วิธีเลี้ยงลูกแบบสวีเดน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาดแบบไม่ต้องยัดเยียด

วิธีเลี้ยงลูกแบบสวีเดน พ่อแม่สไตล์คนสวีเดนเขาเลี้ยงลูกแบบไหน เคล็ดลับด้านการศึกษาของเด็กสวีเดน และคุณภาพชีวิตของเด็กได้ถูกเปิดเผยแล้วที่นี่

วิธีเลี้ยงลูกแบบสวีเดน

ประเทศสวีเดน เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพชีวิตที่ดีอันดับต้น ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเรื่องของสวัสดิการของรัฐ  การศึกษา การดูแลเมื่อยามชรา และที่สำคัญคือ เขาให้ความสำคัญกับเด็กเป็นอย่างมาก จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมคนในประเทศนี้ถึงมีความสุข เราลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า วิธีเลี้ยงลูกแบบสวีเดน เป็นแบบไหน เขาเลี้ยงลูกกันอย่างไรบ้าง

1. ไม่ทำโทษลูกด้วยการตี

วิธีเลี้ยงลูกแบบสวีเดน

ประเทศสวีเดน มีการบังคับใช้กฎหมายไม่ให้ครู หรือผู้ปกครองทำโทษเด็กด้วยการตี หากใครฝ่าฝืน ถือว่าคนผู้นั้นกระทำผิดกฏหมาย ซึ่งมีการบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1970 นับว่าเป็นประเทศแรก ที่บังคับใช้กฏหมายเลยก็ว่าได้ เหตุผลก็เพราะว่า ต้องการให้พ่อแม่หาวิธีสอนลูก และการลงโทษลูกแบบอื่น ที่มีผลดีต่อลูกมากกว่าการตีนั่นเองค่ะ

สาเหตุที่ไม่ควรทำโทษเด็กด้วยการตี นั่นเป็นเพราะว่า มีงานวิจัยมากมาย ที่บ่งบอกว่าการทำโทษเด็กแบนี้ ให้ผลเชิงลบมากกว่าเชิงบวก เนื่องจากมันไม่ใช่เป็นแค่การทำร้างร่างกายเท่านั้น แต่มันเป็นการทำร้ายจิตใจที่ร้ายแรงแบบฝังรากลึกลงไป ถึงแม้ว่าเด็กจะเติบโตไป

สำหรับประเทศไทย มีการถกประเด็นเรื่องการทำโทษเด็กด้วยการตีเช่นเดียวกัน ทำให้เมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้สั่งยกเลิกการลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการตี และสามารถลงโทษเด็กด้วย  4 สถาน เท่านั้น คือ 1. ว่ากล่าวตักเตือน  2. ทำทัณฑ์บน  3. ตัดคะแนนความประพฤติ 4. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมค่ะ

2. ปฎิบัติต่อเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายเท่าเทียมกัน

ประเทศสวีเดนขึ้นชื่อเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศสูงมาก ทำให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นมาในสิ่งที่ตนเองเป็น ไม่ว่าจะเป็นตัวตนและการกระทำต่าง ๆ ไม่มีการแบ่งแยกชายและหญิง ไม่มีการใช้คำนำหน้าชื่ออย่าง เด็กชาย เด็กหญิง และในโรงเรียนบางแห่ง ไม่มีแยกห้องน้ำชายหญิงด้วยเช่นกัน อีกทั้งทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายก็มักจะถูกปฏิบัติเหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมสร้างทัศนคติความเท่าเทียมกันอีกด้วย

วิธีเลี้ยงลูกแบบสวีเดน

3. ส่งลูกเข้าเดย์แคร์

เดย์แคร์ คือ สถานรับดูแลและเลี้ยงเด็กเล็ก สำหรับประเทศไทย พ่อแม่ส่วนใหญ่จะให้ปู่ย่าตายายช่วยเลี้ยง แต่ที่ประเทศสวีเดนกลับตรงกันข้าม รัฐบาลจะเข้าไปสนับสนุนให้เด็กไปใช้ชีวิตอยู่ที่เดย์แคร์ เพราะว่าต้องการให้เด็กรู้จักการเข้าสังคมตั้งแต่ยังเล็ก รวมถึงให้พ่อแม่สามารถกลับไปทำงานได้อย่างไร้ความกังวล หรือไม่ต้องเสียเงินในจำนวนที่มากเพื่อจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลลูกน้อย

วิ ธี เลี้ยง ลูก แบบ ส วี เดน

4. พ่อสามารถลาเพื่อเลี้ยงลูกได้

ในประเทศสวีเดนมีการสนับสนุนให้คุณพ่อสามารถลาเพื่อมาช่วยคุณแม่เลี้ยดูลูกได้ โดยมีระยะเวลารวมกันกัน คือ 480 วัน ส่วนคุณพ่อยังสามารถลาติดต่อกันได้นานถึง 2 เดือนอีกด้วย ตามกฎหมายแรงงาน เพื่อเป็นการผลักดันให้คุณพ่อมีความใกล้ชิดกับลูกน้อยไม่ต่างจากคุณแม่ สำหรับประเทศไทยเอง ในกรณีที่ลูกป่วย พ่อแม่ก็สามารถลาเพื่อดูแลลูกได้นานถึง 120 วันต่อปี

สำหรับประเทศไทย คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 90 วัน (นับรวมวันหยุด) ซึ่งจะได้รับจากนายจ้างเหมือนกับขณะทำงานปกติ แต่จะได้รับเพียง 45 วันเท่านั้น

5. ให้ลูกเริ่มเรียนทีหลัง

ในสวีเดน เด็กจะเริ่มเข้าโรงเรียนตอนอายุ 7 ปี ซึ่งการมีเวลาเล่นนานหลายปีของเด็ก สามารถป้องกันปัญหาความเครียดต่าง ๆ ในเด็ก และปัญหาการเรียนรู้ยาก และไม่เข้าใจในการเรียนในอนาคต

เลี้ยงลูกแบบสวีเดน

6. ปล่อยให้ลูกเล่นซนอย่างเต็มที่

พ่อแม่ชาวสวีเดนมักจะปล่อยให้ลูกได้ออกไปเล่นอย่างเต็มที่ ปล่อยให้ลูกเล่นซน เนื้อตัวเปรอะเปื้อนบ้าง ไม่กลัวว่าลูกจะล้มเป็นแผล เพราะว่าการที่ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการผจญภัย และการสำรวจสิ่งต่าง ๆ ถือว่าเป็นการเสริมสร้างสังคมให้กับเด็กนั่นเองค่ะ

ให้ลูกเล่นอย่างเต็มที่

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะได้ไอเดีย หรือเคล็ดลับ จากวิธีการเลี้ยงลูกของชาวสวีเดน มาปรับใช้กับการเลี้ยงลูก ๆ กันไหมคะ แม้ว่าเด็ก ๆ แต่ละบ้านจะมีความแแตกต่างกัน เด็กบางคนซน บางคนเรียบร้อย บางคนพูดน้อย บางคนพูดเก่ง แต่ถึงอย่างไร เด็กน้อยในวันนี้ ก็สามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าได้ทุกคนค่ะ ไม่มีอะไรจะโอบอุ้มเด็ก ๆ ได้ดีเท่ากับ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย และความใส่ใจ จากพ่อแม่ และคนในครอบครัวนะคะ

 

ที่มา: brandthink

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด กระตุ้นพัฒนาการทารก วิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อยวัยทารก เล่นกับลูกให้ฉลาด

กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก-3 ขวบ จากฮาวาร์ด พ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างไร

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน วอกแวก พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

บทความโดย

Khunsiri