เด็ก-วัยรุ่นไทย ป่วยเบาหวานกันมากขึ้น คาดเกิดจากพฤติกรรมการกิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติคาดว่า ปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้ ป่วยเบาหวานกันมากขึ้น สูงถึง 5.3 ล้านคน ในขณะที่ปี 2566 มีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว 4.8 ล้านคน เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานเผย น้ำตาลก่อให้เกิดโรค NCDs แนะนำให้ปรับพฤติกรรมการกินอาหารและลดน้ำตาล

 

เด็ก-วัยรุ่นไทย ป่วยเบาหวานกันมากขึ้น

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ซึ่งเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนรณรงค์ลดพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลในเด็กไทย ได้ระบุว่า วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก ในปี 2566 สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF: International Diabetes Federation: IDF) ได้ให้ความสำคัญของการรู้ถึงความเสี่ยงของเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน ในหัวข้อ “Know your risk, Know your response”

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ได้กล่าวว่า เบาหวานเป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) ซึ่งทางสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และ IDF ได้คาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยอาจมีผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน ขณะที่ในปี 2566 นี้ มีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว 4.8 ล้านคน และส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยกลางคน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทพญ.ปิยะดา ยังได้กล่าวว่า เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรายงานว่าเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดกับกลุ่มเด็กที่อายุเพียง 10-11 ปี จึงได้เห็นว่า “น้ำตาล” เป็นรากของปัญหาทั้งหมด หากรู้ว่าตัวเองมีปัจจัยที่เสี่ยงโรคเบาหวาน ต้องสังเกตว่าตัวเองมีภาวะผิดปกติหรือไม่ หากมีภาวะเสี่ยงหรืออ้วน ต้องหยุดรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งการมีพุงหมายถึง ร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไป และที่สำคัญคนไทยควรไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีภาวะไขมันพอกตับ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่

 

ทพญ.ปิยะดา กล่าวตอนท้ายว่า ยุคสมัยนี้การหาข้อมูลเรื่องของโรคเบาหวานไม่ยากแล้ว คนรุ่นใหม่รับรู้และทราบว่าน้ำตาลก่อให้เกิดโรคเบาหวาน แต่ด้วยความที่คิดไม่ถึง มองแค่น้ำตาลทรายกับเครื่องดื่ม แต่จริง ๆ แล้ว อาหารที่เราบริโภคเข้าไปนั้นก็มีแต่น้ำตาลทรายทั้งนั้น และยังมีการปรุงเติมรสชาติเข้าไปอีก ดังนั้น การมีสุขภาพที่ดีสามารถเริ่มต้นจากค่อย ๆ ลดปริมาณลง จากที่เคยดื่มเครื่องดื่มรสหวาน 2 แก้ว ก็ลดเหลือ 1 แก้ว จากที่เคยเติมน้ำตาลเต็มช้อน ก็ลดลงสักครึ่งช้อน

 

ทำความรู้จักโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ปกติแล้ว โรคเบาหวานมีอยู่ 4 ชนิด แต่ประมาณ 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะดื้อกับฮอร์โมนอินซูลิน ร่วมกับการมีภาวะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนน้อยลง ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน รูปร่างท้วม มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 23-24.90
  • ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ร่างกายไม่มีการเผาผลาญพลังงาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบาหวานประเภท 2 สัญญาณเริ่มต้นของโรคเบาหวานประเภท 2 คืออะไร?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการเตือนโรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานนั้น บางทีก็เกิดขึ้นได้โดยที่ไม่มีอาการใด ๆ บ่งบอก จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบ ๆ หากไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานจนกระทั่งโรคเกิดขึ้นมากแล้วจึงจะรู้ตัว

  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะบ่อย
  • สายตาพร่ามัว
  • กระหายน้ำบ่อย
  • ชาหรือเสียวตามมือ เท้า
  • รับประทานเยอะกว่าปกติ
  • แผลหายช้า ติดเชื้อราได้ง่าย
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เพศชายจะมีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • เพศหญิงจะมีเชื้อราในช่องคลอด คันผิดปกติ และตกขาวจำนวนมาก

 

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าลูกมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานรู้ไม่ โดยควรพาลูกไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีเพื่อตรวจหาโรคเบาหวาน และหมั่นควบคุมการรับประทานอาหารของลูก ลดการบริโภคน้ำตาลลง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันโรคร้ายนี้ตั้งแต่เด็ก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

“ลดการเป็นเบาหวาน” ประโยชน์ของการให้นมลูก ของคุณแม่มือหลังคลอด

ไม่อยากเป็น เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่รุนแรงกว่าที่คิด ต้องทำอย่างไร?

ที่มา : thaipbs.or.th, isranews.org, sikarin.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sittikorn Klanarong