ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย อาการฟันผุสามารถพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งสำหรับเด็กแล้ว การไปหมอฟันคือฝันร้าย มาดูกันดีกว่าจริง ๆ แล้วฟันผุในเด็กมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ฟันผุในเด็ก เกิดจากอะไร?
อาการฟันผุในเด็ก หรือแม้แต่ในผู้ใหญ่นั้นมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย และสิ่งอื่น ๆ ที่เราได้รับประทานเข้าไป อาทิ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลและแป้ง) ตกค้างอยู่บนฟันของเรา โดยอาหารส่วนใหญ่ที่เด็ก ๆ โปรดปรานมักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฟันผุ ได้แก่ นม ลูกอม ช็อกโกแลต ขนมขบเคี้ยว ขนมเค้ก น้ำผลไม้ และขนมปัง เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปากของเด็ก ๆ จะเปลี่ยนอาหารที่รับประทานเข้าเหล่านั้น ทำให้เกิดการรวมกันของแบคทีเรีย และน้ำลาย ก่อให้เกิดสารที่เรียกว่า คราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดฟัน และเมื่อเวลาผ่านไปแบคทีเรียนั้นจะเริ่มกินไปที่ผิวเคลือบฟันของเด็ก ๆ และทำให้เกิดฟันผุในที่สุด
บทความที่น่าสนใจ : กลิ่นปากเด็ก บอกอะไรได้บ้าง
เด็กประเภทไหนที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ
เด็กทุกคนล้วนมีแบคทีเรียอยู่ภายในปาก และก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดการฟันผุทั้งสิ้น แต่เด็ก ๆ ต่อไปนี้ เป็นเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะฟันผุสูงกว่าเด็กปกติทั่วไป
- คนที่มีระดับแบคทีเรียในปากสูง
- เด็กที่มักชอบทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง และน้ำตาล
- คนที่ไม่ได้รับประทานน้ำที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
- เด็กที่สุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี
- คนที่มีน้ำลายไหลน้อยกว่าปกติ
ฟันผุในเด็ก มีอาการอย่างไรบ้าง
อาการฟันผุในเด็กนั้นอาการของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นอาการโดยส่วนใหญ่ก็มักจะไม่แตกต่างกันมักนัก โดนสามารถสังเกตได้ ดังนี้
- พบจุดขาวบริเวณฟัน โดยจะมีลักษณะการก่อตัวของจุดสีขาวบริเวณฟันที่เริ่มมีอาการของฟันผุ จุดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าฟลูออไรด์ที่เคลือบอยู่ที่ผิวด้านนอกของฟันเริ่มแตก อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้ในช่วงระยะแรก
- ด้านบนของฟันมีสีน้ำตาลอ่อน และเห็นโพรงในช่วงด้านบนของฟัน
- โพรงด้านบนเริ่มลึกลงไป และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ
ในบางครั้ง เด็ก ๆ หรือผู้ปกครองอาจไม่ทราบว่าเด็ก ๆ มีอาการฟันผุ เนื่องจากไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่จะทราบก็เมื่อได้ไปพบทันตแพทย์แล้ว
การรักษาฟันผุในเด็ก
การรักษาอาการฟันผุในเด็ก ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทันตแพทย์ แต่การรักษานั้นต้องขึ้นอยู่กับอายุ และสุขภาพโดยทั่วไปของเด็ก ๆ เองด้วย นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละคนด้วย ในกรณีที่พบส่วนใหญ่การรักษาของการเกิดอาการฟันผุในเด็กนั้นจะต้องนำฟันออก หรืออุดฟัน เพื่อปิดช่องเพื่อไม่ให้แบคทีเรียทำลายฟันไปจนถึงรากฟัน ซึ่งการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากฟันผุนั้นเรียกว่า การบูรณะ และสามารถแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่
- การบูรณะโดยตรง เป็นการรักษาในกรณีที่ไม่ได้นำฟันออก และสามารถทำได้โดยการใส่วัสดุลงบนฟันได้ทันที โดยทันตแพทย์จะทำการปิดช่อง หรือรูที่แบคทีเรียได้ทำลายฟันของเด็ก ๆ ไป ซึ่งวัสดุที่ใช้จะเป็นวัสดุที่มีสีคล้ายตะกั่ว หรือ โลหะ หรือวัสดุที่มีสีคล้ายฟันที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบัน ที่ทำจากวัสดุจำพวกเรซิน หรือคอมโพสิต
- การบูรณะทางอ้อม เป็นการซ่อมแซมฟันที่ไม่สามารถทำได้โดยการใส่วัสดุลงบนฟันได้ทันที ได้แก่ อินเลย์-ออนเลย์ (Inlays – Onlays) ครอบฟัน และสะพานฟัน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอย่างมากในการซ่อมแซมฟันที่ผุ
บทความที่น่าสนใจ : เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กมีความจำเป็นมากแค่ไหน มีผลกระทบอะไรหรือไม่
วิธีป้องกันฟันผุในเด็ก
เมื่อเด็ก ๆ เริ่มมีฟันน้อย ๆ ขึ้น ก็ต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อ คุณแม่แล้วที่จะเป็นผู้พิทักษ์ที่คอยปกปักรักษาฟันของเด็ก ๆ โดยคุณสามารถช่วยป้องกันฟันผุในเด็ก ได้ดังนี้
- เด็กแรกเกิดจนถึง 12 เดือน คุณควรดูแลช่องปากของลูกน้อยให้สะอาด โดยเช็ดเหงือกเบา ๆ ด้วยผ้าเช็ดทำความสะอาดสำหรับทารก เมื่อพวกเขามีฟันซี่แรก คุณสามารถเริ่มแปรงฟันให้ลูกได้ทันที ด้วยการแปรงเบา ๆ โดยใช้แปรงสีฟันนุ่ม ๆ และยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (ขนาดเท่าเม็ดข้าว)
- เมื่อลูกอายุ 12 ถึง 36 เดือน คุณควรแปรงฟันของเด็ก 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2 นาที และใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์จนพวกเขาอายุครบ 3 ขวบ เวลาที่ดีที่สุดในการแปรงฟันคือหลังอาหารเช้า และก่อนนอน
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย ครบ 5 หมู่ และทานอาหารจำพวกที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลในจำนวนที่น้อย
- ป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียจากปากของคุณไปยังลูกของคุณ อย่าใช้เครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร (ช้อน ส้อม จาน ชาม) ร่วมกับเด็ก ๆ และอย่าทำความสะอาดจุกนมหลอกของลูกน้อยด้วยน้ำลายของคุณเด็กขาด
- หากเด็ก ๆ คนไหนที่ติดขวดนม หรือต้องการดื่มเครื่องดื่มก่อนนอน ควรหลีกเลี่ยงน้ำจำพวกที่มีส่วนผสมอย่างน้ำตาล เพราะอาจส่งผมทำให้ฟันผุได้ นอกจากนี้อาจส่งผลทำให้ลูกของคุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหูและการสำลักได้อีกด้วย
- อย่าใช้ขวดนม หรือแก้วน้ำ เป็นเครื่องปลอบโยนเวลาที่ลูกของคุณงอแง หรือปล่อยให้พวกเขาเดินถือขวดนมเดินไปมา หรือดื่มจากภาชนะใด ๆ เป็นเวลานาน หากลูกของคุณต้องการมีขวด หรือแก้วน้ำระหว่างมื้ออาหารให้เติมน้ำเปล่าเท่านั้น
- เมื่อพวกเขาอายุ 12 ถึง 15 เดือน คุณควรสอนให้ลูกของคุณให้ดื่มจากแก้วน้ำปกติโดยเร็วที่สุดโดย เพราะการดื่มจากแก้วมีโอกาสน้อยที่จะทำให้ของเหลวสะสมบริเวณฟัน และนอกจากนี้ เด็ก ๆ ไม่สามารถนำแก้วที่มีน้ำอยู่เข้านอนได้
- ทำการนัดหมายทันตแพทย์ เพื่อให้ลูกของคุณพบคุณหมอก่อนอายุ 1 ขวบ หากคุณมีข้อกังวลคุณสามารถพาเด็ก ๆ ไปพบทันตแพทย์ได้โดยที่ไม่ต้องรอครบอายุ 1 ขวบ หรือคุณสามารถปรึกษากุมารแพทย์ของคุณ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของเด็ก ๆ ได้ แต่หลังจากนั้นคุณควรพาลูกของคุณไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเช็กความแข็งแรงของฟัน และหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องฟันก่อนที่จะเกิดอาการฟันผุ
สำหรับอาการฟันผุในเด็กนั้นเป็นเรื่องปกติของเด็ก ๆ นะคะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจ แต่ก็ไม่ควรที่จะละเลย ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ สอนให้เด็ก ๆ รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีฟันที่สวย และแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถโชว์ฟันซี่เล็ก ๆ พร้อมกับรอยยิ้มหวาน ๆ ให้กับคุณได้อีกนะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
สถานการณ์เสี่ยงติดโควิด ที่คุณแม่และเด็ก ๆ ต้องหลีกเลี่ยง !!
เด็กกินทุเรียนได้ไหม ปลอดภัยไหม กินได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่
5 สถานที่เสริมพัฒนาการเด็ก พัฒนาสมองผ่านการเล่นกิจกรรม
ที่มา : urmc.rochester.edu, betterhealth.vic.gov.au