X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

WHO เตือน! ห้ามเหยียบแมลงสาบ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ เชื้อโรคแพร่กระจาย

29 Dec, 2023
WHO เตือน! ห้ามเหยียบแมลงสาบ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ เชื้อโรคแพร่กระจาย

แมลงสาบ ถือเป็นสัตว์ที่หลาย ๆ คนไม่ชอบ เพราะนอกจากจะสกปรกแล้ว ยังสร้างความน่ารำคาญใจและความน่ารังเกียจเป็นอย่างมาก แต่สำหรับบางคนก็ใจกล้าที่จะกำจัดมันได้ง่าย ๆ ซึ่งวิธีที่หลายคนนิยมใช้นอกจากการฉีดยาฆ่าแมลงนั้น ก็คือการเหยียบ-ขยี้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเตือน ห้ามเหยียบแมลงสาบ เพราะอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

 

WHO เตือน! ห้ามเหยียบแมลงสาบ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2566 หมอหมู วีระศักดิ์ หรือ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ออกมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของแมลงสาบ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก หมอหมู วีระศักดิ์ โดยในโพสต์ดังกล่าวได้ระบุว่า

 

WHO เตือนเหยียบขยี้แมลงสาบ ทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) แจ้งเตือนว่าการกำจัดแมลงสาบด้วยการบดหรือเหยียบขยี้ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

 

แมลงสาบมีความสามารถในการพาเชื้อโรคได้มากมาย เช่น

  1. แมลงสาบ มีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดต่าง ๆ โรคกาฬโรค โรคบิด โรคท้องเสีย โรคติดเชื้อของช่องขับถ่าย โรคฝีผิวหนังพุพอง โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคอาหารเป็นพิษ และโรคไทฟอยด์
  2. แมลงสาบมีหนอนพยาธิและเป็นรังสะสมโรค เช่น พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือนกลม พยาธิตัวตืดแคระ พยาธิตืดวัว พยาธิใบไม้โลหิต โดยพยาธิ 12 ชนิดสามารถออกมาผ่านทางมูลแมลงสาบ
  3. แมลงสาบ มีเชื้อรา 2 ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคชนิดระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนัง
  4. แมลงสาบมีเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบ
  5. แมลงสาบ มีเชื้อโปรโตซัว ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ และเป็นสาเหตุของโรคท้องเสีย โรคบิด

การบดหรือเหยียบขยี้แมลงสาบอาจทำให้เชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายแมลงสาบกระจายออกไปยังพื้นผิว หรือเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

วิธีการป้องกันและกำจัดแมลงสาบที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ คือ การทำความสะอาดบ้าน การปิดฝาขยะ การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้กับดักแมลง และการใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติไล่แมลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ระวัง! แมลงสาบ ศัตรูตัวฉกาจ พาหะร้ายของโรคภูมิแพ้!

 

ห้ามเหยียบแมลงสาบ

 

เชื้อโรคอันตรายที่เกิดจากแมลงสาบ

แมลงสาบสามารถเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภูมิอากาศที่ร้อนชื้นอย่างประเทศไทย แมลงสาบสามารถแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ โดยเชื้อโรคอันตรายจากแมลงสาบ มีดังนี้

  • เชื้อสเตรปโทค็อกคัส (Streptococcus) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั้งคนและสัตว์ สามารถติดเชื้อได้จากการรับประทานอาหาร หรือผ่านอากาศ หากเข้าสู่ร่างกาย ก็จะทำให้เกิดอาการปวดหัว เจ็บตอ มีไข้สูง คลื่นไส้ มีน้ำมูก อาเจียน และผื่นผิวหนัง ดังนั้น ควรรีบกำจัดแมลงสาบก่อนที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • เชื้อสแตฟฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) เป็นหนึ่งในเชื้อก่อโรคที่เป็นอันตรายอย่างมาก หากเชื้อชนิดนี้แพร่กระจายทางกระแสเลือด ก็จะทำให้เชื้อโรคแพร่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนทำให้เกิดภาวะอันตราย เช่น ลิ้นหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ข้ออักเสบ หรือกระดูกอักเสบ เป็นต้น

 

7 วิธีกำจัดแมลงสาบภายในบ้าน

เกือบทุกบ้านล้วนมีแมลงสาบซุกซ่อนอยู่ภายในบ้านหรือบริเวณใกล้เคียง คุณพ่อคุณแม่ควรกำจัดแมลงสาบเมื่อพบทันที เพราะมันสามารถเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่คนได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง เพราะอาจเป็นอันตรายแก่ลูกน้อย โดยวิธีกำจัดแมลงสาบภายในบ้านง่าย ๆ มีดังนี้

 

1. โรยผงกรดบอริก

วิธีแรกให้นำผงกรดบอริกมาโรยไว้รอบ ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าและบริเวณที่มีความอับชื้นภายในบ้าน เมื่อแมลงสาบมาตกในผง และเห็นว่าแมลงสาบตายสนิทแล้ว ควรรีบทำความสะอาดบริเวณนั้นทันที อย่าปล่อยให้ผงกรดบอริกปลิวไปเกาะตามของใช้ภายในบ้าน

 

2. วางยาในอาหาร

ให้คุณพ่อคุณแม่หายาฆ่าแมลงมาผสมในอาหารที่ใช้เป็นเหยื่อล่อ โดยอาจใส่ไว้ในถาดที่มีขอบกั้นหรือกล่องพลาสติก แล้วนำไปไว้บริเวณถังขยะ ใต้อ่างล้างจาน บริเวณเตา หรือพื้นที่อับชื้นต่าง ๆ ในบ้าน เมื่อแมลงสาบมากินอาหารจนหมด ก็จะตายทันที แต่สำหรับบ้านไหนที่มีเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังไม่ให้ลูกเข้าใกล้อาหารเหล่านั้นเด็ดขาด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 วิธีไล่แมลงสาบ ไล่อย่างไรให้หายลับอย่างมืออาชีพ

 

ห้ามเหยียบแมลงสาบ

 

3. สร้างกับดักจากกากกาแฟ

กับดักดังกล่าว สามารถสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยการนำกากกาแฟไปแช่ในน้ำเปล่าทิ้งไว้ จากนั้นนำกากกาแฟแช่น้ำใส่ลงไปในขวดโหล แล้วม้วนกระดาษเป็นรูปกรวย เสียบไว้ที่ปากขวด แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน เมื่อแมลงสาบได้กลิ่นก็จะปืนเข้าไปในขวดและตายด้วยกลิ่นของคาเฟอีน

 

4. สเปรย์น้ำมันสะเดา

อีกหนึ่งวิธีกำจัดแมลงสาบแบบธรรมชาติ ให้คุณพ่อคุณแม่หาสารสกัดจากสะเดา มาผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำไปไว้ตามจุดที่แมลงสาบซ่อนอยู่ หรืออาจเทลงในขวดสเปรย์แล้วฉีดไปยังบริเวณที่แมลงสาบอยู่เลยก็ได้

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

 

5. ทำเหยื่อล่อด้วยดินเบา

วิธีต่อมาเป็นการสร้างเหยื่อล่อด้วยดินเบา ให้นำดินเบาผสมกับอาหาร แล้วนำไปวางในจุดที่มีแมลงสาบบ่อย ๆ แต่อย่างไว้ใกล้บริเวณอาหารเด็ดขาด เมื่อแมลงสาบเข้าใกล้ ดินเบาก็จะดูดไขมันและความชื้นที่ผิวของมัน ทำให้แมลงสาบขาดน้ำและตาย อย่างไรก็ตาม ก่อนนำดินเบามาทำกับดักคุณพ่อคุณแม่ควรสวมถุงมือและหน้ากากอนามัยก่อน เพราะดินเบามีซิลิกาจำนวนมาก หากสูดดมเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายนั้น 

 

6. ใช้เบกกิ้งโซดา

เบกกิ้งโซดาสามารถกำจัดแมลงสาบได้ โดยให้คุณพ่อคุณแม่ผสมน้ำตาลและเบกกิ้งโซดาในปริมาณที่เท่า ๆ กันลงในน้ำเปล่า จากนั้นเทใส่ขวดพลาสติกที่มีกลิ่นหวาน ๆ เพื่อล่อให้แมลงสาบเข้ามากินน้ำ เบกกิ้งโซดาจะทำให้ท้องของแมลงสาบอัดแน่นไปด้วยแก๊สและตายนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบกกิ้งโซดา ตัวช่วยสารพัดประโยชน์ที่จะทำให้บ้านสะอาดหมดจด!

 

ห้ามเหยียบแมลงสาบ

 

7. ฉีดสเปรย์น้ำยาปรับผ้านุ่ม

แมลงสาบไม่สามารถหายใจในที่ที่มีกลิ่นน้ำหอมได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถกำจัดพวกมัน ด้วยการผสมน้ำยาปรับผ้านุ่ม 1 ฝา กับน้ำเปล่า 1/2 ถ้วยตวง ผสมให้เข้ากันแล้วเทใส่ขวดสเปรย์ จากนั้นนำไปพ่นตามที่ที่แมลงสาบชอบเข้าไป เมื่อมันได้กลิ่นก็จะหายใจไม่ออกและตายในที่สุด

 

เมื่อพบแมลงสาบในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรกำจัดแมลงสาบทันที ไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในบ้าน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ต้องหมั่นทำความสะอาดและจัดระเบียบเครื่องใช้ภายในบ้านบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงสาบมาสร้างความอันตราย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แมลงก้นกระดก มาทุกหน้าฝน ป้องกันอย่างไร วิธีรักษาแผลเบื้องต้น

3 กลุ่มแมลงยอดฮิตใกล้ตัวลูก พร้อมวิธีปฐมพยาบาล แมลงกัดต่อย เบื้องต้น

10 วิธีกำจัดแมลงเม่า เมื่อมันบินเข้าบ้านเรา จัดการไล่แมลงเม่าเมื่อบินเข้าบ้าน

ที่มา : รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี, bnnbreaking.com, kingservice.co.th, home.kapook.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • WHO เตือน! ห้ามเหยียบแมลงสาบ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ เชื้อโรคแพร่กระจาย
แชร์ :
  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

  • สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

    สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

    คนไทยไม่ปั๊มลูกแล้วจ้า! ไทยติดโผประเทศที่มี อัตราการเกิดลดลง อันดับ 3 ของโลก ในรอบ 74 ปี

  • สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

    สลด! เด็ก 2 ขวบหัวติดราวเตียง ดิ้นรนนาน 26 นาที ก่อนดับกลางเนอสเซอรี่

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว