โรคเท้าปุก พบบ่อยในเด็กเล็ก รักษาหายง่าย พ่อจ๋าแม่จ๋าหมดกังวลใจได้!

คนเป็นพ่อแม่ทุกคนย่อมหวังว่าลูกที่เกิดมาจะมีสุขภาพที่แข็งแรง มีอวัยวะครบถ้วน แต่ถ้าไม่ได้เป็นดังหวัง อาจมีอวัยวะบางอย่างไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์ มีลักษณะบิดเบี้ยวไม่ได้รูป ที่เห็นได้ชัดเจน คือ อาการเท้าปุก เท้าปุก คืออะไร ต้องรักษาอย่างไร ติดตามอ่านค่ะ

โรคเท้าปุก พบบ่อยในเด็กเล็ก รักษาหายง่าย พ่อจ๋าแม่จ๋าหมดกังวลใจได้!

โรคเท้าปุก (Clubfoot) คืออะไร เชื่อว่าพ่อแม่หลายๆ ท่านคงสงสัยและกังวลใจหากเกิดกับเจ้าตัวน้อยของคุณ วันนี้เราเลยมีบทความดีๆ เกี่ยวกับเท้าปุกมาให้อ่านคลายกังวลกันค่ะ

พบบ่อยในเด็กเล็ก โรคเท้า ปุ ก

นพ.นาวี  อนุชาติบุตร  ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ  กล่าวถึงลักษณะอาการเท้าปุกในเด็ก  “เท้าปุกมีลักษณะของเท้าที่ผิดปกติในเด็กที่มักตรวจพบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดไปจนเด็กโต  ลักษณะความผิดปกติที่เรียกว่าเท้าปุกนั้น  หน้าตาของเท้าจะมีส่วนของปลายเท้าบิดชี้เข้าหาด้านใน  โดยมีร่องที่กลางฝ่าเท้าด้านในและปลายเท้าจิกพื้น  ทำให้เด็กไม่สามารถกระดกข้อเท้า หรือกระดกได้เต็มที่เหมือนเด็กทั่วไป  หากปล่อยให้เด็กมีเท้าที่ผิดปกติเช่นนี้  เมื่อโตขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไขโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง  เท้าของเด็กจะอยู่ในลักษณะผิดรูปเช่นนั้นไปตลอดชีวิต คือ เท้าข้างที่เป็นเท้าปุก จะมีขนาดเล็กกว่าเท้าปกติและลายเท้าบิดชี้เข้าด้านใน  ทำให้น่องมีขนาดเล็กตามไปด้วย ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเดิน  วิ่ง  หรือทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กได้   ดังนั้น  ควรนำเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการแก้ไขตั้งแต่เด็กจะดีที่สุด”

โรคเท้าปุก พ่อแม่กังวลใจ

สาเหตุของการเป็น โรคเท้าปุก

พญ.พีระจิตร เอี่ยมโสภณา ศัลยแพทย์กระดูกและข้อสำหรับเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สามารถพบโรคนี้ได้ประมาณ 1 ใน 1,000 ของเด็กคลอดใหม่ โดยชาวเอเชียจะพบน้อยกว่าชาวยุโรป และอัตราการเกิดจะมากขึ้นในครอบครัวที่มีญาติพี่น้องที่เคยเป็นโรคนี้

อาการเท้าปุกทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้  ต้องทำการตรวจรักษาเป็นรายไป  เท้าปุก สำหรับปัจจัยเสี่ยงเป็นต้นว่า  มีพ่อหรือแม่ที่เป็นเท้าปุกหรือเคยมีลูกที่เป็นเท้าปุก  ลูกที่คลอดออกมาจะมีความเสี่ยงในการเป็นเท้าปุกมากกว่าพ่อแม่ที่ไม่เป็น  อาการเท้าปุกนี้จะพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง

เท้าปุกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งยังแบ่งได้อีก 2 ลักษณะ คือ แบบที่เท้าของเด็กมีลักษณะแข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาอยู่ในรูปร่างปกติได้ และแบบที่มีเท้าอ่อนสามารถจัดให้เข้ารูปได้ เด็กบางคนที่เท้าผิดรูปไม่มากและมีลักษณะที่อ่อนดัดได้ง่าย เชื่อว่าเป็นผลมาจากท่าของเด็กที่อยู่ในท้องมารดา

2. กลุ่มที่เป็นผลจากโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ที่จะพบในส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วยได้ เช่น โรคเยื่อหุ้มข้อแข็งติด หรือเกิดจากการรัดของเยื่อหุ้มรก หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท

หมดกังวลใจ เท้าปุก โรคนี้แก้ได้

อย่ากังวลปัญหาเท้าปุกในเด็กเล็กแก้ไขได้

ในปัจจุบันนี้อาการเท้าปุกสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้หรือเกือบปกติ  โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด เรียกว่าการรักษาแบบพอนเซตี้ ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น

การแก้ โรคเท้ าปุก ทำได้หลายวิธี

การรักษา

รศ.นพ. ชายธวัช งามอุโฆษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านออร์โทปิดิกส์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  กล่าวถึงการรักษาอาการเท้าปุก คือ   เท้าปุกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  ประเภทดัดง่าย (easy) และดัดยาก  (resistant) ประเภทหลังนี้นอกจากข้อติดแข็งมากจนดัดให้เข้ารูปได้ยาก  แล้วยังบิดกลับเข้ารูปเดิมอีก   การดัดบ่อยครั้งเกินไปอาจทำให้กระดูกเจริญผิดปกติจึงควรใช้วิธีการผ่าตัด ลักษณะที่สำคัญของเท้าปุกประเภท “ดัดยาก” นี้สังเกตได้โดยที่ส้นเท้าร่นขึ้นไปติดกับข้อเท้าและน่องมีขนาดเล็ก แต่ถึงแม้จะเป็นประเภทยากก็ควรใช้วิธีดัดไปก่อนจนกว่าเด็กจะมีอายุได้ 4-6 เดือน เพื่อให้เอ็นและผิวหนังยืดตัวไม่ตึงเกินไปก่อนให้การผ่าตัด

ดัดเท้าๆ บ่อยๆ ช่วยแก้ โร คเท้าปุก ได้

การดัดเท้า เพื่อป้องกันการเกิด โรคเท้าปุก 

การรักษาในเด็กแรกคลอด คือ การดัดเท้าให้กลับคืนสู่รูปร่างที่ปกติและควบคุมด้วยเผือก ทำการดัดและเปลี่ยนเฝือกทุก ๆ สัปดาห์จนได้รูปร่างที่ปกติแล้วตามด้วยการใส่รองเท้าพิเศษตลอดเวลาอีก 2 เดือน และใส่เฉพาะเวลากลางคืนจนอายุ 4-5 ขวบ วิธีการนี้อาจต้องมีการดัดเอ็นร้อยหวายร่วมด้วย เพื่อให้เท้ามีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์ การรักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับการเข้าเฝือกนี้ถ้าทำตั้งแต่เด็ดคลอดใหม่จะได้ผลดีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรูปร่างเท้ายังไม่ปกติ (โดยทั่วไปมักจะดีขึ้นกว่าตอนแรกคลอดมาก) ก็จะต้องรับการผ่าดัดรักษาตามด้วยการเข้าเฝือกและการใส่รองเท้าพิเศษ

การใส่รองเท้าพิเศษ

เป็นอีกวิธีการหนึ่ง  คือ  ใช้รองเท้าสั่งตัดพิเศษ มี 2 ลักษณะ  ลักษณะแรก  กรณีที่เด็กเป็นไม่มาก หลังจากดัดเท้าไป 4-5 เดือน พอเด็กเข้าสู่ช่วงระยะฝึกเดินเด็กจะรำคาญกับกับการใช้เฝือกหรือรำคาญมือของผู้ใหญ่ที่ไปช่วยดัด  การใช้รองเท้าพิเศษจะรั้งรูปเท้าเด็กให้อยู่ในลักษณะปกติ  อีกลักษณะหนึ่ง คือ  รองเท้าที่ใช้หลังจากผ่าตัด ปกติการผ่าตัดหมอจะวินิจฉัยในรายที่ดัดเท้าไม่ได้ผล  เป็นการผ่าตัดเอ็นหุ้มข้อเท้าด้านหลัง  เพื่อให้กระดูกสามารถกระดกได้ หลังจากผ่าตัดแล้วการใช้รองเท้าพิเศษจะช่วยดัดเท้าและช่วยบังคับฝ่าเท้าให้คงสภาพนั้น

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว  ในครอบครัวใด หรือบ้านไหนที่พบปัญหาเท้าปุกอย่ากังวลใจไปเลยค่ะ  เพราะมีโอกาสรักษาให้หายเป็นปกติได้  เพียงแต่รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ตามคำแนะนำของหมอนะคะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.bangkokhealth.comhttps://haamor.com/th


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ให้ลูกเรียนบัลเล่ต์เร็วเกินไปส่งผลให้นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูปได้

คลิปนี้น่ารัก หนูน้อยหายงอน กลับมาแฮปปี้ ด้วยเสียงรองเท้าปี๊บๆ

พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง วิธีการเจาะน้ำคร่ำ ความเสี่ยงที่แม่ท้องต้องเจอ

พัฒนาการทารก: ก้าวแรกของลูกน้อย

ทำไมทารกต้องใส่หมวก ลูกอ่อนหลังคลอดจำเป็นต้องใส่หมวกมั้ย