X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

3 วิธีในการใช้เวลาให้คุ้มค่าเมื่ออยู่กับเด็ก ๆ ในช่วง สถานการณ์โควิด-19

บทความ 5 นาที
3 วิธีในการใช้เวลาให้คุ้มค่าเมื่ออยู่กับเด็ก ๆ ในช่วง สถานการณ์โควิด-19

3 วิธีในการใช้เวลาให้คุ้มค่าเมื่ออยู่กับเด็ก ๆ ในช่วง สถานการณ์โควิด-19

ใน สถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ เกือบทุกครอบครัวที่ทำการปรับตัวให้เข้ากับมาตรการทางสังคม เช่น การทำงานที่บ้าน ไม่เว้นแต่การประกาศหยุดของโรงเรียนและมหาลัยต่าง ๆ และสถานที่อื่น ๆ ด้วย เหล่าคุณพ่อคุณแม่กำลังต่อสู้ กำลังรับมือกับคำถามเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ดังนั้น Rebecca Dore ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและสื่อนำเสนอเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็ก ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน

1. เลือกสื่อที่มีคุณภาพและน่าเชื่อได้ใน สถานการณ์โควิด-19

แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะยื่นรีโมทโทรทัศน์หรือ iPad ให้เด็ก ๆ ได้เลือกดูสิ่งที่พวกเขาต้องดูเอง พ่อแม่สามารถช่วยเหลือเด็ก ๆ โดยการเลือกสื่อที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือให้แก่เด็ก ๆ เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 3 ขวบสื่อที่มีคุณภาพอย่าง Sesame Street สามารถช่วยให้ลูก ๆ ของคุณ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำตัวเลขและข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีรักษาความปลอดภัยได้

เด็ก ๆ ยังสามารถเรียนรู้จากแอพเช่น Bedtime Math (ซึ่งแสดงให้เห็นต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ๆ ), Measure That Animal (เกม “Sesame Street” ที่เน้นการพัฒนาทักษะการวัดของเด็ก ๆ ) และ D.W.’s Unicorn Adventure (เกมแฟนตาซีที่สอนเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ)

สถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์โควิด-19

คุณจะหาสื่อการศึกษาคุณภาพสูงได้จากที่ไหน?

Common Sense Media ให้ข้อมูลจากการวิจัยและการจัดอันดับเกี่ยวกับสื่อทุกประเภทสำหรับเด็กทุกวัย พวกเขายังมีหน้าพิเศษเพื่อช่วยเหลือครอบครัวในช่วง สถานการณ์โควิด-19 รายการและแอพจาก PBS KIDS นั้นมาจากการวิจัยการพัฒนาเด็ก เครื่องการค้นหาบนเว็บไซต์ของพวกเขาช่วยให้คุณสามารถเลือกอายุของเด็กและหัวข้อการค้นหาของสื่อที่เหมาะสมกับเด็กในวัยนั้น ๆ  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่สามารถทำได้ทั้งแบบออนไลน์และไม่ใช้อุปกรณ์

อีกหนึ่งวิธีในการเรียนรู้และคัดกรองคือการสังเกตว่าเด็ก ๆ นั้นให้ความสนใจในเรื่องใด จากนั้นจึงค้นหาสื่อการศึกษาที่ตรงกับสิ่งที่เด็ก ๆ ให้ความสนใจ เช่น หาก Robby อายุ 6 ปีขอร้องให้ทำแพนเค้กเป็นอาหารเช้า ซึ่งเขาอาจจะได้เทคนิคดี ๆ จากการดูสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และได้ทราบว่าโซดาทำให้แพนเค้กของเขานุ่มและน่าทานกว่าเดิม

Advertisement

2. ใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็กใน สถานการณ์โควิด-19

บ่อยครั้งที่สื่อออนไลน์เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงของลูก ๆ คุณ สื่อออนไลน์จะมีประโยชน์มากขึ้น หากเด็ก ๆ ได้ใช้สื่อร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมาสอนและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผลการศึกษาค้นพบว่า 75% ของเด็กอายุ 3 ปีที่ได้ดูการ์ตูนเรื่อง “ดอร่าหนูน้อยนักผจญภัย” มักจะคิดว่าภาษาที่เจ้าหนูดอร่านั้นใช้ในเรื่องเป็นภาษาที่ไม่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะบอกว่าอะไรคือเรื่องจริง ซึ่งไม่แปลกที่เด็ก ๆ จะไม่ค่อยได้ความรู้จากการ์ตูนดังกล่าว เนื่องจากว่าพวกเขาไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าอะไรคือเรื่องจริง

ผู้ปกครองสามารถช่วยด้วยการดูการ์ตูนไปพร้อม ๆ กับเด็ก และพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเห็นและประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของพวกเขา อาจจะเป็นการยกตัวอย่างว่า “ดอร่านั้นพูดภาษาสเปนเหมือนกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน”

พยายามหาเวลาทำสิ่งนี้แม้ว่ามันจะไม่ได้ง่ายอย่างที่กล่าวไป แม้บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเหนื่อยล้ากับการทำงาน ไม่มีเวลาและอารมณ์ที่จะใช้เวลาร่วมกับเด็ก ๆ แต่คุณก็ควรที่จะจัดตารางเวลาให้ดีเพื่อให้ได้ใช้เวลากับลูกน้อยให้ได้

เด็กอายุ 4 ปี คุณอาจจะให้พวกเขาอ่าน E-Book ที่โต๊ะในห้องครัว ในขณะที่คุณกำลังทำอาหารเย็นอยู่ ซึ่งสามารถโอกาสนี้ในการพูดคุยกับเด็ก ๆ หรืออาจจะเป็นการฟังพอดคาสต์ที่เหมาะสมกับอายุ ในขณะที่คุณกำลังซักผ้าพับได้อีกด้วย

สถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์ โควิด-19

3. นอกจากบริโภคสื่อเด็ก ๆ อาจจะใช้สื่อในการสร้างอะไรบางอย่าง

เด็ก ๆ สามารถใช้สื่อได้มากกว่าการดูและเล่น พวกเขาสามารถใช้เทคโนโลยีในวิธีที่สร้างสรรค์และจินตนาการในเรื่องต่าง ๆ ได้

ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีสามารถช่วยให้พวกเขาเขียนเพลงของตัวเองได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างงานศิลปะง่าย ๆ ในรูปแบบของเด็ก ๆ ทั้งยังสามารถใช้สมาร์ทโฟน ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างวิดีโอของตัวเองเพื่อแชร์กับครอบครัวและเพื่อน ๆ พวกเขา ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขาสามารถสนุกไปกับการถ่ายทำละครหรือทำวิดีโอแนะนำเพื่อสอนวิธีการเล่นวิดีโอเกมโปรดได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามการเด็ก ๆ สามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างง่ายเช่นนี้มันก็มีทั้งผลดีและผลเสีย จริงอยู่ที่เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้จากสื่อ ทั้งยังสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดก็อาจจะเกิดผลเสียได้ เช่น การถูกหลอกลวงจากข้อความคนแปลกหน้า การหลอกให้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หรือแม้กระทั่งกระทำตามพฤติกรรมผิด ๆ เหมือนในสื่อที่ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสร้างจิตสำนึกที่ดีโดยการสอนให้ลูกรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์และสื่อดิจิทัล ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวและเข้าถึงได้ง่าย

เทคนิคการควบคุมเด็กในการใช้สื่อ

1. กำหนดให้เวลาการใช้สื่อนั้นเป็นเวลาของคนในครอบครัว

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะทำคือ ไม่ปล่อยให้ลูก ๆ ใช้สื่อตามลำพัง คอยแนะนำสิ่งที่มีเนื้อหาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสังเกตลูก ๆ ไปในตัว และจะทำให้เด็ก ๆ กล้าที่จะแบ่งปันความเห็นของตัวเองมากขึ้น หากได้ทำกิจกรรมดังกล่าวบ่อยครั้งขึ้น

สถานการณ์โควิด-19

สถาน การณ์โควิด-19

2. กำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อต่าง ๆ

กำหนดระยะเวลาในการเล่นของลูกให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ หลงใหลไปกับการเล่นอินเตอร์เน็ตจนเกิดไป ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ลูก ๆ หลงลืมหน้าที่ของตัวเองไปเลยก็ได้

3. ให้ความสำคัญกับโลกความจริงมากกว่าโลกในสื่อ

คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกรู้ว่าสื่อออนไลน์ มีประโยชน์และมีโทษอย่างไรบ้าง เพื่อให้พวกเขา วิเคราะห์ แยกแยะ และได้ทราบความอันตรายของสื่อออนไลน์มากขึ้น

สถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์โควิด-19

4. อย่าแชทกับคนแปลกหน้า

สำหรับเด็กแล้วไม่ว่าจะโลกความจริงหรือโลกออนไลน์คนแปลกหน้าก็เป็นบุคคลที่ไม่ควรไว้ใจ อธิบายให้เด็ก ๆ รู้จักระมัดระวังตัวจากคนแปลกหน้าและย้ำกับเด็ก ๆ ไว้ว่า ห้ามบอกข้อมูลส่วนตัวของตนเองเด็ดขาด และห้ามออกไปพบพวกเขาหากมีการนัดหมายจากคนแปลกหน้า

5. สอนเรื่องความเป็นส่วนตัวและความสำคัญในการใช้สื่อให้พวกเขา

สอนลูก ๆ ของคุณเกี่ยวกับสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นทางออนไลน์และแสดงให้พวกเขาเห็นว่าความเป็นส่วนตัวสำคัญอย่างไร เด็กควรทราบว่าเนื้อหาที่แชร์กับผู้อื่นจะไม่สามารถลบได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงข้อความที่มีภาพที่ไม่เหมาะสม พวกเขาอาจจะไม่ได้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างถูกวิธีนัก

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
ช้อปสุดฟิน!  ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
ช้อปสุดฟิน! ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
Dragonfly H.E.A.L. Summit 2024 ปลดล็อคพลังแห่งผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุกมิติ
Dragonfly H.E.A.L. Summit 2024 ปลดล็อคพลังแห่งผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ดีในทุกมิติ

6. สอนลูกให้รู้จักการใช้งานด้านอื่นๆที่เป็นประโยชน์

สอนลูก ๆ ใช้ประโยชน์จากสื่อในด้านอื่น ๆ บ้าง เช่น การเรียนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ฟรี

7. สังเกตพฤติกรรมการใช้งานแอคเคาท์ที่คุณพ่อคุณแม่เป็นคนสร้าง

ควรที่จะคอยสังเกตพฤติกรรมลูก ๆ จากประวัติการท่องเว็บของเขาบ่อย ๆ เพราะอาจจะมีบางเว็บไซต์ที่จำกัดการเข้าใช้ เพราะมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น ให้บริการแก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น

8. สังเกตพฤติกรรมของลูก

หากการใช้สื่อออนไลน์ทำให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ก้าวร้าวขึ้น โมโหร้าย หรือสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ควรมีมาตราการสำรองเพื่อรับมือกับพฤติกรรมดังกล่าว

9. หมั่นเช็คประวัติการท่องเว็บของลูก

หากเด็ก ๆ มีการเข้าใช้เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมกับพวกเขา คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องทำการบล็อคเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นซะ อีกทั้งต้องพยายามบล็อคเว็บไซต์ที่เหมาะสมอื่น ๆ ด้วย

10. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก

หากไม่อยากให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่ทำพฤติกรรมแย่ ๆ ให้พวกเขาดู ต้องไม่เข้าเว็บที่ไม่เหมาะสมให้พวกเขาเห็น เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ อาจจะเห็นและนำไปทำตาม

11. ตั้งค่า Search Engine จำกัดการเข้าถึงเนื้อหา หรือ บล็อกเว็บที่ไม่เหมาะสม

หากใช้ Google อย่าลืมเปิดการใช้งาน SafeSearch เพื่อปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก และเพื่อป้องกันพวกเขาจากสื่อที่ไม่เหมาะสมและได้รับแต่สื่อที่มีคุณภาพ

สถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์โควิด-19

12. หากพบปัญหาร้ายแรงแจ้งผู้ให้บริการ และ เจ้าหน้าที่ตำรวจทันที

หากพบอะไรที่ไม่ชอบมาพากล หรือลูก ๆ มีแนวโน้มถูกมิจฉาชีพหลอก คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบแจ้งความอย่างเร็ว เพื่อความปลอดภัยแก่พวกเขา

 

บทความต้นฉบับ TTSPY theconversation

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?

เหลือผ้าอ้อมให้บ้าง แม่ร้องไห้ คนกักตุนผ้าอ้อม จนไม่เหลือให้ลูก

และนี่คือช่วงอายุที่เหมาะที่สุด ที่จะซื้อสมาร์ทโฟนให้ลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Jitawat Jansuwan

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • 3 วิธีในการใช้เวลาให้คุ้มค่าเมื่ออยู่กับเด็ก ๆ ในช่วง สถานการณ์โควิด-19
แชร์ :
  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้  ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก!  ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

    TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้ ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก! ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

  • ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

    ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้  ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก!  ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

    TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้ ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก! ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

  • ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

    ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว