ลูกป่วยไบโพลาร์ อาจมีความเสี่ยงทำร้ายร่างกายแม่ อันตรายที่ควรเฝ้าระวัง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะอาการไบโพลาร์ อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นช่วง ๆ อาการอาจจะเกิดขึ้นติดต่อกัน 4 วัน หรือ 1 อาทิตย์ แต่ถ้าหากกลายเป็นความรุนแรงต่อเนื่อง อาจกลายเป็นอันตรายต่อคนในครอบครัวได้ ดังเช่นเคสนี้ที่ ลูกป่วยไบโพลาร์ แล้วเกิดทำร้ายร่างกายของคนในครอบครัว

 

เรื่องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 65 ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งเหตุบุคคลคลุ้มคลั่ง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี หลังรับแจ้งจึงนำกำลังเจ้าหน้าที่รีบไปตรวจสอบ โดยในที่เกิดเหตุพบนางไก่ (นามสมมุติ อายุ 44 ปี ร้องห่มร้องไห้เสียใจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว นายแจ็ค (นามสมมุติ) อายุ 19 ปี ลูกครึ่งไทย อเมริกา อยู่ในอาการโวยวาย ก่อนจะเกลี้ยกล่อมให้สงบสติอารมณ์ได้

 

โดยเมื่อสอบถามนางไก่ (นามสมมุติ) ผู้เป็นมารดา ทราบว่าลูกชายตนเองป่วยแพนิค ไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า โดยลูกชายใส่ถุงมือเข้ามาบีบคอและทุบใบหน้า ตนเองจึงบีบที่ลูกอัณฑะ เพื่อให้ลูกชายปล่อย ซึ่งปกติไม่มีอาการแบบนี้ เพิ่งมีอาการตั้งแต่เมื่อช่วงดึก อีกทั้งลูกชายเคยพยายามจะใช้มีดแทงตัวเอง หวังฆ่าตัวตาย ตนเองก็เข้าไปห้ามปราม ช่วงเช้าก็พยายามจะติดต่อโรงพยาบาลแล้ว แต่ยังไม่ได้ไป กระทั่งมาเกิดเหตุดังกล่าว

 

 

ลูกป่วยไบโพลาร์ สังเกตพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้

ในผู้ใหญ่ที่ตกอยู่ในภาวะไบโพลาร์มักจะแสดงอาการ เช่น อารมณ์ดีผิดปกติ คึกคักผิดปกติ มีความมั่นใจในตนเองสูง หรือมีความคิดในการทำโครงการที่ดูยิ่งใหญ่เกินไป มีอารมณ์ทางเพศสูง ไม่อยากนอน นอนน้อยแต่ไม่อ่อนเพลีย แตกต่างกับอาการไบโพลาร์ในเด็กที่จะมีอาการไม่ชัดเจนมาก คือ จะมีอาการหงุดหงิดผิดปกติ อารมณ์รุนแรง มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น พูดมากขึ้น เหมือนมีเรื่องอยากทำมากขึ้นหลายอย่าง และจะแตกต่างจากโรคสมาธิสั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อารมณ์แปรปรวนในวัยเด็ก ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเติบโต แต่หากอารมณ์ของลูกคุณนั้น แปรปรวนเกินกว่าอารมณ์งอแงของเด็ก ควรพบจิตแพทย์ สำหรับเด็กที่เป็นไบโพลาร์ที่ระดับอาการยังไม่รุนแรงนั้น พ่อแม่อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม การเรียนรู้ การทำงาน การเรียนไม่ดีในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนในเด็กที่มีอาการรุนแรง สามารถสังเกตได้จากอาการหลงผิด ก้าวร้าว หูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องเป็นไบโพลาร์ หลังคลอดอาการจะยิ่งแย่

 

อาการของไบโพลาร์ในเด็ก

  • อารมณ์แปรปรวนรุนแรง แตกต่างจากอารมณ์ตามปกติที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน
  • มีอาการสมาธิสั้น มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
  • มีปัญหาในการนอนหลับ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ
  • มีอารมณ์หงุดหงิด เกือบทั้งวันในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า
  • รู้สึกไร้ค่า มีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย
  • พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือแสดงพฤติกรรมที่มีความสนใจทางเพศ
  • มีอาการร่าเริงผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ทำให้เด็กป่วยเป็นไบโพลาร์

  1. พันธุกรรมจากการมีคนในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์ เด็กมักมีโอกาสเป็นไบโพลาร์ได้สูงขึ้น โดยถ้าพ่อและแม่เป็นไบโพลาร์จะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นไบโพลาร์ 75% หรือถ้าพ่อหรือแม่ คนใดคนหนึ่งเป็นไบโพลาร์จะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นไบโพลาร์ 25%
  2. ความผิดปกติทางระบบสมองทำงานไม่สมดุล
  3. สภาพแวดล้อมของครอบครัว ความสูญเสียคนในครอบครัว อารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้น

 

 

แนวทางการรักษาไบโพลาร์ในเด็ก

  • การใช้ยา : เมื่ออาการดีขึ้น จะพิจารณาการปรับในเรื่องการดูแลในครอบครัว โดยจะให้ยารักษาระยะเฉียบพลันเพื่อช่วยควบคุมอารมณ์ และยาช่วยรักษาอาการประสาทหลอน หูแว่ว ซึ่งจะต้องให้ยาต่อเนื่อง 1- 2 ปี
  • การให้คำแนะนำกับครอบครัว : ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ความขัดแย้งในครอบครัว
  • การปรับมุมมองความคิด : เพื่อให้เด็กลดความกังวลหรือความเศร้าลง
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมกระตุ้น : เช่น การใช้เหล้า สารเสพติด การอดนอน เพราะจะทำให้อาการกำเริบได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัญหาวัยรุ่นเมื่อลูก “อารมณ์ร้อน เจ้าอารมณ์” ทำอย่างไรดี ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นไบโพลาร์

1. ทำตามแผนการรักษา

การทำตามแผนการรักษาของคุณหมอที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งการใช้ยาและวิธีการดูแลลูก พ่อแม่ต้องควบคุมให้ลูก ได้รับยาในการรักษาอย่างต่อเนื่องและตรงเวลา หากต้องกินยาเวลาที่อยู่โรงเรียน ต้องแจ้งครูหรือพยาบาลไว้ เพื่อเป็นการกันลืมหากเด็กลืมกินยา หรือในบางโรงเรียนอาจจะไม่ยินยอมให้เด็กใช้ยาด้วยตัวเอง

 

2. สังเกตผลข้างเคียงจากการใช้ยา

เพราะการใช้งานยาอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ พ่อแม่จึงควรหมั่นสังเกตอยู่เสมอ โดยเฉพาะการใช้ยารักษาไบโพลาร์ในเด็ก ยังมีการศึกษาและวิจัยที่น้อยเกินไป หากยาที่ใช้ไม่ส่งผลดีต่อการรักษา แพทย์ก็จะได้ทำการเปลี่ยนยาและวิธีการรักษา เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับลูก และช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

 

3. ขอความร่วมมือจากคุณครู

ผู้ปกครองควรขอความร่วมมือกับทางโรงเรียน เพื่อให้ช่วยดูแลลูกเป็นพิเศษ ช่วยปรับแผนในการเรียนสำหรับลูก โดยเฉพาะเมื่อมีอาการไบโพลาร์กำเริบขณะอยู่โรงเรียน ควรบอกคุณครูถึงวิธีการรับมือเบื้องต้น ขณะที่พ่อแม่กำลังเดินทางมารับ

 

4. สอนให้มีระเบียบในการใช้ชีวิต

เด็กที่เป็นไบโพลาร์ จะดีขึ้นได้หากมีการใช้ชีวิตอย่างเป็นระเบียบ เพราะการที่ใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมในทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายเข้าใจกับกิจกรรมที่ต้องเจอในแต่ละวัน ไม่ผันผวน ซึ่งวิธีการแบบนี้จะช่วยลดความเครียดในเด็กได้

 

โรคไบโพลาร์เป็นอาการผิดปกติทางอารมณ์ 2 แบบที่เปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน ทำให้เด็กหงุดหงิดและมีอารมณ์แปรปรวนอย่างมาก เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษา การไปโรงเรียน ความสัมพันธ์ และชีวิตประจำวันอาจกลายเป็นเรื่องยาก เยาวชนที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการฆ่าตัวตาย หากคุณคิดว่าลูกอาจมีไบโพลาร์ ให้นัดพบแพทย์เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการรักษาจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อตัวของลูกของเรานั่นเอง!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้จักและรับมือ ไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้ว อารมณ์แปรปรวนสองด้าน

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” ชวนทำความรู้จักโรคไบโพลาร์

การออกกำลังกายสามารถช่วยโรคไบโพลาร์ ได้อย่างไร?

ที่มา : phyathai, today, headtopics

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn