แทบจะทุกครอบครัว น่าจะต้องเคยเผชิญกับปัญหาครอบครัวก็มาบ้าง ไม่มากก็น้อย ซึ่งปัญหาภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน การค่อย ๆ แก้ปัญหาครอบครัวตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าที่จะปล่อยให้กลายเป็นความเครียดสะสม ที่อาจนำไปสู่สาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเครียด หรือแม้กระทั่งโรคซึมเศร้า ดังเช่นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ที่คาดว่าอาจจะมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากปัญหาภายในครอบครัว และนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า อย่างในกรณีของ สุดสลด สัตวแพทย์หญิงซดไซยาไนด์ดับ พร้อมลูกสาววัย 12
สุดสลด สัตวแพทย์หญิงซดไซยาไนด์ดับ พร้อมลูกสาววัย 12
เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่ผ่านมา ทางตำรวจได้รับแจ้งเหตุพบผู้เสียชีวิตกินยาฆ่าตัวตาย 2 ศพ โดยเป็นศพของแม่อายุ 41 ปี กับลูกสาวอายุ 12 ขวบ นอนกอดกันเสียชีวิตบนที่นอน ในบริเวณใกล้เคียงพบนกตายอยู่ในกรง 2 ตัว เมื่อตรวจสอบพบขวดยาและถ้วยที่มีคราบยาอยู่ 2 ถ้วย โดยพบยาไซยาไนด์วางอยู่ 1 กระปุก บนโต๊ะบริเวณใกล้ศพพบกระดาษ 1 ใบทิ้งข้อความว่า “เผาทันที ไม่ต้องสวด ไม่ต้องจัดงานใส่โลงเดียวกันนะ ขอให้การตายครั้งนี้นำมาซึ่งอิสรภาพทั่วทุกจักรวาล” พร้อมกับเงินจำนวน 1 แสนบาท โดยภายในห้องไม่มีร่องรอย การต่อสู้และรื้อค้นทรัพย์สิน ซึ่งต่อมาจากการตรวจสอบและสอบสวนสามีผู้เสียชีวิต เบื้องต้นทราบว่ายังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน แต่อยู่กันคนละห้องมานานกว่า 5 ปี ทางตำรวจคาดว่า สาเหตุอาจเกิดจากอาการป่วยซึมเศร้าที่เป็นอยู่มานาน ประกอบกับแม่ที่ป่วยติดเตียงเพิ่งเสียชีวิต ทำให้ผู้ตายเสียใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาสามีไปทำงานต่างจังหวัด จึงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเสียใจเพิ่มขึ้น
ที่มา : thaipbs.or.th, dailynews.co.th, thairath.co.th
วิธีการรับมือกับความเครียด
ความเครียดเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่คนทุกคนจะต้องเผชิญ และบ่อยครั้งที่หลายคนมักจะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งคนเรามักจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่ไม่เหมือนกัน แต่หากเรารู้วิธีจัดการกับความเครียดต่าง ๆ ได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้เราพร้อมรับมือกับความเครียดได้มากขึ้น มาดูวิธีจัดการความเครียดง่าย ๆ กันว่ามีอะไรบ้าง
- ออกกำลังกายช่วยคลายเครียด หากรู้สึกว่าตัวเองกำลังเครียดอยู่ ให้ลองยืดเส้นยืดสาย ออกกำลังกายซักพักหนึ่ง เพื่อให้เราหลุดโฟกัสจากความเครียด หรือจะเป็นแค่การเดินปกติเพียง 10 นาที ก็ช่วยให้หลุดโฟกัสจากความเครียดตรงหน้าได้แล้ว
- ทำสมาธิช่วยได้ เมื่อเวลาที่เกิดความเครียด มักจะทำให้เราต้องคิดซ้ำไปซ้ำมาในเรื่องเครียดนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจมอยู่กับความเครียด อาจทำให้เราไม่อยากทำอย่างอื่นเลย ดังนั้น การแก้ปัญหาง่าย ๆ เมื่อรู้สึกวิตกกังวลมากเกินไป ลองหาเวลาทำสมาธิ หรือสวดมนต์ไหว้พระ ฝึกลมหายใจเข้า – ออก ก็ช่วยให้ลดความเครียดลงไปได้มาก
- ผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง การเอาตัวเองออกมาจากความเครียดได้ซักพัก ด้วยการทำตามใจตัวเองบ้างก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากการนั่งจมกับความคิดเครียด ๆ กลับยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง และอาจทำให้เรากลับมาคิดแก้ไขปัญหาหรือเรื่องเครียดได้อีกด้วย
- ปรับวิธีการคิด การจมอยู่กับความคิดใดความคิดหนึ่งมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการเครียดโดยไม่รู้ตัวได้ ซึ่งอาจกลายเป็นความเครียดสะสม และอาจกลายเป็นโรคเครียด หรือโรคซึมเศร้าได้ หากเราตกอยู่ในสภาวะที่เครียด เราควรที่จะออกจากความเครียดนี้ด้วยการลองปรับมุมมองปัญหา ซึ่งอาจทำให้เราเห็นสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ไขได้ง่ายกว่า แต่ถ้าหากรู้สึกว่าทำอย่างไรก็ไม่สามารถจัดการกับความเครียดของตนเองได้ การปรึกษาแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ในการจัดการกับความเครียดนี้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิธีลดความเครียด คลายเครียดจากการทํางาน การจัดการความเครียด กินอะไรคลายเครียด อาหารลดความเครียด
หากมีอาการซึมเศร้า ควรทำอย่างไร?
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ร่วมกับความรู้สึกท้อแท้ มองโลกในแง่ร้ายมีความรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง และมีอาการในลักษณะเป็นต่อเนื่องนานมากกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับภาวะเครียดทั่วไป คือ ภาวะซึมเศร้าจะมีความต่อเนื่องของอาการยาวนานกว่า และภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดโดยมีสิ่งกระตุ้น หรือไม่มีก็ได้ สำหรับการตรวจวินิจฉัย ผู้มีภาวะซึมเศร้า สามารถทำได้โดยการซักประวัติ สอบถามอาการและเรื่องราวจากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิด หรือทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจและแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ มาดูวิธีการรับมือ เมื่อพบว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิดมีอาการซึมเศร้ากัน ว่ามีอะไรบ้าง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : โรคซึมเศร้า คืออะไร เป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ หรือไม่?
- รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพราะแพทย์จะสามารถยืนยันได้ว่าเรามีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ หรือเป็นภาวะเครียด หากพบว่าเรามีอาการของโรคซึมเศร้าจริง แพทย์จะได้ให้คำแนะนำ พร้อมแนวทางในการรักษาต่อไป
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด วิธีเบื้องต้นที่ได้ผลคือการหาทางทำให้จิตใจสงบ หรือการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง หรือใช้เวลาจดจ่อไปกับงานอดิเรกที่ตัวเองชอบก็ช่วยได้ ยิ่งเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ยิ่งดี
- หาคนคอยรับฟัง การหาคนไว้คอยรับฟังสิ่งที่เราระบายเมื่อเกิดอารมณ์ด้านลบ ที่สามารถฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสินและเป็นกลาง นั้นเป็นเรื่องที่ดี และเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อที่จะได้รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เผชิญหน้ากับโรคนี้อยู่คนเดียว
- งดเสพข่าวสารด้านลบ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นอาการให้เกิดความเศร้า และบั่นทอนจิตใจของคุณได้
- รักตัวเองให้มาก ๆ คุณต้องหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น รักตัวเอง และดูแลตัวเองมากขึ้น
ที่มา : paolohospital.com, princsuvarnabhumi.com, mordeeapp.com, thainakarin.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ความเครียดกับผู้หญิง เพราะผู้หญิงอย่างเราเป็นทุกอย่างก็เครียดนะ
เครียดลงกระเพาะ อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือ ทำยังไงให้ไม่เครียด!
สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง