X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่า

บทความ 3 นาที
อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่าอายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่า

ช่วงอายุ 20 กว่านี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมหากคุณกำลังคิดอยากมีลูก เพราะวัยนี้เป็นช่วงที่สภาพร่างกายพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์มากที่สุด คุณควรตัดสินใจที่จะมีลูกในช่วงนี้หากคุณต้องการมีบุตรมากกว่า 1 คน

ตั้งครรภ์ ช่วงอายุ 20 กว่า

ตั้งครรภ์ ช่วงอายุ 20

ข้อดีของการตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่า

ตามหลักชีววิทยา ร่างกายของผู้หญิงในวัย 20 เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์มากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยเฉลี่ยจะถึงจุดสูงสุดประมาณอายุ 24 ปี

ผู้หญิงทุกคนจะเกิดมาพร้อมกับไข่ทั้งหมดอยู่ในรังไข่ ซึ่งจะมีประมาณหนึ่งล้านฟองเมื่อแรกเกิด เมื่อคุณก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณจะมีไข่เหลือประมาณ 300,000 ฟอง แต่จะมีเพียง 300 ฟองที่ถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ตลอดช่วงวัยสืบพันธุ์

เมื่อคุณอายุมากขึ้น ทั้งรังไข่และอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมทั้งไข่ จะค่อย ๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีโอกาสที่จะพบความบกพร่องทางพันธุกรรมในไข่ของผู้หญิงที่อายุน้อยได้น้อยกว่า อีกทั้งยังมีโอกาสพบความผิดปกติในเด็กแรกเกิด เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม น้อยกว่าอีกด้วย

อัตราเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งก็ต่ำกว่าเช่นกัน ผู้หญิงในช่วงวัย 20 มีโอกาสแท้งบุตรเพียง 10% ในขณะที่ผู้หญิงในช่วงอายุ 35-39 และต้น 40 จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 20 และ 35% ตามลำดับ

ผู้หญิงในช่วงอายุ 20 มักไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ เช่น เนื้องอกหรือเยื่อบุมดลูก ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาเมื่อคุณอายุมากขึ้น อีกทั้งผู้หญิงในวัยนี้ยังมีความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น ความดันสูง หรือเบาหวาน น้อยกว่า จึงมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์น้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35

ข้อเสียของการตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่า หน้าถัดไป

ข้อเสียของการตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่า

ช่วงอายุ 20 อาจเป็นช่วงวัยทำงานซึ่งคุณกำลังพยายามค้นหาตัวเองและความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ถ้าคุณเลือกที่จะก้าวออกมาจากสายอาชีพเพื่อเตรียมตัวมีลูก คุณอาจต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ แม้ว่าร่างกายคุณอาจจะพร้อม แต่ฐานะการเงินของคุณอาจไม่พร้อมสำหรับการมีลูก

คู่สามีภรรยาที่มีลูกในช่วงอายุ 20 กว่า ๆ อาจลำบากกว่าคู่ที่มีอายุมากกว่า เพราะคนในวัยนี้มักไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะตระหนักว่าความลำบากในการเลี้ยงลูกเป็นความลำบากแค่ชั่วคราวเท่านั้น คุณแม่ยังสาวมักรู้สึกเครียด ในขณะที่คุณพ่อ อาจรู้สึกเหมือนถูกภรรยาทอดทิ้ง เพราะเธอต้องดูแลลูก คู่สามีภรรยาที่อยู่ให้กำลังใจและเกื้อกูลซึ่งกันและกันจนผ่านพ้นช่วงแรกไปได้จะมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่หลายคู่มักห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาครอบครัวในที่สุด

เมื่อคู่สามีภรรยาไม่พร้อมมีลูก การเลี้ยงลูกจะกลายเป็นเรื่องที่บั่นทอนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะคู่ที่ยังเด็ก ซึ่งอาจไม่พร้อมที่จะเสียสละและไม่มีความอดทนมากพอ

นี่อาจเป็นสาเหตุที่งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าเด็กที่โตมาในครอบครัวที่พ่อแม่อายุน้อยมักมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากกว่า ผลการศึกษาจากประเทศเยอรมนีแสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีมารดาอายุระหว่าง 15 – 24 ปี มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าเด็กที่โตมาในครอบครัวที่มีผู้ปกครองอายุมากกว่า และนักวิจัยก็คาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากมารดาที่มีทักษะในการเลี้ยงเด็กต่ำ

ตั้งครรภ์ ช่วงอายุ 20

 

โอกาสมีลูกสำเร็จ

มีผู้หญิงอายุ 20 จำนวนน้อยมากที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตร ในขณะที่ 2 ใน 3 ของผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 จะประสบปัญหานี้ ผู้หญิงอายุ 20 มีโอกาสเพียง 6% เท่านั้นที่จะไม่มีบุตร เทียบกับ 64% ในกลุ่มผู้หญิงอายุมากกว่า 40

นอกจากนี้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปียังมีโอกาสแท้งบุตรมากกว่าผู้หญิงอายุ 20 ถึงสามเท่า และตัวเลขนี้จะยิ่งสูงขึ้นตามอายุ

ผู้หญิงในวัย 20 มีโอกาสที่จะมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมเพียง 1 ใน 1,667 เทียบกับโอกาส 1 ใน 950 สำหรับผู้หญิงอายุ 30

ข้อดีข้อเสียตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า 

ข้อดีข้อเสียตั้งครรภ์ช่วงอายุ 40 กว่า

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 20 กว่า
แชร์ :
  • อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า

    อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า

  • เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

    เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า

    อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า

  • เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

    เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ