ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราคุ้นเคยและเรียกติดปากกันว่า ภาคอีสาน นั้นเต็มไปด้วยแหล่งรวบรวมอารยธรรมอันหลากหลาย และ ประเพณีภาคอีสาน ที่ชวนตื่นตาตื่นใจอย่างมากมาย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ประเพณีภาคอีสาน ว่าจะสวยงามและอลังการแค่ไหน รับรองว่าเมื่ออ่านจบแล้วต้องอยากออกไปเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งอย่างแน่นอน
ทำความรู้จักกับ ภาคอีสาน
ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช กั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาคด้วยแม่น้ำโขง ส่วนในทางใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นตั้งเป็นแนวกั้นจากภาคเหนือ มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ภูกระดึง ที่นับว่าเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสาน เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำตะคอง โดยมีพื้นที่บริเวณรวมประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย ประกอบไปด้วยจังหวัดทั้งหมด 20 จังหวัด ดังนี้
- อำนาจเจริญ
- อุบลราชธานี
- อุดรธานี
- หนองบัวลำภู
- หนองคาย
- ศรีสะเกษ
- สุรินทร์
- สกลนคร
- เลย
- ร้อยเอ็ด
- ยโสธร
- นครราชสีมา
- มุกดาหาร
- กาฬสินธุ์
- มหาสารคาม
- ขอนแก่น
- บึงกาฬ
- ชัยภูมิ
- บุรีรัมย์
- นครพนม
ทั้งนี้ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เช่น บริเวณอีสานใต้นิยมใช้ภาษาเขมร และภาษาอีสาน เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งที่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ นิยมใช้พูดเป็นภาษากลาง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : รวบรวม 10 ร้านอาหารอีสาน สุดแซ่บซี้ด อร่อยจัดจ้านถึงใจ
5 ประเพณีภาคอีสาน ที่ต้องไปเยือนให้ได้สักครั้งหนึ่ง
ประเพณีภาคอีสาน นับว่าเป็นแหล่งรวบรวมอารยธรรมที่มีความหลากหลายอยู่เป็นจำนวนมาก โดยแต่ละประเพณีเป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรม จากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ ยิ่งใหญ่ สวยงาม และอลังการ จนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาเยือนกันอย่างล้นหลาม
1. ผีตาโขน
เทศกาลผีตาโขน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เดิมทีมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก ในตอนที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีจะทำการออกเดินทางจากป่าเข้าสู่เมืองหลวง โดยในระหว่างการเดินทางก็ได้มีสัตว์ป่า ภูตผี ปีศาจ ที่อาศัยอยู่ในป่าออกมาส่งเสด็จ โดยเอกลักษณ์และความโดดเด่นของเทศกาลผีตาโขน คือการนำชุดและหน้ากากของผีตาโขนมาสวมใส่ เพื่อเต้นรำไปตามจังหวะเสียงดนตรี พร้อมเดินขบวนพาเหรดที่สร้างความดึงดูดให้กับชาวไทย และชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี
2. บั้งไฟพญานาค
ปรากฏการณ์ที่ยังคงหาคำตอบพิสูจน์ไม่ได้กับเทศกาลบั้งไฟพญานาค โดยเกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขงที่สามารถเห็นได้จากฝั่งประเทศไทย และฝั่งประเทศลาว โดยไฮไลต์สำคัญคือการเฝ้ารอดวงไฟเรืองแสงที่จะลอยขึ้นมาจากผิวน้ำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ที่ต่างสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักเที่ยวได้ไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่คอยสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ที่มาร่วมงาน นั่นก็คือ ประเพณีแข่งเรือยาว ที่มีลีลาและน้ำเสียงการพากย์อันโดดเด่น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสีสันที่นักท่องเที่ยวทุกคนไม่ควรพลาด
3. แห่เทียนเข้าพรรษา
นับว่าเป็นเทศกาลประจำปีที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยจัดขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญที่ถูกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงปัจจุบันนี้มีอายุรวมกว่า 116 ปี จากเดิมทีเป็นการจุดบั้งไฟเพื่อเฉลิมฉลองในบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเป็นอย่างมาก จึงได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการจัดขบวนเทียนขนาดใหญ่ พร้อมแกะสลักขี้ผึ้งเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของประวัติศาสตร์ทั้งหมด รวมทั้งยังมีการจัดประกวดแข่งขันความสวยงามการแกะสลักอีกด้วย และมีขบวนนางรำที่ฟ้อนรำประกอบไปด้วย จัดได้ว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ สวยงาม อลังการ สมคำร่ำลือ
4. เทศกาลขึ้นเขาพนมรุ้ง
เทศกาลขึ้นเขาพนมรุ้ง ถูกจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ ประมาณเดือนเมษายน เพื่อชมปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงเป็นเส้นตรงทะลุช่องประตูทั้ง 15 บาน และพิธีบวงสรวงองค์พระศิวะ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาพนมรุ้ง อีกทั้งยังเป็นการเชิญชวนให้เหล่านักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชมปราสาทหินพนมรุ้ง สถานที่มรดกโลกที่สร้างด้วยศิลาแดง และหินทรายสีชมพู ถูกออกแบบแผนผังของปราสาทตามความเชื่อที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ ประดับไปด้วยการแกะสลักที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศาสนา พร้อมมีการแสดงโชว์แสง สี เสียง สุดตระการตา ที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
5. ไหลเรือไฟ
เทศกาลไหลเรือไฟ ถูกจัดขึ้นที่จังหวัดนครพนม ในช่วงเวลาหลังวันออกพรรษาของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พญานาค พระแม่คงคา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นภายในงานคือ ขบวนเรือไฟที่ถูกประดับไฟไว้อย่างสวยงาม ส่องแสงสว่างอย่างสง่างามท่ามกลางแม่น้ำ การร่ายรำบูชาองค์พระธาตุพนม รวมทั้งการจัดงานกาชาด เพื่อจำหน่ายสินค้าประจำท้องถิ่นและประจำจังหวัด การแสดงพื้นเมืองจากเจ็ดชนเผ่าของจังหวัดนครพนมที่หาชมได้ยาก
ทั้งนี้ ประเพณีภาคอีสาน นั้นยังมีอีกมากมายหลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละประเพณีก็มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม และโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับ ประเพณีของไทย ที่แต่ละท้องถิ่นนั้นก็จะมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นไม่เหมือนกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิต วัฒนธรรมที่แสดงออกถึงจุดเด่นของภูมิภาคนั้น ๆ ต่างหล่อหลอม และยังคงรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ เพื่อสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นเสน่ห์อีกหนึ่งอย่างประเทศไทย ที่ชวนดึงดูดให้ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ได้เข้ามาท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสบรรยากาศด้วยตาตัวเองสักครั้งหนึ่งในชีวิต
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รวม 7 ประเพณีของไทย ดังไกลทั่วโลกจนฝรั่งต้องบินมาดูด้วยตัวเอง !
4 ประเพณีของภาคเหนือ ยึดมั่นแต่โบราณ แหล่งเรียนรู้มรดกแห่งชาติพันธุ์
เปิดประวัติ 4 ประเพณีของภาคกลาง ที่หลายคนต้องเอ๊ะมีด้วยเหรอนี่
ที่มา : thaiticketmajor, travel.kapook
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!