เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กนอนหลับไม่สนิท หรือภาวะหลับยากในเด็ก (Sleep problems in children) สามารถพบเจอได้ในเด็กทั่วไปทั้งจากความผิดปกติของร่างกาย และอาจเกิดจากนิสัยของเด็กเอง หากแก้ไขได้ถูกวิธีเด็กจะค่อย ๆ หายจากภาวะนี้ได้ในที่สุด แต่ต้องพึ่งการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อที่จะเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของเด็กที่ทำให้เกิด “ภาวะหลับยากในเด็ก”

 

ทำไม เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร

ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือสภาพสิ่งแวดล้อม หากไม่หาวิธีแก้เด็กอาจติดนิสัยการนอนดึก นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กเอง และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอีกด้วย

 

เด็กนอนไม่หลับจากปัจจัยการเจ็บป่วยทางกาย

  • เด็กอาจมีอาการหวัดจากภูมิแพ้ : เด็กจะมีอาการคัดจมูก หายใจไม่ค่อยออก มีอาการคัน และมีน้ำมูก เกิดจากการแพ้อากาศ อาจต้องทานยาเพื่อให้อาการเบาลง แต่ยาบางชนิดอาจยิ่งส่งผลให้เด็กนอนไม่หลับจากฤทธิ์ยา  
  • หูชั้นกลางอักเสบ : อาการป่วยที่พบได้มากในเด็กคือหูชั้นกลางอักเสบ อาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่สบายหู ยากต่อการนอนหลับ อาจเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้เช่นกัน
  • โรคด้านผิวหนังส่งผลต่อการนอน : เด็กอาจป่วยเป็นโรคผิวหนังอักเสบ, อาการแพ้ผิวหนังในเด็ก ทำให้เกิดอาการคัน หรือเป็นผลข้างเคียงจากการรักษา หากเด็กเป็นโรคนี้จะทำให้มีโอกาสสูงที่จะทำให้หลับยากกว่าเด็กทั่วไป
  • อาการป่วยทั่วไป และโรคอื่น ๆ : อาการเป็นหวัดธรรมดาทั้งเป็นแล้วหาย หรือเป็นเรื้อรังบ่อยครั้ง ไปจนถึงโรคบางโรค เช่น โรคหืด โรคกรดไหลย้อน หรือโรคเบาหวานในเด็ก เป็นต้น โรคเหล่านี้จะทำให้เด็กหลับได้ยากจากอาการป่วย หรือฤทธิ์ยาที่ใช้รักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความสำคัญในการนอนของเด็ก มีอะไรบ้าง ทำยังไงให้ลูกหลับสบายหายห่วง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กนอนไม่หลับจากสภาวะทางจิตใจ และระบบประสาท

  • เด็กอาจคิดมากจนทำให้หลับยาก : ถึงจะยังเป็นเด็ก แต่การมีปัญหากวนใจก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน เด็กอาจรู้สึกไม่สบายใจ มีเรื่องกังวลทำให้ไม่อยากนอน เช่น โดนผู้ปกครองดุก่อนนอน ทะเลาะกับพี่น้อง หรือกังวลเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิด เช่น พรุ่งนี้ต้องไปหาหมอ เป็นต้น
  • อาจมีปัญหาที่ระบบประสาท : เด็กนอนไม่หลับหรือหลับยาก บางคนอาจเกิดจากปัญหาของระบบประสาท ที่มีการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้มีอาการชัก หรืออาการเกร็งกล้ามเนื้ออย่างควบคุมไม่ได้ในตอนกลางคืน
  • เด็กมีสมาธิสั้น : เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม หากเด็กมีสภาวะสมาธิสั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการเกิดภาวะหลับยากในเด็กได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดอาการหยุดหายใจ หนึ่งในสภาวะอันตรายที่เกิดขึ้นขณะเด็กหลับ

 

สภาวะหลับยากในเด็กจากปัจจัยอื่น ๆ

  • สภาพแวดล้อมในการนอน : การที่เด็กนอนหลับยาก ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมในห้องนอน หรือพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น เสียงดังมากเกินไปไม่ว่าจะเสียงพูดคุย เสียงเพลง หรือเสียงทีวีจากห้องอื่นที่ดังมากเกิน ไปจนถึงอุณหภูมิห้องที่ไม่เหมาะสมร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ควรให้ห้องมีอุณหภูมิประมาณ 24-26 องศาเซลเซียส
  • จากยาที่เด็กทานเพื่อรักษาโรค : ตัวยาบางชนิดส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น กลุ่มยารักษาอาการชัก, กลุ่มยาขยายหลอดลม เป็นต้น เนื่องจากยาเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทของเด็ก ทำให้หลับยากมากยิ่งขึ้น
  • อุปนิสัยของเด็กเอง : เด็กอาจไม่ได้มีปัญหาทั้งทางร่างกาย หรือจิตใจ แต่สภาวะหลับยากในเด็กอาจมาจากเด็กเองที่ไม่ชอบนอน หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้สามารถหลับได้ง่ายขึ้น โดยอาจติดนิสัยมาตั้งแต่ช่วงที่เด็กยังเล็กมาก ๆ นั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผลเสียที่ตามมาเมื่อเด็กนอนหลับยากกว่าปกติ

เด็กนอน ไม่พอจากภาวะหลับยากในเด็กสามารถส่งผลเสียหลายประการทั้งในระยะสั้น เช่น การเกิดโรคต่าง ๆ หรือพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กปกติ ไปจนถึงผลกระทบระยะยาว เช่น การติดเป็นนิสัยไปจนโตทำให้รักษา หรือแก้ไขได้ยากมากยิ่งขึ้น

  • ผลเสียด้านพัฒนาการ : เด็กนอน ไม่สนิทหรือหลับยากจนเป็นภาวะหลับยากในเด็ก ส่งผลเสียโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็ก ในช่วงก่อนเข้าเรียนพัฒนาการด้านการเรียนรู้สำคัญมาก หากเด็กนอนหลับยาก แต่ต้องตื่นเช้าจะทำให้เด็กง่วงในตอนกลางวันส่งผลต่อโกรทฮอร์โมนโดยตรง และการเรียนรู้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • การทำงานของสมอง : เด็กก่อนเข้าเรียนต้องการเวลานอนประมาณ 11 ชั่วโมงต่อวัน หากนอนน้อยกว่าที่กำหนดบ่อยครั้ง จะส่งผลต่อการทำงานของสมองสังเกตได้จากการที่เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ไม่ค่อยมีสมาธิ หรือคิดช้า ทำช้า เป็นต้น
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง : ในระหว่างที่เด็กนอน ร่างกายจะทำการหลั่งสารอินเตอร์ลิวคิน-1 (interleukin-1) เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน หากจำนวนชั่วโมงการนอนของเด็กน้อย อาจทำให้กระบวนการดังกล่าวมีปัญหาส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง
  • เสี่ยงโรคมากขึ้น : โดยเฉพาะโรคเบาหวานในเด็ก และโรคอ้วน เนื่องจากการนอนหลับจะทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ อาจทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น หากไม่มีคนควบคุมดูแล เด็กอาจกินแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิจัยชี้! เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การแก้ปัญหา เด็กนอน ไม่สนิท เลี่ยงภาวะหลับยากในเด็ก

ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มการแก้ปัญหาภาวะหลับยากในเด็ก ต้องทำการหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าวเสียก่อน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด แต่อย่างไรก็ตามการฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมการนอนที่ถูกต้องยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป 

  • ฝึกอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้องให้ลูก : การฝึกให้ลูกปฏิบัติตัวให้ถูกต้องก่อนนอนเป็นพื้นฐานที่สำคัญเนื่องจากเมื่อลูกโตขึ้นเขามักจะจดจำสิ่งที่ตัวเองทำเป็นประจำ ได้แก่ การให้อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าที่สบาย และนอนให้เป็นเวลาในทุก ๆ วัน
  • คอยพูดคุยกับเด็กเมื่อมีโอกาส : บางครั้งเด็กอาจมีเรื่องกังวลใจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนอนได้ การคอยถามไถ่ถึงความรู้สึก หรือเมื่อสังเกตว่าลูกไม่สบายใจให้เข้าไปพูดคุยแนะนำอย่างเป็นกันเอง เพื่อให้เขาผ่อนคลาย และไม่ต้องเก็บไปคิดต่อในเวลานอน
  • สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอน : เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ควรปรับแก้ให้เด็กได้หลับได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นเสียงทีวีให้ลดน้อยลง การไม่เปิดเพลงดัง และปรับอุณหภูมิในห้องให้พอดี เป็นต้น
  • ระวังเรื่องอาการเจ็บป่วย : คอยสังเกตอาการเจ็บป่วยของลูก หากพบอาการที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหูชั้นกลางอักเสบ รวมไปถึงอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรรีบพาไปหาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา รวมไปถึงการจัดเก็บของภายในบ้านที่เป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อโรคต่อเด็ก ไม่ให้เด็กสามารถหยิบไปเล่นได้

 

หากอาการของเด็กหนักขึ้น หรือพบเจออาการป่วยที่รุนแรง ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีอันตรายอย่างมากต่อตัวของเด็กเอง

 

ที่มาข้อมูล : 1 Bangkok Hospital Phitsanulok

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ

การนอนกลางวันช่วยพัฒนาความจำของเด็ก

ลูกนอนหลับดีตลอดคืน จะส่งผลต่อสมองและพัฒนาการร่างกายอย่างไร

การนอนของเด็ก แต่ละช่วงวัย ตั้งแต่ทารกจนวัยเรียน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ ห้ามทำกับลูก

บทความโดย

Sutthilak Keawon