แม่ท้องเป็นพยาธิ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และกระทบต่อลูกในครรภ์หรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วหากไม่มีความจำเป็นหรือป่วยจริง ๆ คงไม่มีใครอยากกินยาถ่ายพยาธิ ยิ่งเป็นผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ด้วยแล้ว การรับประทานยาแต่ละชนิดยอมมีความกังวลใจต่อลูกมาเป็นอันดับหนึ่ง เรามาดูกันว่า การรักษาและกินยามีข้อห้ามและข้อควรระวัง สำหรับคนท้องอย่างไรบ้าง
แม่ท้องเป็นพยาธิ ได้อย่างไร พยาธิเข้าสู่ร่างกายคนเราได้อย่างไรบ้าง?
หาก แม่ท้องเป็นพยาธิ ต้องทราบก่อนว่า “พยาธิ” นั่นคือ “ปรสิต” ชนิดหนึ่ง มีชีวิตด้วยการอาศัยในร่างกายของคนและสัตว์ เข้าสู่ร่างกายได้ตั้งแต่ยังมีเชื้อและเพาะไข่ เติบโตเป็นตัว (แตกต่างตามสายพันธุ์) ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราได้จากการดื่มน้ำ การรับประทานอาหาร ที่มีเชื้อพยาธิปะปนอยู่ และที่ไม่น่าเชื่อคือ พยาธิบางชนิดสามารถปะปนในอากาศแล้วเดินทางเข้าร่างกายเราทางลมหายใจได้ มาดูกันว่า พยาธิเข้าทางสู่ร่างกายทางใดบ้าง
- การสัมผัสอุจจาระหรือปัสสาวะของสัตว์ เช่น ไปโดนขี้นก ขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมูและอื่นๆ
- เผลอจับสิ่งของที่มีไข่พยาธิ เช่น ในห้องน้ำตามฝารองชักโครก ลูกบิดประตูห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ถังขยะ เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกาย จะฟักตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว แล้วเข้าไปแย่งอาหารในร่างกายของเรา จนทำให้คนเป็นพยาธิรับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดสารอาหารในบางคน สังเกตว่าคนที่ผอมมากๆ มักถูกสงสัยว่า เป็นพยาธิหรือเปล่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องระวัง พยาธิ จากผักสดล้างไม่สะอาด อันตรายกับแม่และลูก
สัญญาณบอกคุณแม่ว่า กำลังมีเชื้อหรือตัวพยาธิภายในร่างกาย
ก่อนอื่น เรามาทราบกันก่อนว่า อาการที่คุณแม่สงสัยว่าตนเองนั้นกำลังมีตัวพยาธิอยู่ในร่างกายนั้น มีสัญญาณบอกอะไรบ้าง ซึ่งอาการของคนเราเมื่อติดเชื้อพยาธิมีดังนี้
1. ปวดท้อง
หากคุณแม่ปวดท้อง หรือ ท้องเสีย คุณแม่จะรู้สึกปวดท้องจี๊ดๆ แต่ไม่รุนแรงแล้วมีอาการท้องเสียตามมา ดังนั้น อาจทำให้เราคิดได้ว่า มันเป็นแค่อาการท้องเสียทั่วไป แต่จริงๆ แล้วอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเรามีพยาธิอยู่ในท้อง
2. คุณแม่หิวบ่อยกว่าปกติ
ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ คนท้องก็หิวบ่อยอยู่แล้ว แต่การมัพยาธิจะทำให้หิวบ่อยขึ้นซึ่งอาจไม่ทันสังเกตว่า เราหิวเพราะท้องหรือหิวเพราะมีพยาธิ
3. รู้สึกอ่อนเพลีย
มีความอ่อนเพลียคล้ายคนท้องเลยค่ะ จากการปวดท้อง ท้องเสีย หิวบ่อย อ่อนเพลีย รวมกันก็รู้สึกว่านี่คืออาการคนท้องหรือเปล่า
4. น้ำหนักลด
มาถึงสัญญาณข้อนี้อาจบอกได้ว่าคุณแม่กำลังมีเชื่อพยาธิแล้วค่ะ เพราะปกติแล้ว คนท้องจะมีแต่น้ำหนักขึ้น แม้จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้องก็ตาม
5. รอยจ้ำบนผิวหนัง
คุณแม่ลองสำรวจผิวของตัวเองค่ะ ว่ามีรอบจ้ำแดงๆ หรือไม่ และต้องแน่ใจว่าไม่ได้ไปกระทบอะไรมา ซึ่งหากพบรอยแดงบนผิวหนัง เช่น บริเวณต้นขาลามลงไปถึงเท้า นั่นไม่ใช่อาการแพ้ผิวหนังแต่เป็นทางพยาธิกำลังไชตามร่างกาย บางคนเป็นหนัก และผิวใสมาก จะเห็นเส้นพยาธิเลยค่ะ
6. คับยิบๆ รอบทวารหนัก
คุณแม่ต้องแน่ใจว่าไม่ได้รับประทานอาหารแสลงเช่น หน่อไม้ ของดอง ปลาร้า ที่ส่งผลกระทบต่อผิวบริเวณช่องคลอดและรูทวาร ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารแสลงเหล่านี้ อาจเป็นพยาธิที่กำลังไชทวารหนักค่ะ
7. สำรวจพยาธิด้วยตัวเอง
หากเกิดเหตุการณ์นี้คือ พยาธิฟักตัวแล้ว ปะปนมากับอุจจาระ เวลาคุณแม่ถ่ายเสร็จอย่าเพิ่งกดน้ำ ลองหันไปมองสำรวจอุจจาระสักหน่อย ปกติแล้ว ให้สำรวจทุกครั้งจะดีค่ะ ไม่ว่าจะสงสัยว่ามีพยาธิหรือไม่
คุณแม่ตั้งครรภ์ กินยาถ่ายพยาธิควรระวังอะไร?
แม่ท้องเป็นพยาธิ หากมีอาการข้างต้น โดยเฉพาะข้อที่ 4 เป็นต้นมา ให้สงสัยไว้ก่อนว่า การที่น้ำหนักลดนั้น ร่างกายคุณแม่อาจมีพยาธิก็เป็นได้ ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการักษา ซึ่งคุณหมออาจจ่ายยาถ่ายพยาธิมาให้คุณแม่ก่อนในเบื้องต้นแล้วการใช้ยาถ่ายพยาธินั้นส่งผลอย่างไรบ้าง
1. ช่วง 3 เดือนแรกคุณแม่ต้องระวัง
ช่วงไหนที่คุณแม่ควรและไม่ควรกินยาถ่ายพยาธิ ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้นการการกินยาต่างๆ ค่อนข้างอันตรายพอสมควร เพราะทารกที่มีอายุครรภ์ 3 เดือนนั้น มีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 18 วัน จะมีการสร้างหัวใจและระบบประสาท แขน ขา ตา และเริ่มมีการสร้างอวัยวะเพศ หลังจากการปฏิสนธิ 37 วัน เป้นต้นไป ดังนั้นภายใน 3 เดือนแรก ร่างกายของทารกค่อนข้างบอบบางไม่ควรมีสารอะไรเข้าไปกระทบการเจริญเติบโต
2. ผลกระทบจากยาถ่ายพยาธิต่อทารก
ตั้งแต่เดือนที่ 1-3 หากมียาหรือสารบางชนิด เข้าไปรบกวนการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อน จะทำให้อวัยวะของทารกมีความผิดปกติหรือหยุดการเจริญเติบโตได้ ไม่ว่าจะแขน ขา สมอง ซึ่งความผิดปกติจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับช่วงของการตั้งครรภ์ปริมาณของยาที่คุณแม่กินเข้าไป ทั้งนี้อย่าลืมว่า ยาบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาถ่ายพยาธิหรือไม่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงอันตรายต่อทั้งคู่
3. ผลกระทบจากยาถ่ายพยาธิต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
การใช้ยาถ่ายพยาธิตามคุณหมอจ่ายยาแต่ก็ควรระวังอาการของโรคพยาธิขั้นรุนแรง เพราะจะทำให้คุณแม่เกิดภาวะโลหิตจาง แม้จะไม่ทำลายระบบการเจริญเติบโตของทารกแต่ก็สามารถส่งผลให้น้ำหนักตัวของทารกแรกคลอดลดลง ที่หนักกว่านั้นอาจทำให้แท้งได้ค่ะ
4. สังเกตยาที่กินว่าอยู่ในกลุ่มไหน
เช่น กลุ่มยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มียาเบนดาโซล อัลเบนดาโซล นิโคลซาไมด์ และไอเวอร์เมคติน ส่วนยาที่ห้ามใช้ในคุณแม่ท้องมี ไพเรนเทล พราซิควอนเทล ไดเอทิล คาร์บามาซีน และพิเพอร์ราซีน (Piperazine) ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามอาการและที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ซึ่งอยากให้คุณแม่สังเกตตัวยาว่า มีตัวไหนอันตรายบ้าง ทางที่ดี การรับประทานยาทุกชนิด ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : พยาธิในตา ชอนไชดวงตาลูกจนคัน แม่สุดช็อค! หมอคีบพยาธิออกมายาวเป็นเซน
คนท้องและคนปกติจะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
ไม่ว่าเราจะท้องหรือไม่ การรับประทานยาถ่ายพยาธิไม่ใช่เรื่องดีนัก แม้ว่ายาค่อนข้างปลอดภัยแต่ร่างกายของคนเราต่างกัน บางคนอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดเกร็งคล้ายโดนบิดไส้ เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนเบื่ออหาร ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำๆ ตัวรุมๆ บางคนเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง
อาการอย่างไรที่ควรพบแพทย์ทันที
ผลข้างเคียงต่างจากผลกระทบหรืออาการแพ้ที่รุนแรง ซึ่งหากแพ้ยาอย่างรุนแรงมีผื่น มีลมพิษ หายใจไม่ออก มีอาการบวมตามใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือตับเริ่มมีความผิดปกติจากอาการที่รู้สึกเหนื่อย ปวดท้องบน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้มคล้ายกาแฟ อุจจาระสีซีด ตัวเหลือง นอกจากนี้ หากอ่อนแรง มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก มีรอยจ้ำๆ มีผื่นตามตัว เหงือกอักเสบ ต้องรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องกินปลาดิบได้ไหม กินยังไงถ้าอยากกิน
คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากพยาธิ
ขึ้นชื่อว่าพยาธิ เราต่างคิดว่าคือเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้ว พยาธิอยู่ใกล้ตัวมาก แค่จานอาหารตรงหน้าคุณก็อาจมีพยาธิปนอยู่ ดังนั้น เรามาบอกคุณแม่ว่า ให้ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากพยาธิจริงๆ
1. รับประทานอาหารสุกใหม่
ผู้หญิงเรามักจะชอบรับประทานยำ ส้มตำ อาหารดิบ อยากให้ลดในช่วงตั้งครรภ์ก่อน เพราะเราไม่แน่ใจว่าอาหารที่รับประทานนั้นสะอาดหรือไม่ มีพยาธิปนเปื้อนหรือเปล่า ฉะนั้น อาหารต้องสุกเสมอเพื่อความปลอดภัย
2. แน่ใจว่าผักสด สะอาด
อีกหนึ่งเมนูของผู้หญิงเราคือ ผักสลัด คุณแม่ต้องแน่ใจมากๆ ว่า ผักที่รับประทานนั้น สด สะอาด ถ้าเป็นไปได้อยากให้ซื้อผักมาทำสลัดเอง ล้างให้สะอาด ล้างผักด้วยด่างทับทิม
3. ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ
ด้วยโรคระบาดในปัจจุบัน เราทุกคนต้องล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะหลังเข้าห้องน้ำ ขึ้น-ลงลิฟท์ ขึ้น-ลงรถ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งต้องล้างมือ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือเสมอๆ ทุกชั่วโมงจะดีมากค่ะ
4. น้ำสะอาดต้องมีติดตัว
อยากให้คุณแม่พกน้ำในกระบอกน้ำไว้ ติดตัวไปไหนมาไหนค่ะ เพราะมั่นใจว่าดื่มน้ำสะอาดจริงๆ ภาชนะมาจากบ้านเราจริงๆ แม้เราจะซื้อน้ำดื่ม น้ำแร่จากร้านค้าทั่วไป แต่ขวดอาจปนเปื้อนสิ่งสกปรกได้ค่ะ และต้องหมั่นดื่มน้ำเยอะๆ นะคะ
5. เก็บอาหารให้ดี ปลอดภัย
คุณแม่ต้องหาภาชนะใส่อาหารติดบ้านไว้ เช่น กล่องถนอมอาหารมีฝาปิดเรียบร้อย อย่าวางจานอาหารทิ้งไว้โดยไม่มีฝาปิดเป็นอันขาด หรือเก็บใส่ตู้เย็นไว้ให้มิดชิด
สิ่งที่สำคัญของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ คือการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะโรคจากภายในและการติดเชื้อจากภายนอก ยิ่งคุณแม่ท้องเป็นพยาธิอาจพบได้น้อย แต่ไใช่ว่าจะไม่เสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อโรคในปัจจุบันที่ล่องลอยมากตามอากาศ อยากให้คุณแม่ระวังทั้งเรื่องการกิน การใช้ชีวิตในทุกๆ วัน เพื่อนลูกน้อยที่แข็งแรงค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง
อาหารอันตราย ห้ามกินตอนท้องแก่ ใกล้คลอดแล้วห้ามกินอะไรบ้าง
อาหารบำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 1 ท้อง 1 เดือน กินอะไรแล้วดี
ที่มา : amarinbabyandkids, pobpad