ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เด็ก ๆ หลายคนป่วยบ่อย เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและการระบาดของ โรคติดต่อต่าง ๆ เช่นเดียวกับ น้องมียา ลูกสาวสุดที่รักของคุณแม่ กระแต เสาวคนธ์ และคุณพ่อ เติ้ล ตะวัน จารุจินดา ที่ต้องเข้าไปนอนรักษาอยู่ในโรงพยาบาลถึง 11 วัน จากการอักเสบในส่วนของสมองน้อย ทำให้ทั้งครอบครัวและแฟนคลับของกระแต และเติ้ล มีความกังวลใจและเป็นห่วงน้องมียาเป็นอย่างมาก
กระแต เสาวคนธ์ แชร์อุทาหรณ์ ลูกสาวป่วยหนัก เพราะติดเชื้อส่วนสมองน้อย
โดยล่าสุดทางคุณแม่กระแต ได้ออกมาแชร์ประสบการณ์การป่วยของลูกสาวลง Instagram ส่วนตัวอย่างละเอียด โดยระบุว่า “11 คืน กับการนอนโรงพยาบาลในครั้งนี้ จากที่ตอนแรกคิดว่าป่วย มีไข้ปกติ แต่การติดเชื้อในครั้งนี้พบว่ามีอาการ Acute Cerebella Ataxia การอักเสบในส่วนของสมองน้อย ส่งผลให้สูญเสียการทรงตัว ไม่สามารถลุกนั่ง หรือเดินได้เลยในช่วงแรก เพราะมีอาการมึนหัว และอาเจียนด้วย
บอกตามตรงว่าเห็นลูกนอนติดเตียงอยู่หลายวัน ถามอะไรก็ไม่ตอบ ทั้ง ๆ ที่ตรวจทุกอย่างแล้วก็ไม่เห็นอะไรผิดปกติเลย ซึ่งน้องคงอธิบายไม่ถูก เพราะคุณหมอบอกว่าในส่วนที่อักเสบนั้น CT-Scan จะมองไม่เห็น และเราก็ไม่เข้าใจในรายละเอียดของโรคนี้ด้วย นั่ง Search ทั้งวัน โทรหาหมอที่รู้จักทุกคน ลามไปจนให้เพื่อนช่วยหาหมอดูให้ แต่พอเวลาผ่านไป อาการของลูกก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ
ขอบคุณคุณแม่ที่ DM มาหา แล้วเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะคะ ทำให้เบาใจ และหายนอยด์ ไปเยอะมาก รอแค่เวลา ที่เค้าพร้อมจริง ๆ ขอบคุณลุงหมอสุบรรณ คุณหมอจิณห์จุฑา คุณหมอกนกรัตน์ พี่พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของสมิติเวชทุกท่าน ที่รับมือกับความฟุ้งซ่าน และใจเย็นกับแม่มาก คอยดูแล เอาใจใส่สุด ๆ ตอบทุกข้อสงสัยที่เราสรรหามาถาม ได้อย่างชัดเจน
ตอนนี้หัวหน้าอาการดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องเฝ้าระวังเวลาเดินอยู่สักระยะหนึ่ง ยังไม่สามารถไปเรียน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ โดยรวมก็น่าจะประมาณ 1 เดือน ถึงจะกลับมาได้แบบ 100% ขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งมาทุกช่องทางนะคะ หัวหน้าจะรีบกลับมาจัดโชว์ให้แบบฉ่ำ ๆ ไปเลยค่า”
หลังจากที่คุณแม่กระแตได้ออกมาโพสต์ลงในอินสตาแกรมส่วนตัว ก็ได้มีแฟนคลับและชาวเน็ตจำนวนมาก ออกมาให้กำลังใจน้องมียาและครอบครัว อาทิ “โหรุนแรงมากเลย ขอให้หัวหน้าหายวันหายคืนนะคะ, ดีใจที่พี่มียาอาการดีขึ้นและรู้โรค+วิธีการรักษา ขอให้จากนี้ไปพี่มียาแข็งแรงขึ้นทุกวันนะคะ, หายไว ๆ นะคะ เข้าใจคุณแม่มาก ๆ ค่ะ, กลับมาแข็งแรงและหายไวไวนะคะน้องมียา”
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไข้สมองอักเสบคืออะไร? ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคไข้สมองอักเสบ
การอักเสบในส่วนของสมองน้อย คืออะไร
การอักเสบในส่วนของสมองน้อย (Acute Cerebella Ataxia) คือ โรคที่สมองน้อยเกิดการอักเสบหรือเสียหาย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากสมองน้อยเป็นพื้นที่ของสมองที่มีหน้าที่ควบคุมการเดินและการประสานงานของกล้ามเนื้อ การอักเสบส่วนสมองน้อยมักเกิดขึ้นในเด็กตั้งแต่อายุ 2 ถึง ขวบ แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่ด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบในส่วนสมองน้อย
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการอักเสบในส่วนสมองน้อย เนื่องจากการติดเชื้อจากไวรัสและโรคอื่น ๆ ดังนี้
- โรคหัด
- คางทูม
- โรคอีสุกอีใส
- โรคตับอักเสบเอ
- มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- มีเลือดออกในสมองน้อย
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคลายม์
- สัมผัสกับสารปรอท ตะกั่ว และสารพิษอื่น ๆ
- การขาดวิตามินบางชนิด เช่น B12 B1 และ E
- เนื้องอกในสมอง หรือเนื้องอกส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ เป็นยังไง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากอะไร
อาการของการอักเสบในส่วนสมองน้อย
- ปวดหัว
- พูดไม่ชัด
- เวียนศีรษะ
- เสียงเปลี่ยน
- เดินไม่มั่นคง เดินสะดุดบ่อย
- การเคลื่อนไหวของดวงตาเปลี่ยนไป
การรักษาการอักเสบในส่วนสมองน้อย
โดยปกติแล้ว หากเกิดการอักเสบในส่วนสมองน้อยโดยเชื้อไวรัส อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะอาการจะหายไปในไม่กี่สัปดาห์ แต่หากเกิดจากสาเหตุอื่น อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ตามอาการและสาเหตุของการติดเชื้อ โดยวิธีการรักษาโรคนี้ มีดังนี้
- ใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อ
- ใช้ยาสเตอรอยด์ในการรักษาอาการอักเสบ
- เข้ารับการผ่าตัดหากมีเลือดออกในสมองน้อย
- รับประทานวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินอี และวิตามินบี 12
- รับประทานอาหารที่ปลอดกลูเตน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกแรกเกิด 2 วัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะแม่ชอบกินผัก!
การอักเสบในส่วนสมองน้อย ส่งผลอย่างไรต่อผู้ใหญ่
อาการอักเสบในสมองน้อยของผู้ใหญ่ จะมีอาการคล้ายกับเด็ก รวมถึงวิธีการรักษา แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบในสมองน้อยของผู้ใหญ่นั้น อาจมาจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อสมอง นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรค HIV โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากกว่าปกติ
การอักเสบในส่วนสมองน้อยป้องกันได้ไหม
การป้องกันการอักเสบในสมองน้อยเป็นเรื่องที่ยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในบุตรหลานได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสที่อาจนำไปสู่ภาวะนี้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ส่วนผู้ใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยหลีกเลี่ยงการรับประทานแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป หรือการรับสารพิษต่าง ๆ รวมถึงสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย การรักษาน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป การควบคุมความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล เป็นต้น
การอักเสบในสมองน้อยสามารถเกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเฝ้าสังเกตและดูแลสุขภาพลูกให้สมบูรณ์แข็งแรง โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนเด็ก ควรพาลูกไปรับวัคซีนพื้นฐาน เพื่อป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ หากสังเกตว่าลูกมีอาการป่วย ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อะดีโนไวรัส (Adenovirus) ทำลูกไข้สูง เป็นหวัด ตาแดง พ่อแม่ต้องระวัง!
เตือนคุณแม่ตั้งครรภ์! โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เสี่ยงลูกน้อยคลอดออกมาผิดปกติ
ฉีดวัคซีนเด็ก ต้องฉีดอะไรบ้างที่สำคัญต่อทารกแรกเกิด เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด
ที่มา : Instagram: @katare, khaosod.co.th, healthline.com