การนอนของทารก ช่วงวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรก นอนแค่ไหนดี?

ต่อเนื่องมาจากตอนแรกคัมภีร์การนอนของทารกแรกเกิดถึง 1 เดือน ตอนนี้ลูกเริ่มโตขึ้นแล้ว ช่วงตั้งแต่ 6 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน การนอนก็จะเปลี่ยนแปลงอีกเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกแรกเกิด เมื่อเกิดมาช่วงแรก ๆ จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายมาก ส่วนใหญ่จะมีแค่กินกับนอน และเล่นบ้างเล็กน้อย คุณแม่มือใหม่หลายคนจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า การนอนของทารก ในช่วงขวบปีแรกนี้ เขาควรนอนมากเท่าไหร่ถึงจะพอดี วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

 

การนอนของทารก แรกเกิดวัย 6 สัปดาห์

เด็กหลาย ๆ คนมีช่วงการเติบโตเร็ว (growth spurt) ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกตอน 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้เด็กตื่นมาหิวนมตอนกลางคืนเอง

  • ช่วง 1 – 2 วันหลังการเติบโตเร็วผ่านไป คุณแม่จะสังเกตได้เองว่าลูกนอนนานเป็นพิเศษ
  • การที่ลูกวัย 6 สัปดาห์ตื่นตอนกลางคืน 3 – 4 ครั้งเป็นเรื่องปกติ
  • เด็กวัยนี้บางคนยังไม่พร้อมที่จะนอนตามที่คุณแม่ต้องการได้ อย่าเพิ่งฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลา หรือปล่อยให้ลูกร้องไห้จนหลับ เพราะสิ่งที่เข้ามากวนใจลูกช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือนจะทำให้ลูกเครียด และจะยิ่งกลายเป็นเด็กนอนยาก
  • คุณพ่อ คุณแม่ ควรใช้ประโยชน์จากการอยู่ที่ไหนก็หลับได้ของลูกตอนนี้ เพราะเด็กมักจะชอบนอนในคาร์ซีท หรือรถเข็นได้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ร้านอาหาร บ้านเพื่อน หรือห้างสรรพสินค้า แต่ความสามารถนี้จะเริ่มหายไปเมื่อลูกเริ่มอายุ 4 เดือน ซึ่งเขาจะต้องการนอนในที่มืดและเงียบ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนอนของทารก วัย 2 เดือน

คุณจะเริ่มรู้แล้วว่าลูกชอบหลับเวลาไหน สัก 3 – 4 ครั้งต่อวัน เราอยากให้คุณปล่อยให้ลูกนอนเวลาตามธรรมชาติของเขา ปล่อยไปซักพัก แล้วเวลาไหนเวลานั้น จะเป็นช่วงเวลาการนอนหลับที่สม่ำเสมอของลูก

  • การหลับตอนกลางคืนของทารกวัย 2 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 9 ชั่วโมง (แบบมีตื่นบ้าง) และจะนอนตอนกลางวันรวม ๆ ประมาณ 5 ชั่วโมง
  • การรับรู้เรื่อง กลางวัน กลางคืน ยังไม่ค่อยดีนัก เด็กวัยนี้จะนอนกลางวันมากหน่อย และบางคนอาจจะนอนไม่เป็นเวลา ลูกจะเป็นแบบนี้ไปจนอายุประมาณ 4 เดือน และค่อย ๆ เริ่มนอนสม่ำเสมอประมาณ 3 – 4 ครั้งตอนกลางวัน
  • เมื่อลูกเริ่มอายุ 2 เดือนปลาย ๆ หรือประมาณ 12 สัปดาห์ การนอนตอนเช้าจะเริ่มเข้าที่ โดยนอนประมาณ 1 – 1 ชั่วโมงครึ่ง และจะเป็นเวลาที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
  • ช่วงกลางคืน ลูกอาจจะนอนได้ยาวขึ้นถึง 4 ชั่วโมง หรือมากกว่า เด็กบางคนอาจนอนกลางคืนนานถึง 8 ชั่วโมง (แต่เกิดขึ้นกับน้อยคนนัก) และทารกส่วนมากจะเริ่มลืมตาตื่นมาสำรวจโลกมากขึ้นช่วงกลางวัน
  • ทารกช่วงนี้จะตื่นอย่างน้อย 1 ครั้งช่วงกลางคืน
  • ตอนกล่อมนอน คุณแม่ควรอุ้ม กอด ให้นม โยกเยก หรือเดิน การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้เด็กติดนิสัยในช่วงนี้
  • เด็กบางคนมีเสียงเหมือนนอนกรน ซึ่งอาจเกิดจากน้ำมูกที่อยู่ในลำคอหรือจมูก บางทีการหายใจอาจจะหยุดแป๊บนึง กระบังลมของเด็กจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเองอาจจะใช้เวลาถึง 1 ปี เรื่องการหายใจแบบนี้คุณแม่ไม่ต้องห่วง แต่หากคุณเป็นห่วงการหายใจของลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความแน่ใจ
  • การฉีดวัคซีนอาจจะทำให้ลูกนอนไม่ค่อยสบายได้นะ ไม่ต้องตกใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตารางการนอน ของทารก ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ

 

การนอนของเด็กทารก วัย 3 เดือน

การเติบโตอย่างรวดเร็ว (growth spurt) เกิดขึ้นช่วงนี้ และอาจจะทำให้เด็กกินนมเยอะ อย่าลืมนะ การให้นมแม่จะช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น

  • หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วหมดไป เด็กก็จะนอนมากขึ้นกว่าเดิม
  • ลูกจะเริ่มนอนข้างนอกยากขึ้นแล้ว เพราะเด็กจะเริ่มต้องการบรรยากาศที่มืดและเงียบในการนอน
  • ทารกจะต้องการนอนทั้งหมด 14 – 15 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นประมาณ 11 ชั่วโมงตอนกลางคืน และประมาณ 3 – 4 ชั่วโมงตอนกลางวัน
  • ลูกเริ่มกินนมเยอะ และนอนยาวขึ้น แต่เด็กส่วนใหญ่จะมีการตื่นตอนกลางคืนสัก 1 – 2 ครั้ง
  • ทารกวัย 3 เดือนสามารถตื่นต่อเนื่องได้ยาวถึง 2 – 3 ชั่วโมงต่อครั้ง
  • บางคืนคุณอาจจะไม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกก็ได้ เพราะผิวลูกไม่ได้อ่อนบางเหมือนตอนแรกเกิดแล้ว
  • พอลูกนอนได้นานขึ้น คุณแม่อาจจะตื่นมาพร้อมอาการคัดนมอย่างมาก ระวังนมพุ่งเวลาให้ลูกกินนมกันนะ
  • เด็กบางคนตื่นทุกชั่วโมง แต่ก็จะสามารถกลับไปนอนได้เอง โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย
  • ความเสี่ยงของอาการหลับไม่ตื่นในเด็ก (SIDS – Sudden Infant Death Syndrome) จะขึ้นสูงที่สุดในช่วงนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การนอนของเด็กทารก 4 เดือน

  • เด็กส่วนใหญ่จะนอน 12 – 14 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็น 8 – 10 ชั่วโมงตอนกลางคืน และ 3 – 4 ชั่วโมงตอนกลางวัน
  • เด็กปกติจะนอนได้ 90 นาทีติดต่อกันช่วงเช้า และกลางวัน ส่วนการนอนครั้งที่ 3 ช่วงบ่ายแก่ ๆ จะสั้นลง
  • สมองของเด็กวัย 4 เดือนจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กมีความตื่นตัวกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ลูกตื่นกลางคืนบ่อยกว่าที่ผ่านมา
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ทารกอายุ 4 เดือนขึ้นไปจะสามารถกลับไปนอนต่อได้เอง โดยไม่ต้องมีพ่อแม่ช่วย
  • การเรียนรู้ที่จะคว่ำทำให้เด็กอาจจะตื่นมาซ้อมตอนกลางคืน แต่ลูกยังไม่รู้ว่าจะหมุนกลับไปที่เดิมยังไง บางทีคุณพ่อ คุณแม่ อาจจะต้องตื่นมาเพื่อจัดท่าให้ลูกอีกครั้ง โชคยังดี ช่วงที่ลูกหัดคว่ำ และยังกลับที่เดิมไม่ได้มีแค่ 1 – 2 สัปดาห์เท่านั้น
  • เด็กบางคนอาจจะนอนหลับได้ทั้งคืนโดยไม่ตื่นมากินนมเลยในช่วงนี้
  • 4 เดือนแล้ว ไม่ต้องห่อตัวลูกแล้วนะ เพราะลูกคุณขยับมือเท้าเก่งแล้ว จะพยายามออกจากผ้าห่อตัว และ หากไม่มีคนดูอย่างใกล้ชิด อาจเป็นอันตรายได้
  • เริ่มฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลาได้แล้วนะ โดยกล่อมให้ลูกนอนเวลาเดิมทุกคืน แล้วเด็กจะเริ่มปรับตัวเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนอนของเด็กทารกวัย 5 เดือน

  • ลูกจะนอนกลางวันประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง โดยมากจะแบ่งเป็น 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน และ หลังอาหารค่ำ
  • ทารกวัย 5 เดือนอาจตื่นติดต่อกันนาน 3 – 4 ชั่วโมงก่อนที่จะนอนกลางคืน
  • การนอนน้อยกว่า 1 ชั่วโมงจะไม่นับว่าเป็นการพักผ่อนที่เพียงพอ ควรให้ลูกนอนติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง
  • 5 เดือนแล้ว ถ้าอยากฝึกงดให้นมตอนกลางคืน ก็สามารถทำได้ไม่มีปัญหา โดยเริ่มให้นมมากขึ้นช่วงกลางวัน และให้น้อยลงช่วงกลางคืน อย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

 

การนอนของทารกวัย 6 เดือน

  • โลกใบนี้ คือ ความน่าตื่นเต้นของลูกตลอดเวลา ลูกจะตื่นตัวพร้อมเล่นเสมอ บางทีลูกอาจจะไม่ค่อยอยากกลับเข้านอน เพราะมันมีอะไรน่าพิศวง และน่าเรียนรู้เสมอ
  • เด็กส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นมาถึง 2 ครั้งต่อคืน โดยเฉลี่ยตื่นครั้งละ 23 นาที แต่ก็จะมีเด็กบางคนที่หลับได้สนิทตลอดคืน
  • การเติบโตอย่างรวดเร็ว (growth spurt) เกิดขึ้นอีกแล้ว หลังจากนั้นลูกอาจจะตื่นมากินนมน้อยลง หรือไม่ตื่นเลย การตื่นของลูกตั้งแต่นี้ไปจะเริ่มน้อยลง เพราะร่างกายลูกจะปรับตัวไม่ค่อยตื่นเพราะหิวแล้ว กระเพาะลูกเริ่มเติบโต และปรับตัว
  • เด็กบางคนฟันขึ้นกันแล้ว และนี่เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งของการนอนแต่ก็ไม่ได้น่าเครียดอย่างที่คุณคิด ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้ลูกนอนไม่หลับมากกว่าฟันขึ้นอีกเยอะ
  • ความเสี่ยงอาการหลับไม่ตื่น (SIDS) ของเด็กลดลงอย่างมากตั้งแต่นี้ไป เพราะเด็กเริ่มกลับตัวกันได้แล้ว และสามารถยกศีรษะได้อย่างสบาย ๆ ระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ ก็เติบโตดีขึ้นแล้ว
  • ถ้าอยากแยกห้องนอน กับลูกเร็ว ๆ ช่วง 6 เดือนนี่แหละเร็วที่สุดแล้ว ไม่แนะนำให้แยกห้องนอนกับลูกก่อนหน้านั้น
  • หากแยกห้องนอนแล้ว ลูกอาจต้องใช้เวลาปรับตัวบ้าง บางคืนลูกอาจจะร้องไห้คิดถึงพ่อแม่บ้าง อย่าปล่อยให้ลูกร้องไห้จนหลับช่วงนี้ รอให้ลูกโตซัก 1 ขวบก่อนถึงเริ่มปล่อยให้ร้องไห้จนหลับเองได้
  • อย่าให้ลูกหลับแบบหิว และก็อย่าให้หลับแบบท้องเต็มด้วย วัย 6 เดือนเริ่มทานอาหารเสริมแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนให้ลูกหลับหลังทานอาหาร
  • ถ้าให้ลูกลองอาหารใหม่ ให้ลองตอนกลางวัน เผื่อลูกท้องเสียหรือเกิดอาการแพ้ จะได้เห็นตอนกลางวัน
  • เริ่มหัดนั่งกันแล้วนะ บางทีคุณอาจจะเห็นลูกตื่นมาซ้อมนั่งตอนกลางคืน ไม่เป็นไร เรื่องปกติ

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

ทำไมลูกนอนกรน เด็กนอนกรน เกิดจากสาเหตุอะไร?

ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี

ทารกนอนบิดตัว เกิดจากอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยหรือไม่?

ที่มา: thealphaparent

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา