เป็นที่ฮือฮากันทั่วโซเชียลเมื่อ คุณหมอท่านหนึ่งได้โพสต์ เคสของคนไข้ เด็กชายวัย 11 ปีที่มาเข้าพบหมอเพราะโรคหนองไหลออกจากอวัยวะเพศ ซึ่งตนเผยว่าติดจากแฟนอายุ 18 แถมยังบอกกับคุณหมออย่างมั่นใจว่าไม่ต้องตรวจ เพราะป็นการติดเชื้อ HIV แบบสมยอม
ช็อคทั้งวงการแพทย์! เด็กชายวัย 11 ไม่ตรวจ HIV ตั้งใจอยากติดเป็นเพื่อนแฟน
เมื่อวันที่ 31 มี.ค 67 ที่ผ่านมา เพจ ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor ได้โพสต์รูปแชทโดยระบุว่า “ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ ค 11 ขวบกุยังเป่ากบเป่ากบ ตบการ์ดยูกิอยู่เลย”
ซึ่งในรูปนั้นมีแชทของคุณหมอ ท่านหนึ่งระบุว่า
“OPD GP เด็ก ผช. อายุ 11 มาด้วยมีหนองออกจู๋…จะขอตรวจ HIV ด้วย
น้องตอบมั่นใจ ไม่ต้องตรวจ แฟนผมเป็น มติดเป็นเพื่อนแฟน
แฟนอายุ 18 มาล่อน้อง 11….
แบบ เอ่อ ไปบอกพ่อแม่ก่อนมั้ยน้อง ยังไม่บรรลุนิติภาวะเรยยย”
เมื่อรูปแชทนี้ได้เผยแพร่ออกไป ผู้คนในโซเชียลก็ต่างพากันเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กอายุแค่ 11 ยังอาจไม่มีความรู้ว่าโรคนี้จะต้องกินยากดเชื้อไปอีกนาน ซึ่งบางคนก็เดากันว่าตัวแฟนของเด็กก็คงไม่ได้กินยาแต่แรกด้วย หรือ ถ้ารู้ว่าตนเองมีโรคนี้ ทำไมถึงยังจะชักชวนให้น้องอายุ 11 ทำอยู่
นอกจากนี้ ยังพูดกันเป็นเสียงเดียวอีกด้วยว่า ในยุคสมัยนี้การคุยกับเด็กเรื่องเพศศึกษานับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศของวัยรุ่นนั้นมีมาทุกยุคทุกสมัย แต่เพราะที่ผ่านมาเรื่องเพศศึกษาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างปิดในสังคมไทย ทำให้เด็ก ๆ ทำอะไรหลาย ๆ อย่างในแบบที่ผู้ใหญ่ก็คาดไม่ถึงทุกวันนี้
ที่มา: sanook.com, MedPark Hospital, Office of AIDS Research
Facebook: ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor
โรคติดเชื้อHIV คืออะไร?
เชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อชนิดหนึ่งที่จะเข้าไปโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของเราและทำให้อ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคเอดส์ กับ โรคHIV นั้นมีข้อแตกต่างกันตรงที่โรคเอดส์นั้นเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อHIV ซึ่งผู้ป่วยจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำและอ่อนแอมาก ๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ง่ายมาก ในขณะที่ผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี ยังไม่พัฒนาไปจนถึงขั้นเป็นโรคเอดส์ค่ะ โดยผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับเชื้อไวรัสด้วยยาต้านไวรัส และใช้ชีวิตได้ยาวนาน
บทความที่เกี่ยวข้อง: เมื่อลูกน้อยเกิดมาพร้อมกับ เชื้อเอชไอวี
ระยะของการติดเชื้อ เอชไอวี
ระยะการติดเชื้อสามารถแบ่งได้ ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ค่ะ
ระยะที่ 1
ระยะนี้นับว่าเป็นระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ เอชไอวี ซึ่งในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกหลังการได้รับเชื้อ ตัวเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในระยะนี้ผู้ที่ได้รับเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่าย จะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหัว ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นหรือต่อมน้ำเหลืองขึ้นตามตัว
ระยะที่ 2
ช่วงระยะเวลานี้เป็นการติดเชื้อแบบแฝง ร่างกายจะไม่แสดงอาการมากนัก ตัวเชื้อไวรัสHIV ที่อยู่ในร่างกายจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้เห็น โดยตัวเชื้อจะแบ่งจำนวนไปเรื่อย ๆ และค่อย ๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ให้ลดจำนวนน้อยลง จนทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำโดยปกติแล้ว การพัฒนาโรคของระยะที่ 2 นี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี กว่าไวรัสจะสามารถทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายเราได้ ถ้าหากผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่สามารถควบคุมเชื้อได้ดีเป็นพิเศษก็อาจจะช่วยยืดระยะเวลาพัฒนาของโรคในระยะนี้ได้ 10-15 ปี เลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันถ้าผู้ป่วยดูแลสุขภาพร่างกายไม่ดีพอ ก็อาจทำให้เข้าสู่ระยะที่ 3 เร็วขึ้นเช่นกันค่ะ
ระยะที่ 3
ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อHIV เพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ถูกเชื้อไวรัสทำลายจนเหลือน้อยมาก ๆ ร่างกายอ่อนแอมาก ๆ และไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้ จึงทำให้มี ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ค่ะ และมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อตัวเดิมซ้ำและรักษาให้หายยากขึ้นกว่าปกติด้วยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เอดส์ กับ HIV แตกต่างกันอย่างไร
เชื้อHIV สามารถติดต่อสู่กันได้อย่างไร
การแพร่เชื้อ ของโรคHIV สามารถเกิดขึ้นได้หลายช่องทาง มีดังนี้ค่ะ
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ ผ่านการสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองจากบาดแผล หรือแม้กระทั่งแผลในช่องปาก
- การติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งท้อง ระหว่างการคลอดบุตร หรือระหว่างการให้นมบุตร
แนวทางการป้องกัน และการปฏิบัติตัวหากต้องอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
ในบางกรณีที่เราอาจต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV สิ่งที่ควรคำนึงและให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอย่างถี่ถ้วน ทั้งระยะการแพร่เชื้อ และแนวทางการป้องกัน ถ้าหากเราต้องใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ เราควรทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
- ควรใช้ช้อนกลางหากต้องรับประทานอาหารร่วมกัน
- เวลาซักเสื้อผ้า ควรซักแยกและใส่ถุงมือเสมอ
- ควรระมัดระวังในการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน หรือแป้งร่วมกัน หรืออุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะบุคคลที่อาจสัมผัสเลือด เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน
- เมื่อมีคนจากสมาชิกในครอบครัวป่วย เช่น เป็นไข้ หัด หัดเยอรมัน สุกใส ควรแยกตัวจากผู้ติดเชื้อ
- ควรล้างมือบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร รวมถึงเวลาการประกอบอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ
- การมีเพศสัมพันธ์ ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เตือนภัย! เด็กกินน้ำผึ้ง มือเท้าม่วงเฉียดตาย แพทย์เผยสาเหตุ
วิจัยชี้! เด็กติดจอ มากเกินไปเสี่ยง ออทิสติกเทียม
แพทย์เตือน! ขอบตาแพะ อันตราย เสี่ยงติดเชื้อ มดลูกอักเสบ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!