X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบกัด เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกกัด? พร้อมวิธีแก้ปัญหา

บทความ 5 นาที
ลูกชอบกัด เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกกัด? พร้อมวิธีแก้ปัญหา

ลูกชอบกัดคนอื่น ชอบกัดของ กัดนมแม่ระหว่างกินนม หรือกัดไหล่ กัดบ่าขณะแม่อุ้ม โดยเฉพาะในช่วงวัย 1-2 ปี เป็นพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเจอบ่อยมากค่ะ แม้จะเป็นพฤติกรรมที่ดูธรรมดาของเด็กก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลได้ เพระานานวันเข้าอาจจะกลายเป็นต้องเจอกับคำว่า ลูกชอบกัด ทำอย่างไรดี? เป็นแน่ ดังนั้น มาดูสาเหตุและวิธีแก้ปัญหากันค่ะ

 

เมื่อครั้งลูกน้อยของเรายังเป็นทารก เกิดอาการคันฟันแล้วชอบกัดสิ่งต่างๆ ก็อาจจะยังดูน่ารักน่าชังในสายตาพ่อแม่ แต่พอลูกโตขึ้นแล้วยังติดนิสัยชอบกัดอยู่ กลับดูไม่น่ารักเสียแล้ว ที่สำคัญตอนเป็นทารกแล้วชอบกัด อาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปากไม่มาก เพราะภายในช่องปากยังมีแต่เหงือก แต่ยิ่งลูกโตขึ้น ฟันเริ่มงอกออกมา การกัดสิ่งของบ่อยๆ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพฟันอย่างแน่นอน คุณแม่จึงต้องใส่ใจและหาทางลดพฤติกรรมชอบกัดของลูกให้ได้

นอกจากการชอบกัดสิ่งของแล้ว เด็กบางคนยังมีพฤติกรรมชอบ กัดคนอื่น ซึ่งไม่น่ารักเอาเสียเลย ยิ่งลูกชอบกัดมากเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกเพื่อนๆ ล้อมากเท่านั้น และการล้อนี้เองที่จะสร้างความหงุดหงิด รวมถึงกระตุ้นให้ลูกชอบกัดมากขึ้นไปอีก เกิดเป็นสัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ ก่อนลูกจะพัฒนาความรุนแรงจนเกิดเรื่องไม่ดีได้ในอนาคตนะคะ

 

 

ลูกชอบกัด เป็นเพราะอะไร?

การกัดสิ่งของคงไม่ส่งผลอะไรมาก แต่เมื่อลูกเริ่มกัดเด็กคนอื่น ๆ นี่สิ เริ่มเป็นปัญหาใหญ่แล้ว เพราะการที่ ลูกชอบกัดคนอื่น นั้นมีเหตุผลที่ต่างจากการชอบกัดของทารก ที่เกิดจากการคันเหงือกเพราะฟันเริ่มขึ้น แต่ในเด็กโตนั้นมีเหตุผลที่ต่างออกไป ได้แก่

  • ลูกรู้สึกว่าเวลากัดไปแล้วได้รับการตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นเสียงกรีดร้อง หรือการตกใจ ซึ่งการกัดของเด็กนั้นอาจไม่ได้ตั้งใจให้คนอื่นเจ็บปวด เพียงแค่อยากเห็นปฏิกิริยาของคนโดนกัดเท่านั้นเอง
  • เมื่อรู้สึกหงุดหงิด ลูกก็อาจจะแสดงพฤติกรรมโดยการกัดได้เช่นกัน นั่นก็เพราะลูกคุ้นเคยกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจด้วยการกัดมากกว่าการพูด
  • การกัดเรียกร้องความสนใจได้ เด็กบางคนจึงชอบกัดเพื่อให้คนอื่นสนใจ แม้ว่าความสนใจนั้นจะเป็นการดุด่าว่ากล่าว ก็ยังดีกว่าที่ไม่ได้รับความสนใจเลย ยิ่งรู้สึกว่าการกัดทำให้ได้รับความสนใจจากอื่นสนใจมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำพฤติกรรมนี้ไปเรื่อยๆ

 

Advertisement

สาเหตุของการกัด

  • ด้านร่างกาย จากการศึกษาวิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบกัด มาจากด้านร่างกาย คือ ฟันเริ่มขึ้น หรือหิว
  • ด้านจิตใจ เด็กมีความคับข้องใจ ไม่พอใจ หรือระบายความเครียด เนื่องจากขาดทักษะที่ดีในการสื่อสารเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ มีการเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็น แสดงความเป็นอิสระ เป็นทักษะพัฒนาการด้านสังคมอย่างหนึ่งของเด็ก

 

บทความน่าสนใจ : ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม

 

ลูกชอบกัด

 

ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นเด็กชอบกัด

  1. ถ้าลูกเริ่มรู้เรื่องแล้ว ลองสอนให้ลูกบอกความรู้สึกต่างๆ สอนให้ลูกรู้จักกับความรู้สึกโกรธ ย้ำเวลาลูกไม่พอใจว่านี่คือความรู้สึก พอลูกเริ่มเรียนรู้ ลูกจะพูดเมื่อรู้สึกไม่พอใจ แทนการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พอใจออกมา
  2. ในวันที่ลูกจะไปเล่นกับเพื่อนๆ คุณแม่ต้องเตรียมของว่างและให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะการนอนไม่พอและความหิว จะส่งผลให้ลูกเกิดความรู้สึกหงุดหงิด จนอาจเผลอไปกัดเพื่อนๆ เอาได้
  3. ใส่ใจลูกอยู่เสมอ ให้ลูกรับรู้ว่ากำลังได้รับความสนใจ ลูกก็จะไม่ใช้การกัดเพื่อเรียกร้องความสนใจ ซึ่งการแสดงออกถึงความใส่ใจให้ลูกรับรู้อยู่ตลอด จะช่วยให้ลูกรับมือกับความเครียดหรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ได้

 

ลูกชอบกัด ควรหยุดอย่างไรให้เลิก

  • อย่างแรกที่ไม่ควรทำคือ สะท้อนกลับพฤติกรรมที่ลูกแสดงออกมา ไม่ใช่ว่าลูกกัดแล้วลงโทษลูกแรงๆ หรือตอบโต้กลับในแบบเดียวกัน เพราะวิธีนั้นจะทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมรุนแรง และอาจส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในอนาคต
  • ถ้าลูกเกิดกัดใครสักคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต้องสอนให้ลูกรู้ว่าการกัดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และการกัดนั้นทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บ หากลูกโตพอจะเข้าใจ ก็เริ่มสอนให้ลูกรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำ โดยบอกให้ลูกหยุดกัดแล้วให้ลูกหายใจลึกๆ จนกว่าลูกจะรู้สึกสงบ เพื่อลดความเครียด
  • ถ้าลูกกัดเพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องลดความสนใจในตัวลูก แล้วแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจคนที่ถูกกัดแทน ขณะเดียวกัน เวลาที่ลูกเล่นกับคนอื่นๆ อย่างดี ให้ชื่นชม และแสดงออกถึงความสนใจในตัวลูก ลูกก็จะเรียนรู้ได้เองว่าควรทำสิ่งไหน

 

ลูกชอบกัด

 

7 วิธีแก้ปัญหา รับมือ ลูกชอบกัด

1. หาสาเหตุของการกัด

  • ถ้าการกัดมาจากลูกชอบสำรวจ อยากรู้อยากเห็น หรือฟันเริ่มขึ้น คุณแม่ควรให้ลูกกัดผ้าหรือยางแทน
  • ถ้าลูกกัดเพราะเบื่อหรือหิว ต้องดูแลให้กินและนอนอย่างเพียงพอ
  • ถ้ากัดเพราะลูกแย่งของกันต้องหาของให้พอเล่นหรือพอใช้ หรือสอนให้ลูกได้รู้จักแบ่งปันของกัน
  • ถ้าลูกกัดคนอื่นเพราะมีความตั้งใจ แม่ต้องพยายามให้เวลาแก่ลูก โดยการเล่น อ่านหนังสือนิทาน หรือกอดลูก

 

2. เมื่อ ลูกชอบกัดคนอื่น

  • ต้องสอนให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่ควรทำ
  • มองตาลูกและออกคำสั่งด้วยเสียงหนักแน่นว่า “ไม่กัดนะคะ” เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
  • เมื่อลูกกัดคุณแม่อย่าร้อง เพราะลูกอาจรู้สึกสนุกสนานที่เห็นคุณแม่ร้อง
  • อย่าหัวเราะกับการกระทำของลูก
  • พยายามทำตัวให้หลุดจากการกัดของลูกอย่างนุ่มนวลที่สุด

บทความน่าสนใจ : ลูกดูดนิ้ว กัดเล็บ ข้อดีของการดูดนิ้ว ทารกดูดนิ้ว ดีอย่างไร ต้องจับลูกเลิกหรือไม่ วิธีเลิกดูดนิ้ว วิธีเลิกกัดเล็บ

 

3. ตั้งกฎให้ชัดเจน 

  • คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างข้อตกลงว่า อะไรที่ลูกควรกัด หรือห้ามกัดอย่างเด็ดขาด
  • แนะนำสิ่งที่ลูกควรทำ เช่น เมื่อรู้สึกคันเหงือกให้ลูกลองเอาผ้าขนหนูมาเช็ดที่เหงือก หรือกัดได้เฉพาะของเล่นที่คุณพ่อคุณแม่เลือกแล้วว่าปลอดภัยเท่านั้น
  • เมื่อลูกกัดคนอื่น ทำให้คนอื่นเจ็บตัว ไม่ควรใช้การลงโทษที่รุนแรงต่อร่างกายและจิตใจลูก เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบและก้าวร้าวได้
  • ควรหยุดลูกด้วยคำพูดที่เรียบง่ายแต่จริงจังและเด็ดขาด เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าการกัดที่ทำให้คนอื่นเจ็บหรือเดือดร้อนนั้นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

 

4. ใช้วิธีการขอเวลานอกกับลูก

  • หาสถานที่สงบและให้ลูกนั่งเก้าอี้ตามลำพัง แต่อยู่ในมุมที่สามารถมองเห็นลูกได้
  • แนะนำว่าทันทีที่ลูกกัดว่า “ห้ามกัดนะคะ ลูกจะต้องขอเวลานอกบนเก้าอี้ตัวนี้จนกว่าจะหมดเวลา แล้วค่อยมาเล่นต่อ”
  • ถ้าลูกพยายามเรียกร้องความสนใจคุณแม่ควรวางเฉย จนกว่าเวลานอกจะหมด
  • ถ้าลูกจับขาหรือดึงเสื้อ อย่าใจอ่อน หันหน้าหนีลูกแล้วผละไปทำงานอย่างอื่น เช่น ล้างจาน หรือจัดลิ้นซัก

 

ลูกชอบกัด

 

5. สอนการแสดงออกที่ถูกให้ลูก

  • คุณแม่ควรสอนให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ถูก
  • ถ้าลูกต้องการแสดงความรักให้ใช้การกอดแทนการกัด
  • สัญญาณการหยุดโดยการยกมือห้ามหรือใช้การดันไหล่เพื่อนเบาๆ ถ้าลูกโมโหมากให้บอกคุณแม่ หรือบอกครู

 

6. ชมเชยลูก

  • เมื่อสอนลูกแล้ว และลูกเริ่มมีพฤติกรรมการกัดอาจน้อยลงหรือไม่มีอีกเลย พ่อแม่ก็ควรจะชมลูกบ้าง
  • การที่พ่อแม่ชื่นชมลูก เขาจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และความภูมิใจตรงนี้จะเป็นการละลายพฤติกรรมนี้ได้
  • คุณแม่ควรใจเย็น ช่วยเหลือลูก และให้กำลังใจลูก

 

7. ปรึกษาคุณแพทย์

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ เช่น พยายามอย่างไรลูกก็ยังชอบกัด หรือยิ่งห้ามลูกยิ่งมีพฤติกรรมต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ยังไม่สามารถแก้ให้ตรงจุดได้ การขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางออกที่ดี เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ลูกมีพฤติกรรมที่รุนแรงและแก้ไขยากมากขึ้นได้ค่ะ

ลูกชอบกัดของเล่น

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

อย่างไรก็ดี เวลาที่ลูกเล่นกับเด็กอื่นๆ ในสนามเด็กเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรจะสังเกตลูกอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกแสดงออกอย่างเหมาะสม เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นและมีความสนใจในเรื่องอื่นๆ ก็จะเลิกพฤติกรรมชอบกัดไปได้เอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมื่อลูกชอบกัด ไม่ต้องสงสัยเลยว่านิสัยชอบกัดเป็นพฤติกรรมที่พ่อแม่ขยาดที่สุด

วิธีทำให้ลูกหยุดกัดเล็บ วิธีที่จะช่วยหลอกล่อให้เด็ก เลิกกัดเล็บ

 

ที่มา : (bellybelly) (rakluke) (Bangpakok Hospital)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูกชอบกัด เพราะอะไร ทำยังไงให้ลูกเลิกกัด? พร้อมวิธีแก้ปัญหา
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว