สลด! เด็กสาว 14 ป่วยเป็น โรคเบาหวาน สาเหตุจากอาหารที่แม่ทำให้กินเป็นประจำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลาย ๆ ครอบครัวคงคุ้นเคยกับภาพของเด็ก ๆ กำลังทานขนมปังปิ้งทาแยมเป็นมื้อเช้า ด้วยความเร่งรีบ ผู้ปกครองมักเลือกความสะดวกโดยละเลยผลลัพธ์ระยะยาว แต่รู้หรือไม่ว่า รูปแบบการทานอาหารแบบนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูก ๆ อย่างมาก และอาจนำไปสู่โรคร้ายอย่างโรคเบาหวานได้ เช่นเดียวกับกรณีของเด็กหญิงวัย 14 ปีรายนี้ ที่ต้องเผชิญกับ โรคเบาหวาน และเริ่มต้นทานยาเพื่อรักษา สร้างความเสียใจให้กับคุณแม่ เธอจมอยู่กับความรู้สึกผิด ราวกับว่าเป็นผู้ทำลายชีวิตลูกน้อยด้วยมือของตัวเอง

 

เตือนภัย! อาหาร 3 มื้อนี้ ทำเด็กหญิงวัย 14 ป่วย โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ ประเทศไต้หวัน เมื่อ นักโภชนาการ เกา มินมิน ได้ออกมาเล่าถึงเคสที่น่าสลดใจ ในรายการ Doctors Are Hot ของเด็กหญิงวัย 14 ปีที่ป่วยเป็นโรค เบาหวาน ชนิดที่ 2 จนต้องเริ่มทานยาเพื่อรักษา สร้างความเสียใจให้กับคุณแม่ที่รู้สึกผิดโทษตัวเองว่าเป็นสาเหตุที่ทำลายชีวิตลูก

จากการสอบถามประวัติ พบว่าเด็กสาวมีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ชอบทานขนมปังปิ้งทาแยมราดนมข้นหวานเป็นประจำทุกเช้า และแม่ของเธอยังซื้อขนมหวานอย่างเค้กและโดรายากิให้ทานเป็นของว่างหลังเลิกเรียนทุกวันอีกด้วย

 

 

จู่ ๆ วันหนึ่ง ผู้เป็นแม่ของเด็กหญิงก็ได้โทรแจ้งกับทางคุณครูประจำชั้นว่า เธอกำลังพาลูกสาวไปหาหมอ และสอบถามกับทางคุณครูว่า ปกติแล้วลูกสาวของเธอทานอะไรบ้างในช่วงพักกลางวัน จึงได้ทราบในภายหลังว่าเด็กหญิงไม่ได้สั่งอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่โรงเรียน แต่บางครั้งก็ไปซื้อขนมปังจากร้านค้าสวัสดิการมาทานเพิ่มเติมอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พฤติกรรมการทานอาหารเหล่านี้ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเด็กหญิงอย่างมาก โดย เกา มินมิน ได้วินิฉัยว่าถึงแม้ว่าพ่อแม่ของเธอจะไม่มีประวัติของการเป็นโรคเบาหวาน แต่ปู่ย่าตายายของเธอได้ป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน ประกอบกับที่ตัวเด็กหญิงมีพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เธอได้รับน้ำตาลทรายขาวในปริมาณที่มากเกินไปจนเป็นสาเหตุของโรค เบาหวาน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย

 

ขอบคุณ รูปภาพ จาก: ETtoday

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงอันตรายจากพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและอนาคตของพวกเขาเป็นอย่างมาก

 

อันตรายจากน้ำตาล: อาหารว่างที่เด็ก ๆ ชอบ อาจนำไปสู่โรคเบาหวาน

นักโภชนาการ เกา มินมิน เตือนให้ผู้ปกครองตระหนักถึงอันตรายจากน้ำตาลแฝง ในอาหารว่างที่เด็ก ๆ ชอบทาน ขนมปังปิ้งทาแยม แม้จะดูเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยน้ำตาลในปริมาณสูง การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลต่อระบบเผาผลาญและนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคเบาหวาน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เกา มินมิน แนะนำให้เลือกของว่างที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น เฉาก๊วย โยเกิร์ต พุดดิ้งเต้าหู้ เกาลัด ขนมปังฝรั่งเศส และถั่ว เป็นต้น

ซึ่งจากการคำนวณปริมาณการบริโภคปกติของเด็กที่ 1,500 แคลอรี่ ปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับต่อวันไม่ควรเกิน 150 แคลอรี่ หรือเทียบเท่ากับน้ำตาลทรายขาว 4 ถึง 8 ก้อน

นอกจากนี้ เธอยังได้กล่าวอีกด้วยว่า แม้แต่น้ำผักและผลไม้ปั่นที่ดูเหมือนจะดีต่อสุขภาพ ก็ยังมีน้ำตาลแฝงอยู่สูง โดยเฉลี่ยแล้ว น้ำผักและผลไม้ปั่น 1 แก้ว อาจมีน้ำตาลสูงถึง 6 ก้อน ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำ โดยไม่ควบคุมปริมาณ ก็อาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวานได้เช่นกันค่ะ

 

 

ดังนั้น มื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองของเด็ก ๆ ผู้ปกครองควรใส่ใจเลือกอาหารที่มีประโยชน์และน้ำตาลต่ำ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในอนาคต รวมไปถึงโรค เบาหวานอีกด้วยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: ETtoday

 

โรคเบาหวาน คืออะไร?

โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของระบบการควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งทำหน้าที่นำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ

ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับอินสุลินในสองรูปแบบหลัก ๆ ดังนี้:

  • การผลิตอินซูลินลดลง: ร่างกายไม่ผลิตอินซูลินเพียงพอ
  • ภาวะดื้ออินซูลิน: ร่างกายผลิตอินซูลินในปริมาณปกติ แต่เซลล์ต่างๆ ตอบสนองต่ออินสุลินได้ไม่ดี

เมื่อร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับอินสุลิน จะส่งผลต่อการนำน้ำตาลไปใช้ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง จะทำให้ไตไม่สามารถกรองน้ำตาลออกจากเลือดได้หมด ส่งผลให้น้ำตาลรั่วออกมาทางปัสสาวะ (Glycosuria) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “โรคเบาหวาน” (Diabetes Mellitus)

ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจะส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคตา โรคระบบประสาท และอาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้

 

ชนิดของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้

1) เบาหวานชนิดที่ 1

เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน

 

2) เบาหวานชนิดที่ 2

เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินซูลิน ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน และมักเป็นกรรมพันธุ์ โดยเบาหวานชนิดนี้ เป็นชนิดที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด เกิดจากกรรมพันธุ์และการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ของหวานมากเกินไป ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง การขยับร่างกายที่น้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

 

3) เบาหวานชนิดพิเศษ

สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้อาจเกิดจากความความผิดปกติของตับอ่อน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินซูลินโดยกำเนิด

 

4) เบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานชนิดนี้เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหายไปได้หลังคลอดบุตร แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต

 

อาการของ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้น มักไม่มีอาการที่ชัดเจน บางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย แต่หากไม่ได้รับการรักษา อาการจะค่อย ๆ ปรากฏชัดขึ้น อาทิ เช่น

 

 

  • ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
  • กระหายน้ำ
  • อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด
  • หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น
  • คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย
  • ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
  • ปลายมือ ปลายเท้าชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม

 

การรักษา โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เป้าหมายหลักของการรักษาคือการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด ให้ใกล้เคียงปกติ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งแนวทางการรักษาโรคเบาหวานเฉพาะสำหรับแต่ละประเภท มีดังนี้

โรคเบาหวานชนิดที่ 1:

  • ฮอร์โมนอินซูลิน: เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินทดแทนผ่านการฉีดยาเป็นหลัก
  • การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย: ควบคู่ไปกับการฉีดอินซูลิน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2:

  • ระยะแรก: ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก
  • การรักษาด้วยยา: หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เพียงพอ แพทย์อาจสั่งยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรืออาจต้องใช้วิธีฉีดอินซูลินทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์:

  • การฝากครรภ์: ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก
  • การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย: ควบคุมอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

บทความที่เกี่ยวข้อง: เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี มีผลกับลูกในท้องหรือไม่

การรักษาแผลเบาหวาน:

  • อุปกรณ์ป้องกันแผล: แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล
  • การรักษาตามระดับความรุนแรง: หากแผลมีอาการรุนแรง แพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผล
  • กรณีตัดอวัยวะ: หากการรักษาแผลด้วยวิธีอื่นไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันการลุกลามของอาการ

 

จากกรณีของเด็กหญิงวัย 14 ปี ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันพบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี ขาดการออกกำลังกาย และภาวะน้ำหนักเกิน นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลบุตรหลาน สนับสนุนให้มีพฤติกรรมการกินที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพตามนัด เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น

 

ที่มา: Pobpad, MedPark

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

แพทย์เผย! เด็กน้อย 3 ขวบ เสียชีวิตเฉียบพลัน สาเหตุไม่ใช่ เล่นน้ำ ตากแดด แต่เป็นเพราะเหตุนี้!

 เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

บทความโดย

samita