ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด มีวิธีการอันละมุนละม่อมมาบอก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจาก “นมแม่” จะเป็นอาหารที่ดีที่สุด มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดสำหรับลูกน้อยแล้ว การให้นมแม่ยังเป็นช่วงเวลาอันล้ำค่าที่สร้างความผูกพันใกล้ชิดระหว่างแม่ลูกด้วย แต่เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งคุณแม่หลายคนก็ต้องเผชิญกับคำถามว่า ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน ควรหย่านมแม่เมื่อไรถึงจะเหมาะสมที่สุด

ปัจจัยที่บอกว่า ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า หรือยัง? 

การจะให้ลูกน้อยเลิกเต้าไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวค่ะ แต่คุณแม่ควรดูปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม และดู “ความพร้อม” ของตัวเองและลูกน้อยค่ะ

  • ความพร้อมของลูก : ลูกน้อยพร้อมที่จะกินอาหารเสริมอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอหรือยัง
  • ความพร้อมของแม่ : คุณแม่พร้อมที่จะลดปริมาณน้ำนมและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • ร่างกายของแม่ : หากคุณแม่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคบางชนิด อาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจหยุดให้นมแม่

 

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน

แม้ “องค์การอนามัยโลก” จะแนะนำว่า เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือนแรก ควรกินนมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องกินน้ำหรืออาหารเสริมอื่น ๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารจากนมแม่ได้อย่างเต็มที่ และเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกเกิดการแพ้อาหารในอนาคตด้วย

หากหลัง 6 เดือนแล้ว คุณแม่ยังสามารถผลิตน้ำนมได้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถให้นมลูกเองได้ และต้องการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองอย่างเต็มที่ ก็สามารถให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้จนถึงอายุ 1-2 ปี หรือมากกว่านั้น (ได้ถึงอายุ 6-7 ปี) ตามความสะดวกของคุณแม่เลยค่ะ โดยตั้งแต่ 7 เดือนเป็นต้นไป สามารถให้ลูกกินอาหารอื่นควบคู่ไปกับนมแม่ได้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจให้ลูกดูดเต้าได้ถึงเพียง 3 เดือน เนื่องจากคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็แนะนำว่าให้ลูกดูดเต้าสลับดูดจุกขวดนมก็ได้ค่ะ แต่ยังคงต้องเป็นการดูดนมขวดที่เป็นนมสต๊อกจากนมแม่นะคะ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไม? นมแม่ ถึงดีที่สุด 

การให้นมแม่นั้นจะช่วยขับน้ำคาวปลา และลดโอกาสที่คุณแม่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงด้วยนะคะ อีกทั้งช่วยดึงไขมันที่สะสมไว้ตอนท้องค่อย ๆ นำมาสร้างเป็นน้ำนมสำหรับลูกทำให้คุณแม่ไม่อ้วน ที่สำคัญคือ นมแม่สะดวก ประหยัดเงินและเวลาที่สุดแล้วค่ะ ซึ่งตามธรรมชาติแล้ว คุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกได้จนระบบต่าง ๆ ของร่างกายน้อย ๆ นั้นพัฒนาเต็มที่ และน้ำนมแม่ก็มีประโยชน์มากมายต่อร่างกายลูก

  • น้ำนมแม่มีสารภูมิคุ้มกันสำคัญ

ได้แก่ secretary IgA, เม็ดเลือดขาว, ไลโซไซม์ (lysozyme เอนไซม์ที่มี ฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย), แลตโตเฟอริน (lactoferrin โปรตีนที่ ช่วยต่อต้านเชื้อโรค) และ bifidus growth factor (สารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ช่วยให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้) ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้ ซึ่งลูกน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันนั้นทันทีตั้งแต่กลืนนมแม่มื้อแรกและมื้อต่อ ๆ ไป

  • นมแม่มี DHA

ช่วยสร้างและเชื่อมต่อเส้นใยประสาท รวมถึงปลอกหุ้มเส้นใยประสาท กระตุ้นการเติบโตของสมอง และสารอาหารสำคัญที่ดีต่อการสร้างอวัยวะและระบบอื่น ๆ ของลูก ซึ่งไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ทารกที่ทานนมแม่จึงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ทั้งทางร่างกาย และสมอง

  • นมแม่ย่อยง่ายที่สุด

เพราะประกอบด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ย่อยง่ายตามธรรมชาติ เหมาะกับระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยที่ยังไม่แข็งแรง และพัฒนาไม่เต็มที่ กระเพาะอาหารยังมีขนาดเล็ก ยืดหยุ่นได้ไม่มาก การกินนมแม่จึงดีและปลอดภัยที่สุด

  • นมแม่ดีต่อใจ

เพราะระหว่างการให้นม คุณแม่และลูกน้อยจะได้สัมผัส โอบกอด เป็นการแสดงความรักอันลึกซึ้ง ก่อให้เกิดเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างแม่ลูกค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณบอก ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า และพร้อมที่จะหยุดนมแม่

เมื่อไรก็ตามที่มีความคิดว่า ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน คุณแม่สามารถเช็กสัญญาณความพร้อมที่จะให้หยุดนมแม่ได้เบื้องต้น ดังนี้ค่ะ

  • ลูกน้อยกินอาหารเสริมได้ดี กินได้หลากหลายชนิด และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • น้ำหนักตัวของลูกเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ มีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตามวัย
  • ลูกนอนหลับได้อย่างต่อเนื่องยาวนานขึ้น
  • ลูกมีความสนใจอาหารอื่น ๆ หรืออาหารของผู้ใหญ่มากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธี “ลดนมแม่” ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า แบบค่อยเป็นค่อยไป

การเลิกเต้านั้นทำแบบฉับพลันทันทีไม่ได้นะคะ เพราะสามารถส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยเลย จากโอบกอด โอบอุ้มกันมาตลอดระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จู่ ๆ ความอบอุ่นและสายสัมพันธ์ของช่วงเวลานั้นจะหายไปทันที ไม่ดีแน่ค่ะ การให้ลูกเลิกดูดเต้าจึงควรเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะ โดยคุณแม่สามารถนำวิธีต่อไปนี้ไปใช้ได้

  • ลดจำนวนครั้งในการให้นมแม่ลงทีละน้อย แล้วค่อย ๆ ลดระยะเวลาในการให้นมแต่ละครั้งลงด้วย
  • ขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณอาหารเสริมให้ลูกน้อยมากขึ้น
  • ลองเปลี่ยนเวลาให้นมแม่ มาเป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยไม่ค่อยหิว
  • หาสิ่งอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อลูกน้อยต้องการดูดนมจากเต้าคุณแม่ ให้หาสิ่งอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ชวนเล่นของเล่น หรืออ่านหนังสือให้ฟัง

สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อให้ลูก เลิกดูดเต้า

ในช่วงแรกของการเลิกเต้านั้นลูกน้อยอาจร้องไห้เพราะคิดถึงการดูดนมแม่ อาจมีอารมณ์แปรปรวนและงอแงมากขึ้น รวมถึงมีอาจมีปัญหาในการนอนหลับ และน้ำหนักตัวลดลงชั่วคราว ซึ่งคุณแม่อย่าเพิ่งร้อนใจค่ะ ลองแก้ไขสถานการณ์ด้วยการให้กำลังใจลูกผ่านการอุ้ม การกอด และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ

หรือหากลูกน้อยมีปัญหาในการปรับตัวจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมค่ะ เนื่องจากการเลิกให้นมแม่ควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้ปรับตัวอย่างราบรื่น

 

ที่มา : vichaivej-omnoi.com , bangkokpattayahospital.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกกินนมน้อย ผิดปกติไหม ต้องแก้ไขอย่างไร

แม่ให้นม เต้าไม่คัด ทำไงดี ?

“นมแม่” สำหรับ ทารก 1 สัปดาห์ กินกี่ออนซ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี