ตะลึง! หนุ่มเจอเข็มทิ่มปอด ไปหาหมอแทบช็อก เข็มยาวเกือบ 2.4 ซม.!!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียกได้ว่ากลายเป็นกระแสไวรัลสุดฮิต กับกรณีทางการแพทย์ของชายรายหนึ่ง ที่มีอาการทรมานจากการเจ็บหน้าอก เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน หลังไปหาหมอจึงพบว่า หนุ่มเจอเข็มทิ่มปอด ความยาวเข็มกว่า 2.4 ซม.

 

เรื่องนี้ถูกรายงานตามสื่อท้องถิ่นของจีน โดยเป็นเรื่องของชายวัย 27 ปี ในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี มีอาการไม่สบาย นอนไม่หลับ และมีอาการเจ็บแปลบบริเวณหน้าอกบ่อย ๆ มานานกว่า 1 เดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตปกติของเขาอย่างมาก จึงทำให้เค้าตัดสินใจไปหาหมอที่โรงพยาบาล

 

 

หลังจากไปตรวจ CT สแกนที่โรงพยาบาล เขาก็ต้องตกใจเมื่อพบวัตถุโลหะคล้ายเข็มปักผ้าในร่างกาย ศาสตราจารย์จากภาควิชาศัลยศาสตร์ทรวงอก ได้ทำการศึกษาประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยอย่างรอบคอบ และทำการตรวจพบเข็มเงินมีความ 2.4 ซม. ปักอยู่บนบริเวณเนื้อเยื่อปอดด้านซ้ายจนขึ้นสนิม จนทำให้เขากลายเป็น หนุ่มเจอเข็มทิ่มปอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แพทย์เผยว่า เข็มได้เจาะเข้าไปในเนื้อเยื่อของปอดแล้ว และตำแหน่งนั้นเป็นอันตราย หากเข็มยังคงเดินต่อไป มีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกและหลอดลม ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด ตกเลือด และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ทำให้ผู้ป่วยพร้อมกับครอบครัวของเขา ไปที่แผนกศัลยกรรมทรวงของโรงพยาบาล เพื่อทำการผ่าตัดส่องกล้องผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนและนำเข็มปักออกได้สำเร็จ ต่อมาผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีและออกจากโรงพยาบาลได้อย่างราบรื่น

 

จากการสันนิษฐานของผู้ป่วยอาจเป็นไปได้ว่า สมาชิกในครอบครัวทิ้งเข็มไว้บนเตียงหลังจากใช้งานเสร็จ และบังเอิญติดเข็มเข้าไปในร่างกายของเขา ซึ่งแพทย์เตือนว่าหลังจากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้ว ลวดและเข็มที่หักจะเคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในร่างกาย รู้สึกเจ็บปวดที่ผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อหัวใจ ตับ และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เรื่องราวดังกล่าวถูกแชร์ลงโซเชียล ชาวเน็ตต่างตกตะลึงอย่างล้นหลาม หลายคอมเมนต์ต่างตั้งคำถามไปในทางเดียวกัน อาทิ “คุณไม่เจ็บเหรอ ฉันไม่เข้าใจ”, “ฉันรู้สึกเจ็บปวดหลังอ่านข้อความ”, “นี่มันเกินไปแล้ว น่ากลัวจัง ทำไมมีเข็มทิ่มเข้าไปในปอด”,”โชคดีที่เจอมัน ไม่งั้นเข็มจะทิ่มอวัยวะส่วนอื่น พร้อมกับเลือดที่ไหลออกมา และผลที่ตามมาจะเป็นหายนะ”

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเจ็บหน้าอก แต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอก ไม่ได้หมายถึงอาการของโรคหัวใจเสมอไป อาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ มาเช็กดูกันนะคะ ว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?

  • แสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ บางครั้งมีเรอเปรี้ยว มักเป็นขณะอิ่ม เกิดจากโรคกรดไหลย้อน
  • เจ็บแปลบ ๆ เหมือนถูกเข็มแทงหรือถูกไฟช็อต เกิดจากเส้นประสาทอักเสบ
  • เจ็บเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเมื่อเอี้ยวตัว เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
  • กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ ๆ ทรวงอก เกิดจากกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
  • เจ็บตลอดเวลา เป็นนานหลายชั่วโมง หรือเป็นวันโดยที่ไม่มีอาการร้ายแรงอื่น ๆ เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
  • อาการเจ็บไม่สัมพันธ์กับความหนักเบาของกิจกรรม เช่น เจ็บเวลานั่งหรือนอน แต่ขณะทำงานบางครั้งก็ไม่เจ็บ แม้จะออกแรงมากกว่าหรือเหนื่อยกว่า
  • อาการเจ็บหน้าอกเฉพาะด้านขวา

บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทำได้อย่างไร?

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไป ในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้น หรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็น หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ

 

อาการของโรคกรดไหลย้อน

  • ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
  • ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
  • มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่

นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการได้อีก เช่น

  • อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
  • เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน
  • ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
  • กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
  • อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
  • โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ

 

การป้องกันโรคกรดไหลย้อน

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม กระเทียม หัวหอม เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ควรแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง
  2. ผ่อนคลายความเครียด เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ สวดมนต์
  3. ควบคุมน้ำหนักโดยเฉพาะในคนอ้วน หรือคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อน้ำหนักลด ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลง ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง อาการกรดไหลย้อนก็จะลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้นยังส่งผลดีต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ และทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
  4. หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หรือหากนอนควรนอนหนุนหมอนสูง และไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที

 

กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกหรือซี่โครงอ่อนอักเสบ

Costochondritis หรือภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ เป็นอาการอักเสบของกระดูกอ่อนในบริเวณที่เชื่อมระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกส่วนอก (Sternum) ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัสหรือรู้สึกเจ็บเมื่อกระดูกอ่อนช่วงอกถูกยกขึ้น เช่น เมื่อไอหรือสูดหายใจเข้าลึก แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแปลบลามไปยังแขนหรือเจ็บหน้าอกมากจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

อาการของกล้ามเนื้อเอ็นกระดูกหรือซี่โครงอ่อนอักเสบ

อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บแปลบ หรือรู้สึกเจ็บเหมือนถูกกดทับบริเวณกระดูกอก หากอาการรุนแรงอาจเจ็บลามไปยังหลังหรือท้องได้ ส่วนใหญ่จะเกิดฝั่งซ้ายของร่างกาย บางกรณีอาการเจ็บอาจเกิดขึ้นบริเวณซี่โครงมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง มักเกิดบริเวณกระดูกซี่โครงซี่ที่ 4-6 และจะรู้สึกเจ็บปวดยิ่งขึ้นเมื่อสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ หรือไอ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่ออยู่นิ่งและหายใจเบา ๆ ทั้งนี้อาการมักเกิดขึ้นหลังการออกกำลังกาย การได้รับบาดเจ็บที่ได้รับแรงกระทบไม่มาก หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อย่างภาวะหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยเฉพาะหากมีอาการเจ็บหน้าอกและอาการผิดปกติต่อไปนี้

  • หายใจลำบาก
  • มีไข้สูง และไข้ไม่ลดลงหลังจากรับประทานยาลดไข้ อย่างยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)
  • มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีอาการบวมแดงหรือมีหนอง
  • มีอาการเจ็บหน้าอกต่อเนื่องและอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ เหงื่อออก ปวดบริเวณแขนซ้าย หรือมีอาการเจ็บส่วนใดส่วนหนึ่งของหน้าอก เป็นต้น

 

การป้องกันภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ

แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกันอย่างสิ้นเชิง แต่การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยความระมัดระวัง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการใช้แรงในการทำกิจกรรมที่มากเกินไป และหากรู้สึกเจ็บหน้าอกขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ควรหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ และรีบไปพบแพทย์ทันที

 

ทั้งนี้หากเกิดอาการเจ็บปวดที่ผิดปกติ เจ็บหน้าอกขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ควรหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ และ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อหัวใจ ตับ และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เตือน! ห้ามขายเบบี้คริสตัล ของเล่นอันตราย หลังมีเด็กกินจนต้องผ่าตัด!

ร้องมูลนิธิปวีณาฯ แม่พาลูก 7 เดือนไม่มีรูทวาร หนีจาก รพ. ขณะจะผ่าตัด มาเสพยากับสามี

ทำนายฝัน ฝันว่าผ่าตัดตา ฝันว่าต้องผ่าตัดขา หมายถึงอะไร พร้อมเลขเด็ด

ที่มา : khaosod, pobpad, bumrungrad

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn