วิจัยยัน!! ลูกแบบนี้แหละ โตมากลายเป็นเสาหลักของครอบครัวได้
ด้วยความที่เป็นลูกคนโตที่สุด เมื่อครอบครัวมีลูกคนต่อๆ ไป ครอบครัวก็มักจะมีแนวโน้มมอบหน้าที่ดูแลน้องให้กับ พี่คนโต งานศึกษาทั่วไปจึงมักพูดถึงลูกคนโตในฐานะสมาชิกที่มีอำนาจและทรงอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาพี่น้อง มีผลการศึกษาออกมาว่า วิจัยยัน!! ลูกแบบนี้แหละโตมากลายเป็นเสาหลักของครอบครัวได้ มากกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ ในบ้าน นั่นก็คือ ลูกคนโต ที่มีความรับผิดชอบดูแลน้อง ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง
พี่น้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกันได้หลายรูปแบบ ทั้งความสัมพันธ์ที่ดี เช่น การให้ความช่วยเหลือ แบ่งปัน เป็นเพื่อนเล่นกัน เป็นที่พักพิงทางใจ เป็นที่ปรึกษา เนื่องจากพี่น้องสามารถเข้าใจปัญหาของกันและกันได้ดี มีการสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องของตนได้ และบางครั้งก็เป็นเพื่อนพูดคุยในบางประเด็นที่อาจจะคุยกับใครไม่ได้ เช่น เรื่องเพศ เป็นต้น
นอกจากความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว พี่น้องอาจมีรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้ เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การต่อสู้กัน หรือเกิดความอิจฉาริษยากันได้
วิจัยยัน!! ลูกคนโต แบบนี้แหละ โตมากลายเป็นเสาหลักของครอบครัวได้ … เรามาดูกันเลย!
Primogeniture พรและภาระของลูกคนแรก
จากข้อสังเกตของ Sir Francis Galton เหตุผลสำคัญที่ ลูกคนโต กลายมาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จก็ด้วย วัฒนธรรมการตกทอดทรัพย์สิน และ ชื่อเสียงให้กับลูกชายคนแรก ผลของความคิดนี้ก็เลยส่งอิทธิพลทั้งที่เป็นรูปธรรม แน่ละว่าลูกคนโตก็จะได้รับทรัพย์สิน ได้รับโอกาสและความไว้เนื้อเชื่อใจ ไปจนถึงในทางภาระหน้าที่ ที่ลูกคนโตจะต้องแบกรับชื่อ และ ความคาดหวังของครอบครัวเอาไว้
แนวคิด Primogeniture ส่วนใหญ่หมายถึง การให้สิทธิสืบทอดกับลูกคนแรก ส่วนใหญ่ตามกฎหมาย และ ประเพณีมักจะเป็นลูกชายในฐานะผู้สืบทอดสายสกุล ในบางวัฒนธรรม หรือ บางโอกาสก็อาจจะสืบทอดให้กับลูกสาวได้บ้าง แต่หลักๆ หมายถึงการให้ลูกคนโตที่สุด วิธีแบบนี้ พบได้ตั้งแต่ในสังคมกสิกรรม มาจนถึงวิธีการสืบทอดตำแหน่ง และ ฐานะของชนชั้นสูง
การที่ต้องสืบทอดให้กับลูกคนโตที่สุดคนเดียว เกิดจากความจำกัดของทรัพย์สิน ในสังคมเกษตรกรรมต้องการการเก็บที่ดินขนาดใหญ่ไว้ การสืบทอดให้กับพี่คนโตดูแล และ รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการป้องกันการแบ่งสรรที่ดินให้ยิบย่อยจนไม่สามารถใช้ทำงานได้อย่างเพียงพอ ในขณะเดียวกัน ยศหรือฐานันดรเองก็มีตำแหน่งที่จำกัด การสืบทอดจึงทำได้เพียงแค่มอบต่อให้ทายาทได้เพียงคนเดียวเท่านั้น
หลักการง่าย ๆ ของการให้สิทธิกับลูกคนแรก คือ ลูกคนแรกมีแนวโน้มที่จะเติบโต แข็งแรงเข้มแข็งเพียงพอเมื่อเทียบกับน้อง ๆ คนอื่น ๆ ที่อาจจะยังเด็ก และอ่อนแอกว่า แต่ก็มีบ้างที่จะตกทอดสิทธิให้กับน้องคนเล็ก (ultimogeniture) เช่น บางครั้งลูกคนโตต้องออกไปทำกิจการนอกบ้าน ออกไปรบ ไปค้าขาย ลูกคนเล็กก็อาจจะเป็นผู้รับหน้าที่ดูแลพ่อแม่ จัดการควบคุมจัดการกิจการในบ้านต่อ ซึ่งลูกคนเล็กเป็นคนที่มีแนวโน้มจะมีชีวิตที่ยืนยาว เป็นคนที่จะใช้เวลาดูแลพ่อแม่ได้นานที่สุด ติดบ้านมากที่สุด
#1 เรียนรู้เรื่องความสำคัญของครอบครัว มีความรับผิดชอบ และได้รับความสำเร็จในชีวิตก่อนพี่น้องคนอื่น
โดยผลการศึกษาของเจฟฟรีย์ คลูเกอร์ ผู้เขียนหนังสือ The Sibling Effect พบว่า “คนโตจะเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่มากกว่าลูกคนเล็ก และต้องเป็นพี่ที่มีหน้าที่ช่วยพ่อแม่เลี้ยงน้อง จึงกลายเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบตั้งแต่อายุน้อย”
#2 เพราะ ลูกคนโต จะเชื่อฟังคำสอนและทำตามกฏเงื่อนไขของบ้าน ในขณะที่ลูกคนเล็กมักจะดื้อ
ผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในปี 2003 ของนักจิตวิทยาชาวเบลเยี่ยมได้สรุปผลว่า “ลูกคนโตนั้นจะมีความรับผิดชอบ และประพฤติตัวตามแบบแผนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้อง ในขณะที่ลูกคนเล็กพยายามสร้างความแตกต่างออกมาจากกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไข ด้วยความขี้เล่น ซุกซน จนดูเหมือนจะเป็นเด็กดื้อมากกว่าพี่คนโต”
#3 ลูกคนโต เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ และมักจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ง่าย
ด้วยความที่พี่ต้องคอยดูแลน้องคนเล็ก ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ ได้ติดตัวมาตั้งแต่เล็ก ที่เป็นประโยชน์ในอนาคตทั้งในเรื่องการเรียน การทำงาน และส่งผลให้ลูกคนโตนั้นมีความทะเยอทะยานมากเป็นพิเศษด้วย
#4 คนโต นั้นฉลาดกว่าลูกคนเล็ก
จากการศึกษาของนักวิจัยชาวนอร์เวย์พบว่า “ลูกคนโตมีไอคิวเฉลี่ยสูงกว่าลูกคนเล็กถึง 2.3 จุด ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการสิ่งที่พี่คนโตต้องคอยสอน หรือทบทวนข้อมูลต่าง ๆ ให้กับน้องคนเล็ก จึงทำให้มีสติปัญญาที่ดีขึ้นและฉลาดกว่าน้องคนเล็กได้
#5 เด็กคนโตเป็นคนมีจิตใจดี
ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ในปี 2015 พบว่า “ นิสัยของลูกคนโตจะมีความเที่ยงตรง เชื่อฟัง และกล้าเผชิญ โดยไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด ๆ ได้ง่าย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการเป็นพี่ที่ต้องดูแลน้อง คอยช่วยแก้ปัญหา จึงทำให้ลูกคนโตเป็นพี่ใหญ่ใจดีและเป็นที่พึ่งของน้องเล็กได้
เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้อิจฉากัน
• เตรียมพี่ให้มีความรู้สึกที่ดีในการจะมีน้อง
– ชี้ให้พี่เห็นความน่ารักของเด็กเล็ก ๆ
– ระหว่างแม่ท้องควรบอกเด็กว่าแม่กำลังจะมีน้องให้เขาแล้ว
– พูดให้เห็นประโยชน์ของการมีน้อง
• ไม่เอาน้องมาขู่เด็กให้ประพฤติดี อย่าทำให้มีมีทัศนคติที่ไม่ดีกับน้อง
– “จะรักน้องมากกว่า ถ้าพี่ทำตัวไม่ดี”
– “ถ้าดื้อมากจะไม่มีใครรัก จะเป็นหมาหัวเน่า เขาจะรักน้องกันหมด”
เหตุผลดังกล่าวเกิดขึ้นจากการวิจัย และ เป็นสถิติที่เกิดขึ้นโดยส่วนมากเท่านั้น ซึ่งบางครอบครัวนั้น อาจจะเป็นไปในทางตรงข้ามได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และการเลี้ยงดูจากพ่อแม่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม พี่น้องทุกคนสามารถเป็นเสาหลัก เพื่อช่วยดูแลครอบครัวร่วมกันได้ ช่วยกันดูแลพ่อแม่ ยามแก่ชราได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่พ่อแม่ปลูกฝังความรัก ความอบอุ่น และใ ห้พี่น้องรักกันตั้งแต่เล็ก เป็นพื้นฐานดีงามเพื่อให้ลูก ๆ ได้เติบโตมาเป็นคนดีในอนาคตนะคะ
ที่มา : www.meekhao.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
วิจัยชี้ นิสัยความต่างของลูกคนโต&คนเล็กอยู่ที่ลำดับการเกิด
ผลวิจัยเผย 15 ลักษณะนิสัยเฉพาะของ “ลูกคนโต”
พี่น้องรักกัน เลี้ยงลูกยังไงให้พี่น้องรักกัน ช่วยเหลือ ดูแลกัน
https://thematter.co
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!