เมื่อลูกน้อยเกิดอาการร้องไห้งอแงบ่อย คุณพ่อคุณแม่เคยลองใช้วิธีไหนบ้างเพื่อปลอบลูกกันบ้างคะ? เคยอุ้มเขย่าเพื่อให้เด็กหยุดร้องไห้หรือไม่? แต่รู้หรือไม่ว่า ท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง โดยเขย่าเด็กแรง ๆ นั้นอาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้! เหมือนกับเคสเด็กวัย 2 เดือน ที่แพทย์ได้ออกมาเตือนว่า เกิดจากการอุ้มเขย่าเด็กแรง ๆ ทำให้สมองบวม-หยุดหายใจ
เคสเตือนใจ! ทารกวัย 2 เดือน มีอาการหยุดหายใจขณะหลับและชัก สาเหตุมาจาก ท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง
เหตุการณ์อุทาหรณ์นี้เกิดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม เมื่อมีเคสผู้ป่วยอายุ 2 เดือน เข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยทางคุณหมอที่ทำการรักษาได้เผยว่า เด็กมีอาการชัก ริมฝีปากสีม่วง กระหม่อมด้านหน้านูน และความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหลังจากได้สอบถามครอบครัว ยืนยันว่าเด็กไม่ได้ล้มหรือมีอาการชักมาก่อน แต่ก่อนเข้าโรงพยาบาล 3 วัน เด็กมักจะร้องไห้บ่อย ทำให้ต้องอุ้มและโยกตัวเพื่อปลอบโยน หลังจากนั้นคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มดูดนมแม่น้อยลง และขยับตัวเล่นน้อยลง และจู่ ๆ ก็มีภาวะหยุดหายใจ จึงรีบพาส่งโรงพยาบาลฉุกเฉินทันที
แพทย์ชี้! เด็กได้รับความเสียหายต่อเส้นประสาท จาก ท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง ที่ไม่ถูกต้อง
จากการตรวจทางคลินิก อัลตราซาวด์ และการตรวจสายตาด้วยวิธี ออพธัลโมสโคป (Ophthalmoscopy) แพทย์วินิจฉัยว่าเด็กมีความเสียหายต่อเส้นประสาท โดยพบว่าเด็กมีภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง บวมน้ำในสมอง มีอาการตกเลือดที่จอประสาทตา และภาวะขั้วประสาทตาบวม ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มอาการผิดปกติจากการเขย่าตัวทารก หรือ Shaken Baby Syndrome
ทั้งนี้ แพทย์ได้ทำการรักษาโดยใส่เครื่องช่วยหายใจ และดูแลภาวะความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นอย่างใกล้ชิด ซึ่งเด็กสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้หลังจาก 7 วัน เมื่อสัญญาณชีพคงที่ อย่างไรก็ตาม เด็กยังมีความเสี่ยงต่อผลที่ตามมาของระบบประสาทในระยะยาว ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในอนาคต
เหตุการณ์นี้ เป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้ปกครองทุกคน ตระหนักถึงอันตรายจาก ท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง ที่ไม่ถูกต้อง และเรียนรู้วิธีการอุ้มลูกอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงกับลูกน้อยของเรา
อาการที่เกิดจากการเขย่าเด็ก หรือ Shaken Baby Syndrome คืออะไร
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะ ว่าทำไมการ เขย่าทารก ถึงเป็นสิ่งต้องห้าม?
Shaken Baby Syndrome หรือ กลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดจากการเขย่าตัวทารก มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ โดยเฉพาะในช่วง 2-4 เดือนแรก ที่เด็กร้องไห้บ่อยมาก
สาเหตุหลักมาจาก การอุ้มเขย่า ทารกเพื่อปลอบเวลาร้องไห้ รวมไปถึง การโยกเปลเพื่อกล่อมทารกให้นอนหลับ หรือ การเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนท่าทางกะทันหัน เช่น การอุ้มขึ้นเร็ว ๆ หรือ การอุ้มโยนเด็กให้สูง ๆ ด้วยเช่นกัน เพราะคอของทารกแรกเกิดยังอ่อนแอมาก ไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับศีรษะที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัวประมาณ 10-15% ได้ ในทางกลับกัน สมองของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ และยังคงลอย อยู่ในสภาพแวดล้อมของน้ำไขสันหลังโดยรอบ เมื่อเขย่าเด็กอย่างรุนแรง จะเกิดการเร่งความเร็วและการชะลอตัวของสมองอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวแข็งภายในกะโหลกศีรษะ ทำลายสมองและหลอดเลือดในสมอง ทำให้เกิดอาการบวมน้ำในสมอง และเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ
สิ่งสำคัญคือ การเขย่าเด็ก แม้จะดูเป็นวิธีปลอบโยนที่ง่ายและรวดเร็ว แต่ผลร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นนั้น ไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง แม้จะเขย่าเด็กเพียง 5 วินาทีก็ตาม เด็กอาจตกอยู่ในอันตรายได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม
อาการที่พบบ่อย ของ Shaken Baby Syndrome
- ร้องไห้
- อาเจียนมาก
- ทานอาหารได้ไม่ดี
- หายใจผิดปกติ
- เซื่องซึม
- ชัก
- โคม่า
- ในบางกรณี เด็กอาจไม่แสดงอาการโคม่า แต่หลังจากนั้นไม่นาน อาจประสบปัญหา
- ทำให้เกิดสติปัญญาอ่อน
- การเคลื่อนไหวล่าช้า
อุ้มลูกอย่างไรให้ปลอดภัย: ทางเลือกแทนการเขย่า
หากลูกน้อยร้องไห้บ่อย คุณพ่อคุณแม่ลองใช้วิธีอื่น ๆ แทนการอุ้มเขย่า เพื่อปลอบโยนลูกน้อยของคุณอย่างปลอดภัยและสร้างความผูกพันที่ดีระหว่างคุณกับลูก ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
1) อุ้มเดิน
การอุ้มเดินเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัย ช่วยให้เด็กรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย แถมยังช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ แต่ไม่ควรอุ้มเด็กเล็กด้วยวิธีช้อนรักแร้เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อไหล่รับน้ำหนักตัวเด็กที่ค่อนข้างเยอะ และอาจส่งผลทำให้ไหล่หลุดได้
2) ท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง แนบลำตัวแล้วโยกตัวไปมาเบา ๆ
การอุ้มแนบลำตัว โดยให้ศีรษะของเด็กพิงอยู่ที่ไหล่และโยกตัวไปมาเบา ๆ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และผ่อนคลาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้มลูกให้ถูกท่า ทำอย่างไร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 62
3) ร้องเพลงกล่อม
เสียงเพลงกล่อมที่นุ่มนวล จะช่วยมำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้นค่ะ
4) เล่นกับลูกด้วยวิธีอื่น
คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้หลากหลายวิธี โดยไม่ต้องใช้การกระทำที่รุนแรง เช่น
- จ๊ะเอ๋
- ตบแปะ
- ใช้ของเล่นส่งเสียง
โดยสรุปแล้ว อุทาหรณ์ เด็กทารกวัย 2 เดือนในเวียดนาม หยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากการท่าอุ้มทารก ให้หยุดร้อง โดยการเขย่าเพื่อปลอบโยน เป็นตัวอย่างอันตรายของ “Shaken Baby Syndrome” แม้จะดูเป็นวิธีปลอบโยนที่ง่ายและรวดเร็ว แต่ผลร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นนั้น ไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง การอุ้มลูกอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูก หวังว่า ข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักถึงความสำคัญของการอุ้มลูกอย่างถูกต้อง และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงกับลูกน้อยของเราค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เตรียมของใช้ทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล ใกล้คลอดแล้ว…ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
แม่แชร์ ตัวช่วยเด็ด แอพควบคุมมือถือลูก แก้ปัญหาลูกติดจอ!
วิธีการเลือกที่ดูดน้ำมูก ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย เลือกแบบไหนดี?
ที่มา : sanook.com, MedPark Hospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!