และกินนมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามช่วงวัยโดยค่อย ๆ ลดปริมาณการนมแม่ลงจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้นหากเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถเปลี่ยนจากนมแม่มาให้ลูกน้อยกินนมผงได้หลังจากที่ลูกมีอายุหลัง 6 เดือนขึ้นไป โดยพิจารณาเปลี่ยนนมผงจากปัจจัยต่อไปนี้ค่ะ

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง

ความพร้อมของลูกน้อย ลูกน้อยควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ มีการพัฒนาการที่ดี และสามารถนั่งได้เอง
สุขภาพของลูก ลูกน้อยควรมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่รุนแรง
ปริมาณน้ำนม คุณแม่มีน้ำนมน้อย หรือลูกน้อยดูดนมไม่เพียงพอ และมีความจำเป็นต้องเสริมนมผง
ความพร้อมของแม่ คุณแม่เตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมความพร้อมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการให้นมผงแก่ลูกมาเป็นอย่างดีแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เข้าใจเรื่องนมผงก่อนเปลี่ยนนม

ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผงคุณแม่ควรทำความเข้าใจด้วยค่ะว่า ลูกน้อยของเราเหมาะกับนมผงสูตรไหน มีสูตรอะไรบ้าง เพราะนมผงแต่ละสูตรถูกออกแบบและปรับสูตรปริมาณสารอาหารให้ตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของเด็กและทารกในแต่ละช่วงวัย หากคุณแม่เข้าใจจะสามารถเลือกนมที่ตรงความต้องการของลูกน้อยได้

สำหรับทารกแรกเกิด – 12 เดือน ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยดัดแปลงปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันในนมวัว จนอยู่ในระดับที่ทารกย่อยได้ง่ายและไตไม่ทำงานหนักเกิน รวมทั้งมีการเติมสารที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการ เช่น กรดไขมันจำเป็น ธาตุเหล็ก วิตะมิน และแร่ธาตุ เข้ามาด้วย

  • นมผงสูตร 2 (Follow on formula)

สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี เป็นนมผงดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากไตและลำไส้ของลูกน้อยวัยนี้เริ่มทำงานได้ดีขึ้นแล้ว นมสูตรนี้จึงมีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นจากนมผงสูตร 1 และมีสัดส่วนของโปรตีนย่อยยากขึ้นสูงกว่า ทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท แคลเซียมและฟอสฟอรัส เกลือโซเดียมเพิ่มขึ้น บางยี่ห้ออาจเพิ่มใยอาหารเพื่อช่วยในการขับถ่ายด้วย

สำหรับเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป มีสูตรใกล้เคียงกับนมวัวมากขึ้น จึงแทบไม่มีความแตกต่างจากนมวัวทั่วไป คือ มีปริมาณโปรตีนสูงขึ้น แคลเซียมสูงขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนปริมาณแร่ธาตุบางชนิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากสูตรนมผงข้างต้น จะเห็นว่าหากลูกน้อยมีอายุเกิน 6 เดือน มีร่างกายที่แข็งแรงและมีปัจจัยอื่น ๆ ที่พร้อมสำหรับเปลี่ยนอาหารจากนมแม่เป็นนมผงแล้ว คุณแม่ก็สามารถเลือกนมผงสูตร 1 หรือสูตร 2 ที่เหมาะสมกับช่วงวัยและสุขภาพของลูกน้อยได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยจะต้องกินนมผงเป็นอาหารเสริมเท่านั้นนะคะ เพราะวัย 6 เดือนสามารถกินอาหารตามช่วงวัยเป็นอาหารหลักได้แล้ว โดยลูกน้อยวัย 6-8 เดือนควรกินอาหารมื้อหลัก 2 มื้อต่อวัน แล้วจึงเพิ่มเป็น 3 มื้อต่อวันเมื่ออายุ 9 เดือนค่ะ

 

 

ตัวอย่างอาหารตามวัยสำหรับทารก

ทารกวัย 6-8 เดือน

เมนู : ข้าวบดไข่แดง-ตำลึง

 

  • ข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ (40 กรัม) ต้มกับน้ำแกงจืดครึ่งถ้วย (100 กรัม)
  • ไข่แดง ½ ฟอง (7 กรัม) หรืออาหารมีโปรตีนที่บดง่าย เช่น ตับไก่ เต้าหู้อ่อน ปลา
  • ตำลึง 1.5 ช้อนโต๊ะ (12 กรัม) หรือผักใบเขียว/เหลืองส้ม ที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง
  • น้ำมันพืช ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เพิ่มความเข้มข้นของพลังงาน
  • ให้พลังงาน 106 กิโลแคลอรี
  • สัดส่วนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต : ไขมัน : โปรตีน = 48 : 41 : 11
  • โปรตีน 3.1 กรัม
  • ความเข้มข้นของพลังงาน 0.8 กิโลแคลอรี/กรัม

 

ทารกวัย 9-11 เดือน

เมนู : ข้าวต้มปลา-แครอท

 

  • ข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ ต้มกับน้ำแกงจืด ½ ถ้วย
  • เนื้อปลาทะเลที่ไม่มีก้าง 1.5 ช้อนโต๊ะ (22.5 กรัม) หรือ ไข่ ตับ หมูสับหรือหมูบด
  • แครอท 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม) หรือผักใบเขียว/เหลืองส้มที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง
  • น้ำมันพืช ครึ่งช้อนชา (2.5 กรัม)
  • ให้พลังงาน 109 กิโลแคลอรี
  • สัดส่วนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต : ไขมัน : โปรตีน = 51 : 26 : 23
  • โปรตีน 6.3 กรัม
  • ความเข้มข้นของพลังงาน 0.74 กิโลแคลอรี/กรัม
ลูกน้อย 12-23 เดือน

เมนู : * ข้าว เต้าหู้อ่อนทอด

ต้มเลือดหมู-หมูสับ- แครอท-ตำลึง

  • ข้าวสวย 5 ช้อนโต๊ะ (50 กรัม)
  • เต้าหู้หลอดไข่ไก่ ¼ หลอด (2 ช้อนโต๊ะ หรือ 34 กรัม)
  • น้ำมันพืช 1 ช้อนชา (5 กรัม)
  • น้ำแกงจืด 100 กรัม
  • เลือดหมูต้ม 1 ช้อนโต๊ะ (13 กรัม)
  • หมูสับ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • แครอท 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม)
  • ตำลึง 2 ช้อนโต๊ะ (16 กรัม)
  • ให้พลังงาน 183 กิโลแคลอรี
  • สัดส่วนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต : ไขมัน : โปรตีน = 40 : 42 : 18
  • โปรตีน 8.1 กรัม

 

หมายเหตุ : * หลักการคือ ให้ลูกได้กินข้าวกับอาหารที่ผัดน้ำมันพืชประมาณ 1 ช้อนชา และแกงจืด/ต้มจืด โดยควรมีอาหารที่มีโปรตีนและสารอาหารเข้มข้น ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ

 

ต้องเปลี่ยนสูตรนมตามวัยไหม เปลี่ยนนมตอนอายุเท่าไหร่

สำหรับคำถามว่าจำเป็น ต้องเปลี่ยนสูตรนมตามวัยไหม ขอแนะนำให้คุณแม่พิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ค่ะ

  • ถ้าลูกกินนมแม่อยู่แล้ว กินได้ดี ปริมาณน้ำนมแม่ยังเพียงพอ และยังไม่มีความจำเป็นในการเลิกเต้า แนะนำว่าควรกินนมแม่ต่อไปตามเดิม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นนมผงค่ะ
  • หากน้ำนมของคุณแม่น้อยลงมาก ๆ หรือจำเป็นต้องหยุดนมแม่ หรือให้ลูกกินนมผงมาตั้งแต่แรกเกิด มีหลักการเปลี่ยนสูตรนมผงควรรู้คือ
  • ลูกอายุ 6 เดือน ยังสามารถกินนมผงสูตร 1 ต่อเนื่องจนถึงอายุ 1 ปี
  • จากนั้นค่อยเปลี่ยนเป็นนมรสจืด UHT, นมพาสเจอไรซ์ หรือนมผงสูตร 3 ได้เมื่อลูกอายุเกิน 1 ขวบ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นนมสูตร 2 ก่อน ควบคู่กับการกินอาหารตามวัย
  • หากลูก 1 ขวบ ยังกินแค่ 2 มื้อ น้ำหนักไม่ค่อยขึ้นตามเกณฑ์ สามารถปรับเปลี่ยนให้กินนมผงสูตร 2 ได้
  • ลูกวัย 1 ขวบขึ้นไป กินข้าวได้ดี 3 มื้อ อาจเสริมด้วยนมกล่อง UHT หรือพาสเจอร์ไรซ์ ด้วยวิธีดูดจากกล่องหรือดื่มจากแก้ว ถือโอกาสให้ลูกเลิกขวดนมได้เลย
  • กรณีต้องการเสริมธาตุเหล็กและลูก 1 ปีกินข้าวได้น้อย สามารถเลือกนมผงสูตร 3 หรือนมผงสูตร 2 เพราะมีปริมาณธาตุเหล็กสูงกว่านม UHT

 

ข้อควรระวังในการเปลี่ยนนม

การเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง หรือการเปลี่ยนสูตรนมผงก็ตาม คุณแม่ไม่ควรเร่งรีบนะคะ ควรค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน ไม่ควรเปลี่ยนนมทันที แต่ใช้วิธีเพิ่มปริมาณนมผงเข้าไปทีละน้อย โดยอาจลองผสมนมสูตรเก่า กับนมสูตรใหม่ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกน้อยค่อย ๆ ปรับตัวก่อนค่ะ ที่สำคัญคือต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยด้วย ว่าหลังจากเปลี่ยนนมแม่เป็นนมผงแล้ว ลูกมีอาการผิดปกติอย่างเกิดผื่นคัน ท้องอืด ท้องเสีย หรือร้องไห้บ่อยไหม หากมีอาการควรหยุดให้นมสูตรนั้นทันที แล้วปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและเลือกนมที่เหมาะสมกับลูกน้อยต่อไปค่ะ

การตัดสินใจว่าจะให้ลูกกินนมแม่นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นส่วนบุคคลนะคะ แต่สำคัญที่สุดที่คุณแม่ควรใส่ใจคือสิ่งที่เลือก ควรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยค่ะ

 

ที่มา : premierehomehealthcare.co.th , เลี้ยงลูกโตไปด้วยกัน , www.tmwa.or.th

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย บำรุงยังไง ให้แข็งแรง มีน้ำหนักตามเกณฑ์

นมผงเปิดแล้วเกิน 1 เดือน ยังกินได้ไหม? วิธีเก็บนมผงตามมาตรฐาน CDC

ให้นมลูก เจ็บหัวนม ต้องหยุดไหม แก้ปัญหายังไงให้ดีต่อคุณแม่และลูกน้อย

บทความโดย

จันทนา ชัยมี