X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา

บทความ 5 นาที
วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหาวิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา

การลงทำโทษที่ใช้วิธีรุนแรงด้วยการเฆี่ยนตียิ่งว่าหนักแล้ว แต่ยิ่ง ตะคอกลูก ตะโกนใส่ หรือใช้คำพูดเจ็บ ๆ แรง ๆ ถือเป็นลงโทษด้วยวาจาที่ทิ่มแทงหัวใจลูก ส่งผลต่อจิตใจ และความรู้สึกของลูกเข้าไปได้อีกนะคะ

พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ชอบ ตะคอกลูก ว่ากล่าวด้วยคำหยาบคาย พูดไปแบบไม่คิด มีผลการศึกษาพบว่า การลงโทษลูกด้วยวาจาลักษณะนี้ จะทำให้ลูกโตขึ้นมากลายเป็นเด็กมีปัญหา มีพฤติกรรมที่ชอบโกหก ลักขโมย และเป็นเด็กก้าวร้าว เกเร ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนที่โรงเรียนได้นะคะ

วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ยิ่งทำให้เด็กมีปัญหา

ตะคอกลูก

ดอกเตอร์หมิง ที หวัง รองศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาการศึกษา ของมหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์ก สหรัฐอเมริกากล่าวถึงผลการศึกษาในเรื่องนี้จากกลุ่มพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริการาว 976 ครอบครัว พบว่ามีพ่อแม่จำนวนมากที่ใช้วิธีตะโกนดุด่าว่ากล่าวลูกเสียงดัง ใช้คำที่ทำร้ายความรู้สึกลูก โดยเด็กที่ถูกลงโทษด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ จะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้มากกว่าเด็กที่ไม่เคยถูกพ่อแม่ตะคอกใส่หรือว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น อายุ 13-14 ปี ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

ดอกเตอร์หมิงกล่าวเพิ่มว่า แม้จะเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ลูกสนิทกัน แต่ความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่าการดุด่านั้นเกิดจากความรัก ความหวังดีกับลูก และเข้าใจว่าลูกจะเข้าใจในเรื่องที่พ่อแม่ดุ แต่จริง ๆ แล้วการกระทำแบบนี้นี่แหละที่จะส่งผลร้ายต่อตัวลูกทั้งทางจิตใจ รวมถึงก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีจากพ่อแม่ได้

ตะคอกลูก

มีงานวิจัยระบุว่า การที่พ่อแม่ตะคอกหรือตะโกนใส่ลูกนั้น ในระยะสั้นจะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัยและหวาดกลัว ส่วนระยะยาวนั้นการที่พ่อแม่ดุด่าหรือตะคอกใส่บ่อย ๆ เด็กที่โตขึ้นมากับคำพูดแบบนี้หรือการดูถูก จะส่งผลทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวมากขึ้น ทั้งการแสดงออกผ่านท่าทางและคำพูด รวมถึงกลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พ่อแม่เป็นผู้ถ่ายทอดพฤติกรรมผ่านลูกนั่นเอง

วิธีลงโทษลูกเมื่อลูกทำผิดด้วยคำพูดด่าทอ ตะคอกใส่ หรือใช้ความรุนแรงจึงไม่ใช้วิธีที่ถูกต้องที่สุดสำหรับการเลี้ยงลูกให้เติบโตมาเป็นเด็กดีนะคะ การคุยกับลูกที่ดีโดยไม่ใช้อารมณ์ สอนและคุยกันด้วยเหตุผล ใช้ถ้อยคำที่นุ่มนวล ชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่จะตามมาให้ลูกได้เข้าใจ จะเป็นวิธีที่ดีกว่า ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ผลเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นกับลูกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่าเผลอไปใช้อารมณ์ระเบิดใส่ลูกเด็ดขาดจ้า!

เมื่อลูกทำผิด แนวทางการลงโทษที่จะทำให้ลูกได้เรียนรู้จากความผิดพลาด

ข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ในการใช้เมื่อลูกทำความผิด ทำให้การลงโทษกลายเป็นการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อตัวเด็ก

  • อธิบายกฎให้เขาเข้าใจ

เด็กจำเป็นต้องเข้าใจว่าคุณคาดหวังอะไรจากตัวเขา และทำไมคุณจึงห้ามไม่ให้เขาแสดงพฤติกรรมที่คุณไม่ต้องการ การพูดคุยกับลูกอย่างมีเหตุผล จะช่วยให้ลูกเข้าใจและสามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองในอนาคตได้ และเมื่อคุณตั้งกฎอะไรขึ้นมา ก็ควรอธบายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกฎเหล่านั้นให้เขาเข้าใจด้วย

  • ลงโทษทันทีที่ลูกทำผิด

การลงโทษจะได้ผลก็ต่อเมื่อคุณลงโทษลูกทันทีที่เขามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถ้าคุณปล่อยให้เวลาล่วงเลยนานเกินไป เด็กจะลืมและไม่เข้าใจว่าเขาทำอะไรผิด ไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเขาจึงถูกลงโทษ

  • เด็ดขาดแต่อย่าฉุนเฉียว

เมื่อคุณห้ามไม่ให้เขาทำอะไรที่คุณไม่ต้องการ คุณควรห้ามลูกด้วยเสียงดังฟังชัดว่า “อย่า” หรือ “หยุดนะลูก” ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการห้ามปรามด้วยเสียงที่อ่อนโยน เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า เด็กจะตอบสนองต่อการร้องขอที่ชัดเจน มากกว่าการเตือนที่นุ่มนวล

วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา

อย่างไรก็ตามไม่ควรลงไม้ลงมือ หรือใช้คำพูดหยาบคายและแสดงอาการฉุนเฉียว เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ลูกกลัวคุณ ลนลาน และจะกลายเป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกได้ หากคุณเผลอตีลูก เด็กจะเห็นว่าคุณควบคมตนเองไม่ได้ เข้าจะมีความเข้าใจผิดๆว่า การใช้กำลังเป็นวิธีการบังคับให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ตนต้องการได้ จริงอยู่ว่าลูกอาจจะกลัวและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นตามที่คุณต้องการ แต่เขาก็จะขุ่นเคืองและเอาวิธีการใช้กำลังของคุณเป็นเยี่ยงอย่างในที่สุด

  • ลงโทษลูกอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

ในเวลาที่ลูกทำผิด คุณควรลงโทษเขาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย หากเขาทำความผิดบางอย่าง บางครั้งคุณทำโทษ แต่บางครั้งก็ปล่อยไปไม่ลงโทษ การกระทำในลักษณะนี้จะทำให้การลงโทษในวันข้างหน้าไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะนั่นเท่ากับว่าคุณกำลังให้รางวัลกับเขาทุกครั้งที่เขาทำความผิดแต่รู้จักเอาตัวรอดไม่โดนทำโทษได้ การลงโทษลูกอย่างไม่เสมอต้นเสมอปลาย ยังจะทำให้เด็กเล็กๆ รู้สึกสับสนอีกด้วยเนื่องจากเด็กเล็กๆ จะรู้สึกมั่นคงมากกว่าหากเขาคุ้นเคยกับกฎในบ้าน

  • เมื่อต้องการให้ลูกทำอะไรควรใช้ประโยคคำสั่ง ไม่ใช่ประโยคคำถาม

หากคุณต้องการให้ลูกเชื่อฟัง คุณจะต้องออกคำสั่งที่ชัดเจน ไม่ใช่เป็นการร้องขอลูก เช่น แทนที่คุณจะบอกลูกว่า “ช่วยหยุดทุบโต๊ะหน่อยได้มั้ยจ๊ะลูก” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกปฏิเสธคุณ คุณควรที่จะบอกเขาว่า “หยุดทุบโต๊ะน่ะลูก” โดยบอกกับลูกด้วยเสียงดังฟังชัด เด็กจะได้รู้ว่าเขาต้องทำตามในสิ่งที่พ่อแม่บอกเขา และในทำนองเดียวกัน อย่าพูดในเชิงขอร้องให้ลูกทำเพื่อพ่อแม่ เพราะลูกจำเป็นต้องเชื่อฟังคุณโดยที่ทั้งคุณและลูกไม่ต้องรู้สึกว่าเป็นการขอร้อง

  • ให้รางวัลลูกบ้างเมื่อเขาทำตามที่คุณสอน

คุณควรให้รางวัลที่เหมาะสมเมื่อเขาทำตามที่คุณบอก แต่ไม่ใช่ว่าให้พร่ำเพรื่อจนเป็นการติดสินบน ให้เหตุผลที่ดีกับเขาว่าทำไมเขาถึงควรทำตามที่คุณบอก ตัวอย่างเช่น แทนที่จะออกคำสั่งเฉย ๆ ว่า “ไปนอนได้แล้ว”  อาจจะบอกว่า ” ไปนอนได้แล้วนะลูก เดี๋ยวแม่จะเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน”

  • แสดงให้ลูกรู้ว่าคุณรักเขาเวลาที่คุณลงโทษเขา

เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกจะต้องเห็นว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่รักเขา ไม่ใช่เป็นผู้คุมกฎที่เกรี้ยวกราด ภายหลังจากที่คุณลงโทษเมื่อเขาทำผิด คุณควรแสดงให้เขารู้ว่าคุณยังรักเขา เพียงแต่พฤติกรรมที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่คุณไม่ชอบ และไม่ต้องการให้เขาทำอีกต่อไป

  • ชมเชยเมื่อเขาทำในสิ่งที่ถูกที่ควร

การลงโทษเมื่อลูกทำผิด ต้องกระทำควบคู่ไปกับการชมเชยเมื่อเขาทำในสิ่งที่ถูกที่ควร คุณควรพยายามที่จะกล่าวชมลูกเมื่อเขามีพฤติกรรมตามที่คุณต้องการ ลูกจะทำในสิ่งที่ถูกที่ควรเหล่านั้นมากขึ้น เมื่อคุณรับรู้และชมเชยเขาอยู่เสมอ

  • อย่าเขย่าลูกด้วยความรุนแรง

ในแต่ละปีจะมีเด็กทารกและเด็กเล็กจำนวนนับพันคน ที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองและเสียชีวิต เนื่องมาจากการถูกเขย่าด้วยความรุนแรง เด็กที่อายุ 5 ขวบ อาจมีอาการที่เกิดจากการโดนเขย่าอย่างรุนแรง แต่ทารกที่มีอายุระหว่าง 2-4 เดือน จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ประมาณกันว่า  1 ใน 4 ของทารกที่ถูกเขย่าจะบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่สุด ส่วนเด็กที่มีชีวิตรอดมาได้ก็อาจจะตาบอด เนื่องจากมีเลือดคั่งในสมองหรือดวงตา หรือได้รับความกระทบกระเทือนในสมอง เช่น ปัญญาอ่อน เป็นอัมพาต เป็นลมชักกระตุก อีกทั้งมีปัญหาการฟังและเรียนรู้เมื่อโตขึ้น

ที่มาข้อมูล หนังสือวิธีฝึกเด็กให้ฉลาดและเก่งตั้งแต่แรกเกิด ถึง 3 ขวยด้วยตัวคุณเอง


อ้างอิง :

www.prachachat.net

www.facebook.com/basicskillth

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

วิจัยชี้ เด็กคนไหน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ประสบความสำเร็จ ลูกเจริญแน่ในชีวิต

วิจัยชี้ 7 ลักษณะที่เข้าข่ายว่าลูกคุณ "ฉลาดกว่า" คนอื่นได้

parenttown

บทความจากพันธมิตร
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา
แชร์ :
  • ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

    ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

  • ลูกมีปัญหา เพราะพ่อแม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกไม่เป็นจริงหรือ

    ลูกมีปัญหา เพราะพ่อแม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกไม่เป็นจริงหรือ

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

app info
get app banner
  • ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

    ข้อเสียเลี้ยงลูก สปอยล์เกินไป VS เลี้ยงลูกแบบไม่ให้

  • ลูกมีปัญหา เพราะพ่อแม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกไม่เป็นจริงหรือ

    ลูกมีปัญหา เพราะพ่อแม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกไม่เป็นจริงหรือ

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ