หมอเตือน! ไอกรน ทำเด็กเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย เพราะเข้าใจว่าเป็นหวัดทั่วไป

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวถึงไอกรนว่า กรมควบคุมโรคจะประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์โรคต่าง ๆ ในทุกวันจันทร์ ซึ่งก็ได้มีการพูดถึงเรื่อง ไอกรน เพราะมีเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เสียชีวิตจากการติดเชื้อไอกรนเพิ่มอีก 1 ราย รวมสะสมเป็น 3 ราย เพราะผู้ปกครองเข้าใจว่า ลูกป่วยเป็นโรคหวัดทั่วไป เลยพาไปหาหมอในคลินิก แต่ลูกอาการหนักขึ้นเลยพาไปโรงพยาบาล สุดท้ายเด็กเสียชีวิตเพราะโรคไอกรน

 

ไอกรน ทำเด็กเสียชีวิตอีก 1 ราย เพราะเข้าใจว่าเป็นหวัดทั่วไป

นพ.ธงชัย กล่าวว่า สถานการณ์โรคไอกรนระบาดหนักมากใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ต้องยอมรับว่าการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อน โดยทางกรมควบคุมโรคก็ได้ใช้มาตรการการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนไอกรนและฉีดสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้ระบาดต่อไป ซึ่งการระบาดนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังพบโรคไอกรนเพิ่มมากขึ้นในประเทศใกล้เคียงเช่นกัน โดยข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อไปยังองค์การอนามัยโลก เพื่อดูแนวโน้มของสถานการณ์การระบาดและเฝ้าระวังโรค

 

ส่วนการฉีดวัคซีนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ไม่เป็นอุปสรรคในการควบคุมโรคมากนัก เพราะความคิดของคนเปลี่ยนไปแล้ว สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้ทราบถึงความอันตรายที่จะเกิดขึ้น หากติดเชื้อโดยที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน อาจมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงกว่าผู้ใหญ่

 

ล่าสุดเมื่อวันนี้ (26 ธันวาคม 2566) นพ.เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้ออกมากล่าวว่า พบผู้ป่วยยืนยัน 45 ราย แบ่งเป็นปัตตานี 39 ราย นราธิวาส 4 ราย และสงขลาอีก 2 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ในจังหวัดปัตตานี พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้น ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนมาก่อน

ซึ่งในพื้นที่ที่มีการระบาด ก็ได้การควบคุมของวัคซีน DTP3 (คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน) เพียงร้อยละ 62 เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 90 จะเป็นภูมิคุ้มกันระดับชุมชน โดยประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไอกรนตั้งแต่ 1 มกราคม – 9 พฤศจิกายน 2566 ทั้งหมด 57 ราย เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งกลุ่มที่พบมากที่สุด คือ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไอกรน ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำความรู้จักโรคไอกรน

นพ.เฉลิมพล ได้กล่าวว่า ไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางเดินระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และยังติดต่อง่ายผ่านการไอ จาม การสัมผัสกับสารคัดหลั่งและของใช้ของผู้ป่วย ส่วนใหญ่โรคนี้จะพบในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือรับแล้วแต่ยังไม่ครบ อาการของโรคไอกรนในเด็กอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคไอกรน

อาการของโรคไอกรนจะแสดงหลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณ 7-10 วัน นานสุด 20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ ๆ มีอาการไอ และมีน้ำมูกต่อเนื่องกันประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มแสดงอาการสำคัญ คือ ไอถี่ ๆ ติดกัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และพยายามหายใจเข้าลึก ๆ มีเสียงดังวู๊ปรวมกับการไอเป็นชุด โดยอาการของโรคนี้อาจเป็นเรื้อรังนาน 2-3 เดือน ซึ่งอาการของโรคไอกรนนั้น สามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะต้น ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อยคล้ายกับเป็นหวัด โดยจะมีอาการอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • ระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไออย่างรุนแรง ไอติดกันโดยไม่มีจังหวะพักตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป หลังจากไอจบชุด ผู้ป่วยจะพยายามหายใจเข้าจนเกิดเสียวู๊ป ส่วนในเด็กเล็กอาจมีอาการเขียวจากการไอรุนแรง ขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอาเจียนร่วมด้วยหลังการไอ ผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดออกในตาขาว และมีจุดเลือดกระจายอยู่ตามร่างกาย โดยจะมีอาการอยู่ประมาณ 10 วัน – 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการนาน 2-6 สัปดาห์
  • ระยะฟื้นตัว ผู้ป่วยระยะนี้ จะมีอาการไอลดลง และหายไปในเวลา 6-10 สัปดาห์ ซึ่งจะมีอาการไอที่ไม่รุนแรง และจะยังเป็นอยู่หลายสัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบ อันตรายถึงชีวิต พ่อแม่ต้องระวัง!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันโรคไอกรน

นพ.เฉลิมพล ได้กล่าวถึงวิธีป้องกันโรคไอกรนว่า ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ไปรับวัคซีนให้ครบตามกำหนด คือ อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 1 ปีครึ่ง และต้องฉีดเข็มกระตุ้นเมื่อลูกมีอายุ 4 ปี ส่วนพื้นที่ที่มีการระบาดอยู่นั้น ได้แก่ จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม โดยเข็มแรกสามารถรับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ ส่วนเข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 ควรห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ และหลังจากรับวัคซีน ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากลูกมีอาการไอกรน ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที 

ส่วนคุณแม่ต้องครรภ์ ควรไปรับวัคซีนไอกรน ตั้งแต่อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ รวมถึงผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านที่มีเด็กเล็ก ก็ควรไปรับวัคซีนอีกเช่นกัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคในผู้ใหญ่ รวมถึงการแพร่เชื้อไปยังเด็กเล็กในครอบครัว

 

หากพบผู้ป่วยโรคไอกรน ก็ควรแยกตัวออกมา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบ ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ นอกจากนี้ ผู้ที่สัมผัสกับโรค ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือญาติ ควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการไอหรือไม่ และต้องติดตามอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ส่วนเด็กที่สัมผัสกับโรคอย่างใกล้ชิด ควรไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ การเกิดไอกรนในเด็กส่วนใหญ่นั้น เด็กจะได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่ป่วย และมีอาการไอ ซึ่งผู้ใหญ่ก็มักจะไปพบแพทย์ เพราะอาการไม่รุนแรง แต่สำหรับเด็กเล็ก ก็อาจเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ และมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่

 

 

โรคไอกรน เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปเข้ารับวัคซีนเมื่อถึงกำหนด หากคนในบ้านมีป่วยเป็นไอกรน ควรแยกตัวออกมา เพราะโรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก หากป่วยเป็นโรคนี้ก็อาจเป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติบ่อย ๆ ไม่ควรสันนิษฐานไปเองว่าลูกเป็นแค่หวัดทั่วไป ควรพาไปพบแพทย์ดีที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในหญิงตั้งครรภ์ สำคัญแค่ไหน?

ฉีดวัคซีนเด็ก ต้องฉีดอะไรบ้างที่สำคัญต่อทารกแรกเกิด เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด

วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ที่มา : khaosod.co.th, khaosod.co.th, rama.mahidol.ac.th

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sittikorn Klanarong