เรื่องของสารเสพติดไม่ใช่เรื่องไกลตัว หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับเด็กอายุน้อย ไม่เช่นนั้นในอนาคตลูกหลานของเรา อาจตกเป็นเหยื่อของสิ่งพวกนี้ได้ ดังเช่นเหตุสลดของเด็กกลุ่มนี้ที่ เด็กป.5 จับกลุ่มดมกาว ในพื้นที่สาธารณะ
มีการรายงานว่าเมื่อวานนี้ (21 ธ.ค. 2565) ที่บริเวณรอบ ๆ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของเทศบาลนครแม่สอด จ.ตาก กลายเป็นสถานที่ที่กลุ่มเยาวชน อายุประมาณ 13-14 ปี ทั้งหมด 4 คน กำลังรวมกลุ่มดมกาวกันอยู่ เมื่อนายสามารถ โยธิน อายุ 32 ปี ยามรักษาการณ์ในศาลเห็นจึงออกไปห้าม แต่เยาวชนทั้ง 4 คนอ้างว่า เป็นที่สาธารณะไม่มีสิทธิ์มาห้าม
แต่นายสามารถไม่ยอม จึงขับไล่ออกไป ทำให้ เด็กป.5 จับกลุ่มดมกาว กลุ่มนี้ไม่พอใจ คว้ามีดปลายแหลมที่พกมา ขนาดยาวกว่า 1 ฟุต จะเข้าไปแทงนายสามารถ นายสามารถเห็นท่าไม่ดี จึงใช้วิทยุสื่อสารแจ้งตำรวจไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ และติดตามจับเยาวชนได้ 2 คน เป็นเยาวชนไทย 1 คน เยาวชนเมียนมา 1 คน
1 ในจำนวน 2 คนนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในแม่สอด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นเจ้าของมีดดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำตัวขึ้นรถยนต์เพื่อนำไป สภ.แม่สอด จากการสอบสวนเบื้องต้น เยาวชนทั้ง 2 ราย รับว่า ได้ร่วมกับเพื่อน ๆ ไปนั่งดมกาวบริเวณดังกล่าวจริง แต่ถูกยามไล่จนโมโห จึงนำมีดข่มขู่ไป ส่วนคนที่จะขู่ทำร้ายยามได้หลบหนีไปแล้ว
เด็กที่ถูกจับได้เปิดเผยว่า ตนเรียนที่โรงเรียนรัฐแห่งหนึ่ง ชั้นป. 5 ปัจจุบันพ่อแม่ไปอยู่กรุงเทพฯ ทำให้ต้องไปอาศัยกับเพื่อน ร่วมแก๊งดมกาวและไม่ได้ไปโรงเรียน เมื่อถามว่าพกมีดมาทำไม ได้รับคำตอบว่าพกไว้ป้องกันตัว
ด้านนายสามารถ กล่าวว่า รู้สึกกลัวเด็กจะมาทำร้ายตนเอง เพราะมีอาวุธมีด ทั้งตนเองอยู่คนเดียว ก่อนเกิดเหตุเห็นว่า เด็กทั้งหมดนั่งดมกาวใกล้สถานที่ราชการ จึงว่ากล่าวตักเตือน และบอกให้ไปที่อื่น แต่ถูกตอบโต้ด้วยการชักมีดข่มขู่ จึงใช้ก้อนหินขว้างเพื่อสกัด พร้อมกับแจ้งตำรวจมาดำเนินการ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กพี้กัญชา เด็กน้อยจับกลุ่มพี้กัญชา ริมหาดพัทยา มีครบทั้งบ้องทั้งไฟแช็ก
พิษจากการสูดดมกาว
สารเสพติด เมื่อนำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ ล้วนทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ และมักจะทำให้เกิดอาการอยาก จนต้องเสพซ้ำ ๆ เป็นประจำ โดยเริ่มต้นมาจากการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อการรักษา เช่น การให้โบรไมด์ (Bromide) แก่ผู้ป่วยเพื่อเป็นการระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก แต่โบรไมด์สะสมในร่างกายและทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท รวมถึงทำลายเซลล์ประสาทในสมองอย่างถาวร
การสูดดมกลิ่นกาวหรือสีเข้าไป อาจทำให้รู้สึกดีในระยะสั้น แต่ทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาว อาการชัก หายใจติดขัด หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ สารประกอบที่อยู่ในสีและกาวที่ทำให้เกิดผลกระทบนี้คือ โทลูอีน หรือเมทิลเบนซิน หรือฟีนิลมีเทน เป็นสารตั้งต้นทางอุตสาหกรรมและตัวทำละลายที่มักใช้ในสีทาบ้าน สีเพื่องานอุตสาหกรรม และกาวต่าง ๆ รวมถึงเป็นสารตั้งต้นของสารประกอบอะโรมาติกทางอุตสาหกรรม แต่ส่งผลกระทบน้อยกว่าเบนซีนที่ใช้เช่นเดียวกัน
ความน่ากลัวของสารโทลูอีน ไม่เพียงแต่มีผลต่อร่างกาย ยังสลายตัวได้ยากในธรรมชาติ โทลูอีนสามารถระเหยและลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 76 ปี ก่อนจะสลายไป การทำงานของสารโทลูอีนในระยะแรกเมื่อเข้าสู่ร่างกายคือ การกระตุ้นให้ร่างกาย หลั่งสารโดพามีนออกมามากขึ้น ทำให้รู้สึกพึงพอใจ มีความสุข แต่ก็ตามมาด้วยอาการวิงเวียน กังวล สับสน แน่นอนว่ามันเป็นสารเสพติด ทำให้ต้องได้รับมันซ้ำเมื่อเริ่มจะหมดฤทธิ์ เพื่อให้รู้สึกพึงใจและมีความสุขต่อไป แต่การได้รับในปริมาณที่มากขึ้น ก็จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
สารระเหยคืออะไร ?
สารระเหยคือสารที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอระเหยรวดเร็วในอากาศ จัดว่าเป็นสารเสพติดให้โทษ ตามพระราชกำหนด การป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 มีฤทธิ์ในการกระตุ้นและการกดประสาท จึงได้ระบุให้ผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ จัดเป็นสารระเหย ได้แก่
- ทินเนอร์
- แล็กเกอร์
- กาวอินทรีย์สังเคราะห์ ที่มียางโอปริน หรือสารกลุ่มไวนิล
- กาวอินทรีย์ธรรมชาติ ที่มียางสน ยางธรรมชาติ หรือเซลลูโลส
ซึ่งแบ่งประเภทออกตามลักษณะการใช้ หรือทางการแพทย์ โดยแบ่งออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ
1. สารระเหย (Hydrocarbon)
เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ที่ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง จึงนิยมใช้มากในอุสาหกรรมที่มีคุณสมบัติแห้งระเหยได้เร็ว
2. สารทำละลาย (Solvents)
ใช้เป็นส่วนผสมทั้งในผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน
3. น้ำยาพ่นฝอย (Acrosol)
ซึ่งจัดบรรจุในภาชนะที่ใช้สำหรับฉีด มีส่วนผสมในรูปแบบของสีเคลือบภาชนะ ที่ใช้ในครัวเรือน
การป้องกันการติดสารระเหย
- การหลีกเลี่ยงที่จะสูดดม เข้าใกล้ ควรมีผ้าปิดจมูก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันไอจากสารระเหยที่จะได้รับโดยไม่รู้ตัว
- ไม่สัมผัสโดยตรงกับสารระเหย
- จัดการสิ่งแวดล้อม โดยให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออยู่เหนือลม เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับสารระเหย
- หากเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรใส่ใจและรีบปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ
- ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้สารระเหย ในการประกอบอาชีพหรือทำงาน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ในเด็กเล็ก จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในการสัมผัสสารระเหย ไม่ว่าจะเป็นทางกลิ่น หรือสัมผัสโดยตรง
แม้ว่าจะได้รับสารโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายครั้งละเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่า มันจะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย เพราะสารนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้ นอกจากระบบทางเดินหายใจ หลอดเลือดฝอยจะถูกทำลายแล้ว โทลูอีนยังทำให้เซลล์ประสาทเสียหาย ถึงอย่างนั้นมันก็ยังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน เนื่องจากราคาของมันถูกและสามารถเข้าถึงได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม แม้จะรู้ว่ามันมีอันตรายต่อร่างกาย แต่โทลูอีนก็ยังเป็นสารที่นิยมใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมหลากหลาย ดังนั้นอาจจะหนีการใช้งานไม่ว่าจะเป็นกาว สี หรือสารละลายเหล่านี้ได้ยาก แต่ก็สามารถป้องกันตัวเองได้ หากจำเป็นต้องเข้าไปสัมผัส หรือทำงานกับสารเหล่านี้ ก็ควรใช้หน้ากากเพื่อป้องกันการสูดดม และได้รับเอาสารโทลูอีนเข้าไปเกินมาตรฐาน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พลเมืองดีสุดทน! ร้องปวีณาฯ แม่พาลูก 7 เดือนไม่มีรูทวาร หนีจาก รพ. มาเสพยากับสามี
บุกจับ พ่อคลุ้มคลั่ง ใช้ปืนจี้ลูกสาวชั้น ป.1 คาโรงเรียน
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพยา ถ้ามารดาเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
ที่มา : nation, trueplookpanya
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!