น้ำเดิน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง เป็นแบบไหน น้ําเดินเป็นยังไง – น้ำเดิน คือภาวะที่มักจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องในช่วงใกล้คลอด อาการน้ําเดินหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาคล้ายปัสสาวะ น้ํา เดิน เป็น ยัง ไง แต่ไม่สามารถกลั้นให้หยุดได้เหมือนปัสสาวะ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บท้องแสดงว่ามดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลง เพื่อให้ศีรษะของทารกเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกรานเมื่อถึงเวลาใกล้คลอด
อาการ น้ำเดินเป็นยังไง
แต่ในบางกรณีภาวะน้ำเดินก็อาจจะเกิดขึ้นก่อนกำหนดคลอด เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ที่จากการกระแทกจากอุบัติเหตุ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์ และหากเกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และภาวะอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
อาการน้ำเดินหญิงตั้งครรภ์
น้ำเดินเป็นอาการเวลาที่ถุงน้ำคร่ำที่หุ้มลูกอยู่นั้นแตก มักจะเกิดขึ้นตอนช่วงก่อนเวลาคลอดไม่นาน เป็นหนึ่งในสัญญาณว่า คุณใกล้จะคลอดแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน อาการน้ำเดิน ก็สามารถเกิดขึ้นก่อนคลอดได้เช่นกัน อาการนี้ถูกเรียกว่า prelabor rupture of membranes (PROM)
เวลาที่เกิดอาการน้ำเดิน คุณจะรู้สึกเปียกแฉะบริเวณน้องสาว และจะมีน้ำไหลออกมาให้เห็น สีของน้ำที่ออกมา อาจเป็นสีใส หรือ สีเหลืองอ่อน ๆ
น้ำเดิน กี่ชั่วโมงถึงคลอด
โดยทั่วไปแล้ว หลังจากเกิดอาการน้ำเดิน นั่นแสดงว่าคุณใกล้คลอดแล้ว และ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แต่ก็มีกรณีที่ไม่คลอดเร็ว ๆ เช่นกัน ซึ่งอาการแบบนี้ค่อนข้างอันตราย ต่อชีวิตของลูกในครรภ์พอสมควร ยิ่งเวลาผ่านไม่นานเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะสูงมากขึ้นไปด้วย
น้ำเดินกับตกขาว
อาการของน้ำเดิน และ ตกขาว อาจจะใกล้เคียงกัน เวลาที่น้ำเดิน คุณแม่อาจจะคิดว่า มันเป็น ตกขาว หรือ ถ่ายเบาก็เป็นได้ วิธีที่จะทำให้ทราบได้ว่า น้ำเดินหรือไม่ก็คือ ให้ลองยืนขึ้น ถ้ามีน้ำออกมามาก ก็แสดงว่าคุณกำลังมีอาการน้ำเดินแล้ว
น้ำเดิน ตอนกี่สัปดาห์
โดยทั่วไปแล้วอาการน้ำเดินจะเกิดขึ้นตอนที่คุณใกล้คลอด ประมาณ 37 สัปดาห์ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่ พร้อมสำหรับการคลอดแล้ว แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มีบางกรณีเหมือนกัน ที่อาการน้ำเดินเกิดก่อน 37 สัปดาห์ ในกรณีนี้ ถือเป็นความเสี่ยง ควรที่จะรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอเช็คดูอาการ จะดีที่สุด
น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง น้ำเดินแต่ปากมดลูกไม่เปิด
อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่กำลังจะใกล้คลอด วิธีที่จะช่วยได้คือ อาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ ที่จะมีวิธีทำให้ปากมดลูกเปิดได้ หากคุณรู้สึกว่าอาการไม่ดี ให้ไปไปหาหมอโดยด่วน
น้ำคร่ำไหลแต่ไม่เจ็บท้อง
เป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อน้ำคร่ำไหล หรือ น้ำเดินนั้นคุณจะรู้สึกปกติ ไม่ได้มีความเจ็บอะไรเกิดขึ้นก่อนที่น้ำคร่ำจะไหล ตัวถุงที่ห่อน้ำคร่ำอยู่นั้นไม่ได้มีปุ่มประสาทรับความเจ็บอยู่
น้ำเดินต่าง จากปัสสาวะเล็ดอย่างไร
ภาวะน้ำเดินจะแตกต่างกับปัสสาวะเล็ดโดยสังเกตได้จากลักษณะและกลิ่นของน้ำที่ไหลออกมาจากช่องคลอดดังนี้ครับ
- หากน้ำเดินเพราะถุงน้ำคร่ำแตก จะมีน้ำไหลออกมาไม่หยุดไม่ว่าจะปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
- หากปัสสาวะเล็ดจะมีน้ำเล็ดออกมาครั้งเดียวแล้วหยุด
- หากเป็นน้ำคร่ำจากภาวะน้ำเดินจะไม่มีสี และไม่มีกลิ่น
- หากเป็นปัสสาวะ จะมีกลิ่นของปัสสาวะ
น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง ต้องทำอย่างไรเมื่อน้ำเดิน
สิ่งที่แม่ท้องควรทำเป็นอย่างแรกเลยเมื่อพบว่าน้ำเดิน คือรีบไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด และควรนอนราบเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำไหลออกมามากเกินไป เพราะเมื่อน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกแล้วนั้น จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูกซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?
อันตรายจากน้ำเดิน นอกจากน้ำคร่ำจะออกมาแล้ว ในบางเคสก็มีสายสะดือโผล่ออกมาพ้นปากช่องคลอดด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที
โดยปกติแล้วคุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บท้องคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากน้ำเดิน แต่หากยังไม่เจ็บท้องก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย จึงควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอจะดีที่สุดครับ
ทราบกันแล้วนะครับว่า น้ำเดินเป็นแบบไหน ต่างจากปัสสาวะเล็ดยังไง สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงใกล้คลอดก็อย่าลืมดูแลสุขภาพและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอนะครับ
ที่มา : mayoclinic
บทความที่เกี่ยวข้อง :
อีกหนึ่งอันตราย ที่แม่ท้องควรรู้! น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำรั่ว ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์
“น้ำเดิน” เป็นอย่างไร เรื่องควรรู้ของแม่ใกล้คลอด
น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต