X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่ พ่อแม่ควรทำอย่างไร

บทความ 5 นาที
ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่ พ่อแม่ควรทำอย่างไร

ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่ และกำลังบ่งบอกว่าผิดปกติด้านไหน ในบทความนี้มีคำตอบให้คุณพ่อคุณแม่

ปัญหาการ ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ควรแก้ไขอย่างไรดี อาการแบบนี้ลูกของเรากำลังผิดปกติหรือไม่ คงเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่สงสัย และต้องการหาคำตอบกันไม่น้อย บทความนี้เราขอนำวิธีการแก้ปัญหา และสังเกตลูก ๆ ดูว่า พฤติกรรมแบบไหนที่มีความผิดปกติและควรปรึกษาแพทย์

วิธีสังเกตพัฒนาการด้านการพูดของลูกน้อย

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกมีปัญหาเรื่องการพูดช้าหรือไม่ โดยให้ดูว่าการพูดของลูกนั้นสอดคล้องกับอายุแค่ไหน เช่น

  • เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 20 เดือน ควรพูดได้ประมาณ 10 – 20 คำ โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นภาษาเดียว อาจมากกว่า 1 ภาษาก็ได้
  • อายุ 2 ปี เด็กควรเริ่มพูดได้ประมาณ 50 คำ และควรพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้แล้ว หากยังไม่สามารถพูดได้อาจหมายถึง ลูกมีภาวะพูดช้า

เด็กส่วนใหญ่มักจะเริ่มพูดคำแรกเมื่ออายุประมาณ 8 – 15 เดือน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกพูดได้ตามวัย โดยใช้สื่อต่าง ๆ มาช่วย เช่น การเปิดเพลง รวมทั้งพูดกับลูกบ่อย ๆ ด้วยคำศัพท์ง่าย ๆ หากทำแบบนี้เรื่อย ๆ มีโอกาสที่ลูกจะเรียนรู้คำศัพท์ได้รวดเร็ว และอาจจดจำคำศัพท์ได้มากกว่า 50 คำ ก่อนอายุ 2 ปี

ลูกไม่ยอมพูด

สาเหตุที่ลูกพูดช้า ลูกไม่ยอมพูด

  1. การได้ยิน

ต้องสังเกตดูว่าในขณะที่พ่อแม่เรียก ลูกน้อยมีการตอบสนองต่อเสียงมากน้อยแค่ไหน โดยให้ดูระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่พูดอยู่นั้น ลูกมีการมองที่ริมฝีปากอยู่ตลอดเวลา พร้อม ๆ กับการใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารหรือไม่ หากลูกไม่มีการตอบสนอง หรือตอบสนองได้น้อยมาก นั่นอาจเป็นข้อบ่งบอกว่า ลูกน้อยของคุณมีปัญหาด้านการได้ยิน ซึ่งทำให้ไม่สามารถตอบโต้กับพ่อแม่ได้ ทั้งการพูด และการแสดงออกทางภาษากาย

  1. ออทิสติก

เด็กที่เป็นออทิสติก มักจะมีพัฒนาการด้านการพูดช้า และมีความบกพร่องทางสังคมร่วมด้วย มักจะชอบทำอะไรซ้ำๆ เล่นอะไรเดิม ๆ ไม่สนใจสิ่งอื่นรอบตัว ไม่ชอบสบตาพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่เรียกก็ไม่มีการตอบสนองใด ๆ หากพ่อแม่พบว่าลูกมีลักษณะเช่นนี้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว

  1. ความผิดปกติด้านการสื่อสาร

ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูกพูดช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันหรือไม่ หรือสามารถเข้าใจในสิ่งที่เด็กคนอื่นพูดหรือเปล่า หากลูกไม่สามารถทำได้ นั่นเป็นข้อบ่งบอกว่าลูกมีความผิดปกติด้านการสื่อสาร

ลูกไม่พูด

  1. บกพร่องการใช้ภาษาในสังคม

เด็กที่มีความบกพร่องการใช้ภาษาในสังคม คือ เด็กใช้คำพูดไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูกมีปัญหาเมื่อพูดคุยกับเพื่อน หรือคนอื่นหรือไม่ หรือว่าลูกเข้าสังคมกับเพื่อนได้หรือเปล่า เพราะปกติแล้วเด็กที่มีความบกพร่องด้านนี้ มักจะเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ไม่ค่อยได้

  1. ไม่มีความเข้าใจในการใช้ภาษา

การไม่เข้าใจภาษาเลย ถือว่าเป็นความบกพร่องที่รุนแรง เพราะเด็กไม่สามารถเข้าใจ และไม่สามารถใช้ภาษาได้ แต่ถึงแม้ว่าจะมีความน่าเป็นห่วง และคล้ายคลึงกับออทิสติก แต่ความจริงแล้วไม่ใช่โรคเดียวกัน

วิธีเสริมสร้างพัฒนาการด้านการพูดของลูกน้อย

เมื่อลูกพูด หรือออกเสียงผิดไปจากคำพูดของผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องบอกเขาให้พูดตามคำที่ถูกเสมอไป เพราะลูกยังเด็กอยู่ ควรใจเย็น ค่อย ๆ เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องให้ลูกเรียนรู้ตามพ่อแม่ เช่น เมื่อลูกพูดว่า “หนูเห็นแตว(แมว)” พ่อแม่ควรตอบไปว่า “แมวอยู่ที่ไหน แมวกำลังทำอะไรอยู่” ซึ่งเป็นวิธีย้ำให้ลูกรู้คำศัพท์ที่ถูกต้อง โดยไม่กดดันลูกตรง ๆ ให้พูดถูกต้อง

ลูกพูดช้า

หากพ่อแม่พยายามแล้ว พบว่า คำพูดของลูกยังสื่อสารได้ยาก พ่อแม่ควรใช้วิธี ดังนี้

  • ขอให้ลูกแสดงสิ่งที่เขากำลังพูดถึง เช่น ทำท่าทาง
  • ขอให้ลูกชี้ไปที่สิ่งที่เขาต้องการ หรือสิ่งของที่ลูกพูดถึง
  • กระตุ้นให้ลูกพูดช้า ๆ ปล่อยให้ลูกของคุณรู้ว่าคุณกำลังฟังอยู่ และเธอก็มีเวลาอีกมากที่จะบอกคุณ

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกไม่ยอมพูด เสียที

  • พ่อแม่ไม่ควรกดดันลูกมากเกินไป เพราะลูกจะเกิดความเครียด และไม่ยอมพูดมากกว่าเดิม
  • ให้พ่อแม่ตรวจสอบการได้ยินของลูก เพราะลูกอาจมีปัญหาการได้ยิน จึงทำให้ไม่สามารถพูดได้ และควรรีบพาไปพบแพทย์
  • พ่อแม่ต้องหัดสังเกตพฤติกรรมของลูกว่า ลูกชอบเล่นอะไร สนใจอะไร เช่น หากลูกชอบตุ๊กตา พ่อแม่อาจพูดกับตุ๊กตาตัวนั้น หรือสวมบทใช้เสียงแทนตุ๊กตา เพื่อพูดคุยกับลูก จะช่วยกระตุ้นให้ลูกเริ่มพูดได้
  • จดบันทึกพัฒนาการของลูก ในระหว่างวันคุณแม่อาจคอยดูว่าวันนี้ลูกมีการสื่อสารอย่างไร มีการพูดอ้อแอ้ไหม มีการออกเสียงอย่างไร เพื่อที่เวลาไปพบคุณหมอจะได้นำไปปรึกษาคุณหมอได้
  • อ่านหนังสือให้ลูกฟัง โดยใช้หนังสือที่มีภาพประกอบเป็นเรื่องราว เช่น หนังสือนิทาน ลูกจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ไปด้วย

 

อ้างอิง

  1. Speech (sound) disorders [Internet]. Net.au. 2020 [cited 2021 Feb 11]. Available from: https://raisingchildren.net.au/babies/development/language-development/speech-disorders
  2. Kidspot B. Late talkers: What you can do if your child is not talking yet [Internet]. Bilingualkidspot.com. 2017 [cited 2021 Feb 11]. Available from: https://bilingualkidspot.com/2017/08/29/late-talkers-what-to-do-child-not-talking/

 

บทความอื่น ๆ

พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

10 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อยากให้ลูกพูดเก่งทำอย่างไร

 

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกไม่ยอมพูด ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่ พ่อแม่ควรทำอย่างไร
แชร์ :
  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
    บทความจากพันธมิตร

    LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
    บทความจากพันธมิตร

    LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ