X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ผลชันสูตร เด็ก 2 ขวบข้าวเหนียวติดคอ พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่ออาหารติดคอลูก

8 Jan, 2024
ผลชันสูตร เด็ก 2 ขวบข้าวเหนียวติดคอ พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่ออาหารติดคอลูก

ในปัจจุบันคงจะมีคุณพ่อ คุณแม่หลายคน ที่มักจะไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลลูกด้วยตัวเอง เพราะด้วยความที่ต้องออกไปทำงานในทุก ๆ วัน จึงส่งผลทำให้คุณพ่อ คุณแม่หลายคนเลือกที่จะให้คุณปู่ คุณย่าดูแล หรือกระทั่งจ้างพี่เลี้ยงในการดูแล แต่ด้วยบางครอบครัว อาจจะเป็นครอบครัวขนาดเล็ก หรือเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และไม่มีกำลังทรัพย์ หรือเงินทุนที่มากมาย อาจจะต้องฝากบ้านข้าง ๆ เลี้ยงดูลูก ขณะที่ตัวเองออกไปทำงาน ซึ่งหลายครั้งเรามักจะเห็นข่าวการทำร้ายร่างกายเด็ก จากการฝากเลี้ยง ดังเช่นในกรณีนี้ ผลชันสูตร เด็ก 2 ขวบข้าวเหนียวติดคอ พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่ออาหารติดคอ

 

สุดสลด ศพเด็กวัย 2 ขวบยัดตู้เย็น อ้างสำลักข้าวเหนียว

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งเหตุพบศพเด็กผู้ชายวัย 2 ขวบ ถูกพันด้วยผ้าห่มใส่ถุงผ้า แล้วยัดไว้ในตู้เย็น ที่บ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง โดยภายในตู้เย็นพบศพเด็กชายอายุประมาณ 2 ขวบ ถูกพันด้วยผ้าห่มใส่ไว้ในถุงผ้าและยัดตู้เย็นไว้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นทราบว่า น.ส.ก้อย อายุ 25 ปี อยู่กับเด็กก่อนเสียชีวิต โดยอาศัยอยู่กับแฟนหนุ่มเจ้าของบ้าน ซึ่งทั้ง 2 คนรับเด็กมาเลี้ยง เพราะเป็นลูกของเพื่อนสามี ที่ชื่อนายแบงค์ ซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เบื้องต้นทาง น.ส.ก้อยได้ให้การกับทางตำรวจว่า นอนอยู่กับเด็กและเห็นมดขึ้นตา ที่มือและปากมีข้าวเหนียวคาอยู่ ด้วยความตกใจจึงตัดสินใจเอาร่างเด็กยัดใส่ถุงและยัดเข้าตู้เย็นอีกที ซึ่งเกิดตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยในภายหลังมีรายงานว่า ผลชันสูตรศพออกมาแล้ว โดยพบก้อนข้าวเหนียวอุดตันอยู่ในหลอดลมจนเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต ส่วนแผลฟกช้ำบริเวณน่องซ้ายขวา และแขนด้านในข้างซ้าย เป็นบาดแผลเก่า ซึ่งผู้เป็นพ่อแท้ ๆ ของเด็ก กล่าวว่า ตนทำงานไม่มีเวลาเลี้ยงลูก นายแบงค์เลยขอลูกตนไปเลี้ยงดูให้ ได้ประมาณ 2 เดือน โดยตนให้เงินนายแบงค์วันละ 500 บาท และไม่เคยเลี้ยงปล่อยละเลย หรือเอาลูกไปไว้ในกรงหมามีเห็บเต็มหัว ตามที่ใครกล่าวอ้าง ตนเห็นนายแบงค์รักเด็กและตนไม่มีเวลาเลยไว้ใจ สงสารลูกด้วยเลยให้เอาไปเลี้ยง

ที่มา : mcot.net, thaipbs.or.th, kapook.com, thairath.co.th, matichon.co.th

 

ทำอย่างไรเมื่ออาหารติดคอลูก ?

สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่กังวล คงจะหนีไม่พ้นเหตุการณ์ที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดในคอลูก และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คุณพ่อ คุณแม่ควรที่จะเรียนรู้วิธีการในการช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยของลูกรัก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อาหารติดคอ ช่วยลูกอย่างไรดี พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป 

Advertisement

อาการอาหารติดคอแบบไม่รุนแรง

โดยลูกจะมีลักษณะอาการดังนี้ โดยลูกยังสามารถหายใจ ไอ และพูดได้ โดยวิธีการช่วยเหลือคือ ต้องให้ลูกพยายามไอเอาสิ่งของที่อยู่ในคอออกมาด้วยตนเอง ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาลทันที

ผลชันสูตร เด็ก 2 ขวบข้าวเหนียวติดคอ พ่อ แม่ควรทำอย่างไร เมื่ออาหารติดคอ

อาการอาหารติดคอแบบรุนแรง

หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกเริ่มหายใจลำบาก อาหารติดคอไม่ไอ พูดออกเสียงไม่ได้ หน้าตาเริ่มซีดเขียว มีการเอามือมากุมที่ลำคอ นั่นแสดงว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดในลำคอและอาการค่อนข้างรุนแรง สำหรับวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นมีดังนี้

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

  • ห้ามเอามือล้วงคอเด็ก ห้ามจับเด็กห้อยหัวแล้วตบหลัง  เพราะจะทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในคอลึกขั้น
  • นั่งคุกเข่าลงกับพื้น แล้วให้เด็กนอนคว่ำหน้าลงไว้บนขา กดศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว ใช้มือจับบริเวณขากรรไกร พร้อมกับประคองคอไปด้วย
  • ใช้มืออีกข้างตบบริเวณหลังของเด็ก บริเวณสะบักด้วยสันมือประมาณ 5 ครั้ง
  • พลิกตัวเด็กให้นอนหงายขึ้น เอามือจับประคองลูกไว้ที่บริเวณท้ายทอย
  • ใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้างกดลงบริเวณกึ่งกลางของหน้าอกลูกน้อย โดยอยู่ในระยะที่ห่างจากหัวนมเด็กเล็กน้อย กดแรงๆ 5 ครั้ง
  • ให้ทำการตบหลัง 5 ครั้ง และกดหน้าอก 5 ครั้ง สลับกันไปมา จนกว่าลูกจะร้องหรือพูดออกมาได้

สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี

  • ให้เข้าไปที่ด้านหลัง โดยให้ลูกยืน หรือนั่งคุกเข่าก็ลง จากนั้นโอบรัดจากด้านหลังใต้รักแร้มาบริเวณด้านท้อง
  • ใช้มือข้างหนึ่งกำไว้ แล้ววางไว้บริเวณเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ ส่วนมืออีกข้างกำกำปั้นไว้อีกทีหนึ่ง
  • ดันนิ้วหัวแม่มือข้างที่กำไว้เข้าไปด้านในท้องของเด็ก รัดให้แน่นแล้วกะตุกขึ้น ให้ทำพร้อมกัน แรงๆ จนกว่าสิ่งที่ติดคอจะหลุดออกมา หรือจนกว่าจะมีเสียงเล็ดลอดออกมา
  • ในกรณีที่หมดสติ ให้รีบทำการช่วยชีวิตทันที ในระหว่างที่พาไปโรงพยาบาล หรือรอการส่งตัว
  • หากช่วยเหลือให้สิ่งของหลุดออกมาแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คร่างกายอีกครั้งหนึ่ง

 

ควรทำอย่างไร ถ้าไม่มีเวลาในการดูแลลูก

สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวปัจจุบันคือ การที่พ่อ แม่ไม่มีเวลาให้กับลูก เพราะหลาย ๆ ครอบครัว ทั้งพ่อและแม่ ต้องออกไปทำงานเพื่อหาเงินในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่มีเวลาที่เพียงพอให้กับลูก หลายครอบครัวจึงมักจะฝากลูกไว้กับญาติผู้ใหญ่ในการดูแล โดยส่วนมากก็จะเป็นปู่ ย่า ตา ยายของเด็ก ซึ่งก็เป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างดี เพราะคุณพ่อ คุณแม่สามารถมั่นใจได้ว่า ลูกจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันพ่อ หรือแม่เอง ก็อาจจะรู้สึกขัดใจบ้าง สำหรับวิธีการบางอย่างในการเลี้ยงหลานของคนรุ่นปู่ เพราะบ่อยครั้งวิธีการเลี้ยงก็อาจจะขัดกับคำแนะนำทางแพทย์ ในส่วนนี้คุณพ่อ คุณแม่ต้องค่อย ๆ บอกกับปู่ ย่าของเด็กดี ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง

ในส่วนถัดมาคือการฝากเลี้ยงที่ศูนย์เลี้ยงเด็ก หรือจ้างพี่เลี้ยงมาดูแล ในส่วนนี้ คุณพ่อ คุณแม่จะต้องมีความพร้อมด้านกำลังทรัพย์ที่เพียงพอ ซึ่งต่าบริการก็จะต่างกันไปในแต่ละที่ และคุณพ่อ คุณแม่ต้องคัดสรรเป็นพิเศษ ต้องเลือกดูสถานที่รับฝากใกล้บ้าน หรือที่ทำงาน โดยเด็กที่พ่อ แม่นำไปฝากไว้ที่ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก มักจะมีพัฒนาการที่ไวกว่าการเลี้ยงดูเอง เนื่องจาก สถานที่รับฝากเลี้ยงต่าง ๆ จะมีขั้นมีตอนในการเลี้ยงดู และฝึกทักษะให้เด็กอย่างมีหลักการ โดยเฉพาะการมีเด็กคนอื่นอยู่ด้วย จะเห็นถึงข้อเปรียบเทียบ หรือตัวอย่างการพัฒนา ทำให้เด็กมีการเลียนแบบ และทำตาม

ผลชันสูตร เด็ก 2 ขวบข้าวเหนียวติดคอ พ่อ แม่ควรทำอย่างไร เมื่ออาหารติดคอ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : หาพี่เลี้ยง ยังไง? ให้ตรงตามใจลูก พ่อแม่ควรทำอย่างไรกันบ้างนะ

อีกส่วนคือ การฝากไว้กับคนรู้จัก หรือ ข้างบ้านในการดูแล โดยส่วนมากมักจะตัวเลือกสุดท้าย หรือมีความจำเป็นมากจริง ๆ ในส่วนนี้ ลูกอาจไม่ได้รับการดูแลดีเท่าที่ควร และอาจเกิดอุบัติเหตุ หรือการทำร้ายร่างกายได้ คุณพ่อ คุณแม่อาจจะต้องเลือกเพื่อนบ้านที่ดี ที่ไว้ใจได้ เพราะคงไม่คุ้มหากเกิดปัญหาขึ้นกับลูกตามมาในภายหลัง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไม่มีเวลาให้ลูก ต้องเลือกระหว่าง เงิน กับ เวลา คนเป็นพ่อเป็นแม่จะเลือกอะไร

เลี้ยงลูกยุคใหม่ ทำอย่างไร? การเข้าใจเด็กยุคใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด

เลี้ยงลูกเอง หรือฝากเลี้ยง : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

watcharin

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ผลชันสูตร เด็ก 2 ขวบข้าวเหนียวติดคอ พ่อแม่ควรทำอย่างไร เมื่ออาหารติดคอลูก
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว