ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2021 ที่โรงพยาบาล Morton Plant ในฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ได้ถือกำเนิด เจมส์ แมคคอลลัม หนูน้อยที่ได้รับฉายาว่า “เต่านินจาน้อย” เพราะบริเวณแผ่นหลังของเขามีไฝขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนคล้ายกระดองเต่า ซึ่งเกิดจาก โรคผิวหนังหายาก ที่หาได้ยากมาก โดยในตอนแรกมีเพียงก้อนเนื้อเล็ก ๆ คล้ายสะเก็ต พ่อแม่เลยคิดว่าเป็นแค่ไฝธรรมดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปมันกลับขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนผิดปกติก่อนจะพาลูกไปตรวจที่โรงพยาบาลและพบว่าเป็น “เมลาโนไซต์” ที่มีมาตั้งแต่เกิด
ตามที่แพทย์ได้ระบุเอาไว้ ไฝเมลาโนมา (Melanoma) มาจากความผิดปกติของการผลิตเมลาโนไซต์ที่สร้างเม็ดสีผิว ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิดถือว่ามีน้อยมากหรือประมาณ 1% เท่านั้น ซึ่งตอนที่ครอบครัวพาลูกมาส่งที่โรงพยาบาล ไฝก็โตจนครอบคลุมพื้นที่หลังเกือบทั้งหมดไปแล้ว และยังคงขยายขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก
นอกจากนี้แม่ของหนูน้อยยังได้เผยอีกว่า “มันเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นเหมือนกระดองเต่าบนหลังของเขา มันถึงจุดที่เราต้องให้เขานอนตะแคงข้าง เพราะถ้านอนหงายเขาจะไม่สามารถวางหัวราบได้ ก้อนเนื้อมันใหญ่เทอะทะมาก เราต้องพูดคุยกับศัลยแพทย์เพื่อทำการเอาออก เนื่องจากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็งผิวหนัง”
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแพทย์ก็ได้พยายามทำการรักษาอย่างสุดความสามารถ จนในที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ก็ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่มีมาตั้งแต่เกิดออกได้เป็นครั้งแรก และทำการตรวจ MRI ของสมองและกระดูกสันหลัง เพื่อประเมินว่าเนื้องอกจะเติบโตอีกหรือไม่ ซึ่งล่าสุดเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน หนูน้อยก็เสร็จสิ้นการผ่าตัดครั้งที่สองอย่างราบรื่น จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง
ทำความรู้จัก โรคผิวหนังหายาก ไฝเมลาโนมา
เมลาโนมา เป็นอีกหนึ่งเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่เกิดมาจากการพัฒนาในเซลล์เมลาโนไซต์ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีบนผิวหนังนั่นเอง หากถามว่ามะเร็งชนิดนี้มันมีความร้ายแรงยังไงบ้าง คือมันสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะในบริเวณจมูก ลำคอ ใต้เล็บ ในปาก ในระบบทางเดินอาหาร ในช่องคลอด เป็นต้น
ส่วนสาเหตุของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมายังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่ก็ควรจะเลี่ยงการโดนรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เพราะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
โรคผิวหนัง ผื่นแพ้ ที่พบบ่อยในเด็กทารก
มาทำความรู้จักกับโรคผิวหนังต่าง ๆ ในเด็กทารก พร้อมวิธีการรับมือ เพื่อดูแลลูกน้อยให้ถูกวิธี
1. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ผิวแห้ง แดง คัน ในบางครั้งก็อาจจะมาพร้อมน้ำเหลืองซึม หรือ ผิวหนังหนานูนหลังเกา โดยตำแหน่งของผื่นที่ขึ้นจะเกี่ยวข้องกับช่วงวัยด้วย เช่น
- เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี มักมีผื่นที่ แก้ม หน้าผาก ท้ายทอย ผิวแขนขาด้านนอก และที่ข้อมือ ข้อเท้า เพราะเป็นจุดที่มีเหงื่อและผิวหนังยังไม่แข็งแรง
- เด็กอายุมากกว่า 2 ปี มักมีผื่นที่คอ ข้อพับแขน-ขาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะเกิดจากผิวแห้งเกิดไปด้วย จึงต้องบำรุงผิวด้วยโลชั่นอยู่เป็นประจำ
2. กลากน้ำนม โรคผิวหนัง ที่มักเกิดกับทารก
กลากน้ำนมเป็นอีกหนึ่งโรคผิวหนังที่มักพบในทารก มีลักษณะเป็นผื่นวงกลมหรือวงรีสีขาวและมีขุยบาง ๆ ติดอยู่ ส่วนตำแหน่งที่พบได้บ่อยจะเป็นบริเวณใบหน้า คอ ลำตัว แขน ขา ซึ่งผื่นกลากน้ำนมมักเป็นในช่วงหน้าร้อน จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่หลายเดือนถึงเป็นปี และโรคนี้จะเริ่มหายเมื่อเด็ก ๆ เริ่มโตขึ้น
3. ผื่นผ้าอ้อม
อาการผื่นผ้าอ้อมเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก ๆ สำหรับเด็ก โดยเฉพาะบริเวณแก้มก้น อวัยวะเพศ ต้นขา ท้องน้อย แต่จะไม่ค่อยเกิดขึ้นกับบริเวณซอกร่องของผิวหนังอย่างร่องก้นและขาหนีบ ในช่วงแรก ๆ อาจจะมีผื่นเพียงเล็กน้อย แต่ถ้ามีการอักเสบมากก็จะแดงขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปจนถึงเกิดรอบถลอก ซึ่งอาจจะทำให้เด็ก ๆ เกิดการงอแงได้ เพราะมีอาการเจ็บนั่นเองค่ะ
4. ผื่นลมพิษ
ผื่นลมพิษจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง ๆ แถมยังตามมาด้วยอาการคัน ซึ่งผื่นประเภทนี้มักจะหายเองได้ในเวลา 1-24 ชั่วโมง และจะไม่ทิ้งรอยดำไว้บนผิวหนัง ส่วนตำแหน่งที่มักพบเจอก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- ลมพิษเฉียบพลัน โดยจะมีอาการน้อยกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งอาจจะเกิดจากยาหรืออาหาร
- ลมพิษเรื้อรัง ส่วนมากมีอาการติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนสาเหตุยังไม่ได้มีข้อมูลที่แน่ชัดระบุเอาไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการซักประวัติตรวจร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย
สำหรับโรคผิวหนัง โรคผื่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กทารกนั้นที่มีลักษณะการดำเนินโรคแบบเรื้อรัง ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่เด็กแต่ละคน หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลผิวหนังของลูกน้อยได้เป็นอย่างดีและเลี่ยงการสัมผัสสิ่งกระตุ้นที่จะก่อให้เกิดผื่นร่วมกับติดตามการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด อาการของลูกน้อยก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ แถมยังมีโอกาสที่จะหายขาดได้ด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก โดยผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
ผื่นผิวหนังอักเสบ ภัยร้ายในเด็กเล็ก ที่คุณแม่ห้ามมองข้าม
อากาศร้อน ระวังโรคผิวหนังจากเชื้อราในเด็ก
ที่มา :
sanook.com
medparkhospital.com
samitivejhospitals.com
phuketinternationalhospital.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!