สงกรานต์ ปี 2021 ทำอะไรได้บ้าง ตอนมีโรคระบาด แต่ละจังหวัดให้กักตัวกี่วัน สงกรานต์ปีนี้คงต้องงดออกไปอีกตามเคย เนื่องจากสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะแย่ลงอีกครั้ง
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สงกรานต์ปีนี้ถูกงดออกไปก่อน โดยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงการณ์ว่า การติดเชื้อระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 8 เมษายน 2564 มีผู้อยู่ระหว่างรักษา 2,114 ราย ผู้รักษาหายแล้ว 23,924 ราย และเสียชีวิตสะสม 35 ราย
สงกรานต์ ปี 2021 ทำอะไรได้บ้าง
คำถามยอดฮิต เพราะว่าปีที่ผ่านมาหลายคนก็ไม่หยุดกัน ปีนี้ได้หยุดแล้ว จะเดินทางไปต่างจังหวัดหรือกลับภูมิลำเนาก็ดูเสี่ยงไปหมด ประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณเห็นทีก็จะต้องงดกันไปก่อน
สงกรานต์ วิถีใหม่
แนวทางมาตรการเทศกาลสงกรานต์ 2564 ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งได้ออกมาตรการออกเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้
-
การจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์
ให้ประชาชนทุกคนยึดปฏิบัติแบบวิถีใหม่ หรือ New Normal โดยสามารถทำกิจกรรมที่สืบสานประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยวได้ตามปกติ แต่งดเว้นกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก และมีการพบปะกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
-
- หลีกเลี่ยงการจัดงานในพื้นที่แคบ หรือพื้นที่ห้องปรับอากาศ
- จำกัดผู้เข้าร่วม ตามขนาดของสถานที่จัดงาน 1 คนต่อ 1 ตารางเมตร
- เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร
- สวมหน้ากากอนามัยทุกคน ตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
- งดจับกลุ่ม หรือกิจกรรมเล่นสาดน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม และจัดเลี้ยงสังสรรค์
-
การขับขี่ยานพาหนะ
อย่างที่ทราบกันดีในทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์มักเกิดอุบัติเหตุมาก ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนขับขี่กันอย่างปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เมาไม่ขับ ง่วงให้พักงีบข้างทางก่อนเดินทางต่อ เช็กสภาพยานพาหนะให้พร้อมสำหรับการเดินทาง
-
การจัดกิจกรรมอื่นๆ
การจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ เช่น งานบรรพชาอุปสมบท งานมงคลสมรส และงานฌาปนกิจศพ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
-
ขอความร่วมมือเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการผ่อนปรนการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจึงขอความร่วมมือองค์กร/ หน่วยงาน ผู้จัดงานที่มีประสงค์จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ หรือกิจกรรมอื่นๆ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่สาธารณะตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
บทความที่น่าสนใจ : พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือ ยุค New normal พาลูกไปห้างยังไงให้ปลอดภัย
หากจำเป็นต้องจัดงาน ต้องทำอย่างไร
ทางกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ทราบและตระหนักถึงพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมอื่นๆ ที่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดขึ้นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงได้ออกข้อปฏิบัติออกมาเพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความปลอดภัย ห่างไกลโรคระบาด ดังนี้
- ภายในบัตรเชิญ หรือการบอกกล่าวเชิญแบบปากเปล่า ให้เจ้าภาพแจ้งผู้เข้าร่วมงานให้สวมหน้ากากอนามัยมาร่วมงานทุกคน หากมีอาการป่วย มีไข้ ไอ ขอความร่วมมือให้งดเข้าร่วมงาน
- จัดให้มีจุดคัดกรองและตรวจไข้ผู้เข้าร่วมงาน (สามารถแจ้งไปยังผู้ดูแลเขต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เข้ามาช่วยในเรื่องการคัดกรองได้) หากพบว่ามีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้พบแพทย์ทันที
- จัดให้มีการลงทะเบียน หรือบันทึก ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์
- เตรียมหน้ากากอนามัยสำรอง สำหรับผู้เข้าร่วมงานที่ลืมนำมา และมีจุดบริการแอลกอฮอล์ให้ทั่วพื้นที่บริเวณจัดงาน
- เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร
- หากมีการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมชามช้อนเดียวกัน
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ทำความสะอาด หรือจุดบริเวณที่มีผู้สัมผัส บ่อยครั้ง
- งดการแสดงดนตรี มหรสพ หรือเต้นรำทุกชนิด
- ระยะเวลาในการจัดงานควรให้สิ้นสุดไวที่สุด
- ภายหลังจบงาน ถ้าพบผู้เข้าร่วมงานป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้รีบแจ้งและจัดส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดให้กระทรวงสาธารณสุขทันที
สั่งปิดสถานบันเทิง 41 จังหวัด
เป็นไปตามคาด วันที่ 9 เมษายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศคบ.) ชุดใหญ่ได้เคาะมติออกมาแล้วว่า สั่งปิดสถานบันเทิง (ผับ บาร์ คาราโอเกะ และอาบอบนวด) ทั้งหมด 41 จังหวัด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป เป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม
- กรุงเทพฯ
- ปทุมธานี
- นนทบุรี
- นครปฐม
- สมุทรปราการ
- สมุทรสงคราม
- สมุทรสาคร
- พระนครศรีอยุธยา
- สระบุรี
- ลพบุรี
- นครนายก
- ชลบุรี
- ระยอง
- จันทบุรี
- ปราจีนบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- สระแก้ว
- สุพรรณบุรี
- กาญจนบุรี
- ราชบุรี
- ประจวบคีรีขันธ์
- เพชรบุรี
- ระนอง
- ชุมพร
- นครศรีธรรมราช
- ภูเก็ต
- สุราษฎร์ธานี
- สงขลา
- ยะลา
- นราธิวาส
- นครราชสีมา
- ขอนแก่น
- ชัยภูมิ
- อุดรธานี
- บุรีรัมย์
- เลย
- เชียงใหม่
- ลำปาง
- เชียงราย
- ตาก
- เพชรบูรณ์
สงกรานต์ ปี 2021 เดินทางไปจังหวัดอื่น กักตัวกี่วัน
สำหรับประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือพื้นที่สีแดง ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนครปฐม จะต้องกักตนเองอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน เมื่อเดินทางถึงต้องแจ้งผู้นำชุมชนหรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภายใน 12 ชั่วโมง โดยจังหวัดที่ได้มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่
- บึงกาฬ
- บุรีรัมย์
- พัทลุง
- พะเยา
- เชียงใหม่
- ขอนแก่น
- ลำปาง
- สกลนคร
- อุดรธานี
- ประจวบคีรีขันธ์
- เพชรบูรณ์
- นครราชสีมา
สำหรับผู้ที่มีประสงค์กลับภูมิลำเนา และเป็นผู้ที่ไม่ได้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูงสุด สามารถเดินทางได้ปกติ แต่ต้องหมั่นสำรวจอาการของตนเองอย่างละเอียด ถ้ามีไข้สูง หรืออาการที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส ให้เข้าพบแพทย์ทันที ใครที่วางแพลนเที่ยว หรือกำลังจะเดินทางกลับภูมิลำเนา รักษาสุขภาพ หมั่นล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาด้วยนะคะ
ที่มา : www.m-culture.go.th, www.bangkokbiznews.com, www.facebook.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!