เรื่องเสี่ยงกับคนท้องข้อห้ามระหว่างตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนก็ทำอะไรท้าทายขีดจำกัดแม้กระทั่งช่วงตั้งท้อง และ นี่ก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไรด้วย
ว่าด้วยคนท้องแต่ชอบเสี่ยง: การเหินเวหาสำหรับคนท้อง
การเหินเวหาขณะตั้งท้องเป็นเหมือนเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ในปี 2005 ผู้หญิง ตั้งท้องคนหนึ่งชื่อ เชย์นา ริชาร์ดสัน ไม่สามารถกางร่มชูชีพได้ เธอตกลงมาท้องกระแทกกับพื้นยางมะตอยด้วยความเร็ว 50 ไมล์ต่อชั่วโมง ตอนนั้นเธอไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า เธอกำลังท้องอยู่ แต่ปาฏิหารย์มีจริง หลังจากการผ่าตัดหลายครั้ง ทั้งเธอ และ ลูกของเธอล้วนปลอดภัย
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะโชคดี ไม่ใช่สำหรับหญิงชาวสวีเดนคนหนึ่งแน่ ๆ เธอมีชื่อว่า ไวโอเลตตา โรสลาน เธอเป็นนักเบสจั๊มพ์ตัวยง และ เธออยากจะกระโดดครั้งสุดท้ายก่อนที่เธอจะคลอด แต่ร่มชูชีพของเธอไม่กาง ทั้งตัวเธอเอง และ ลูกในท้องตายทันที แม่ของเธอขอร้องให้เธอหยุดการกระโดดเบสจั๊มพ์ระหว่างตั้งครรภ์ แต่ความชื่นชอบกีฬาเสี่ยงชนิดนี้ของเธอมีมากเกินไป
คำแนะนำสำหรับการเหินเวหาขณะตั้งครรภ์
เรื่องเสี่ยงกับคนท้องข้อห้ามระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าจะไม่ได้มีกฎหมายห้ามเหินเวหาขณะตั้งครรภ์ แต่แพทย์ส่วนใหญ่ แนะนำ ว่าให้หลีกเลี่ยงจากกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจาก ผู้หญิง มีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอะไรก็ตามที่อาจทำให้เกิดการล้ม แม้กระทั่งการขี่จักรยาน มีเหตุผลมากมายว่าทำไม คุณจึงมีความเสี่ยงบาดเจ็บได้มากขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ข้อของคุณจะอ่อนลง คุณมีโอกาสเคล็ดได้มากขึ้น ปริมาณอะดรีนาลีนที่หลั่งออกมา ระหว่างกิจกรรม เสี่ยงแบบนั้นสามารถก่อให้เกิด ผลเสียต่อ การเจริญเติบโตของตัวอ่อนในท้อง และ ที่แน่นอนที่สุดคือความเสี่ยงของ การแท้งลูกถ้ามีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น
สิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์
เล่นสเกต, ขี่ม้า, วิ่งจ็อกกิ้ง, วิ่งเร็ว, ซิตอัพ, สะพานหก, บาสเกตบอล, กระโดดเชือก, เทนนิส, การปีนป่ายที่สูง ฯลฯ รวมไปถึงงานบ้านที่ต้องระวังอันตรายในเรื่องของการ ลื่นหกล้ม มาก ๆ
ห้ามออกกำลังกายแบบหักโหม หรือรุนแรงจนเกินไป
สิ่งที่คนท้องควรต้อง ระวังมากที่สุดคือ พยายามไม่ให้ร่างกายต้องเจอ กับแรงกระแทกบ่อย หรือรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้นชนิดของกีฬาที่ ควรหลีกเลี่ยงในการออกกำลังกายคือ การกระโดดเชือก บาสเกตบอล เทนนิส หรือ กีฬาที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เช่น ท่าซิทอัพ
ไม่ควรออกกำลังกายจนชีพจรเต้นเร็วเกิน 120 ครั้งต่อนาที
หาก คุณแม่ รู้สึกเหนื่อยเกินไป หรือ รับรู้ได้ว่าชีพจรเต้นเร็วเกิน 120 ครั้งต่อนาทีในระหว่างออกกำลังกาย แม้จะเป็นท่าที่เหมาะสมก็ตาม โดยใช้วิธีการจับชีพจรให้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และ นิ้วนาง แตะที่ข้อมือแล้วทำการนับ จำนวนการเต้นของชีพจร หากชีพจรเต้นเร็วให้หยุดพัก จากกิจกรรมนั้น ๆ ไปเลย เนื่องจากร่างกายจะขับของเสียออกมาใน กระแสเลือดมากกว่าปกติ และ เลือดจะไปเลี้ยงมดลูกได้น้อยลง ซึ่งไม่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ และ อาจเกิดอันตรายทั้งต่อตัว คุณแม่และ ลูกได้
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายของคนท้อง
หากผ่านช่วง 3 เดือนแรก และ คุณแม่ ไม่มีอาการแพ้ท้องแล้วก็ สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ชนิดของกีฬานั้น ไม่ควรหักโหม ยังคงต้องอยู่ในท่าเบาๆ เช่น เดิม แต่เพิ่มระดับความหนักขึ้นมาอีกหน่อยก็ได้ และ หากพ้นช่วง 3 เดือนแรกไปแล้ว คุณแม่ จะสบายตัวขึ้น เนื่องจากอาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ หายไป หลังจาก 4 เดือน การออกกำลังกายจะเป็นช่วงที่ง่ายขึ้น ๆ และ ปลอดภัยต่อลูกน้อย ก่อนจะเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดที่ จะต้องเพิ่มการดูแลกลับไปเป็นการ ออกกำลังกายเบา ๆ อีกครั้ง
ที่มาอ้างอิง https://www.sanook.com/women/166481/
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการ ของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะ คุณแม่ จะได้รับการดูแลทั้ งอาหาร การกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้าง ในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้ง เด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่ คุณแม่ ต้องการ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!