จับซาไท้เป้า ไขข้อข้องใจยาสมุนไพรจีนบำรุงครรภ์จริงหรือไม่?

จับซาไท้เป้า ไขข้อข้องใจยาสมุนไพรจีนบำรุงครรภ์จริงหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จับซาไท้เป้า โบราณบอกว่ายาสมุนไพรจีนนี้จะช่วยเรื่องบำรุงครรภ์จริงหรือไม่? หากคุณเกิดมาในครอบครัวคนจีน หรือเป็นสะใภ้บ้านคนจีนคงเคยได้ยินชื่อนี้กันมาบ้างแล้ว แต่สมุนไพรเหล่านี้สามารถช่วยเรื่องของการบำรุงครรภ์ได้จริงหรือไม่ อันนี้เราต้องมาดูกัน

 

ความเชื่อเกี่ยวกับการบำรุงครรภ์จากมุมมองของแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนเชื่อว่า กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของภาวะแท้งคุกคาม หรือมีเลือดออกบริเวณช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องของการตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ แต่หากผ่านช่วงไตรมาสแรกไปได้ ร้อยละ 90 ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นจะมีความเสี่ยงลดลง เว้นแต่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป โดยการตั้งครรภ์บุตรในช่วงไตรมาสแรกส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งบุตรมาจากการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม และความบกพร่องของท่อประสาท (Neural tube defect : NTDs) ปากแหว่งเพดานโหว่ ความผิดปกติของกระบวนการสร้างและสลาย หรือเมแทบอลิซึม ที่มีผลทำให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั่นเอง รวมทั้งยังรวมถึงความผิดปกติของมดลูกที่สามารถนำไปสู่การแท้งบุตรได้

 

การนำสมุนไพรมาใช้ในการบำรุงครรภ์มีผลดี ผลเสียอย่างไร

การใช้สมุนไพรในการรักษา หรือบำรุงครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติในภูมิภาค และประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก โดยมีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าประเทศแถบตะวันออกมักใช้ยาสมุนไพรในการบำรุงครรภ์มากถึง 82.2 เปอร์เซ็นต์ และระบุไว้ว่าสมุนไพรในการบำรุงครรภ์จะถูกใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 3 ซึ่งสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เป็นอันดับ 1 ก็คือขิง นั่นเอง และที่มีการใช้สมุนไพรในการบำรุงครรภ์เป็นจำนวนมากนั้นมีสาเหตุมาจากเรื่องของความปลอดภัย โดยเชื่อว่ายาที่ได้มาจากธรรมชาติ ไม่ได้ผ่านกรรมวิธี หรือกระบวนทางวิทยาศาสตร์นั้นส่งผลเสียต่อร่างกายน้อย อีกทั้งการได้ทานยาสมุนไพรนั้นสามารถรับสารอาหาร หรือคุณประโยชน์ของตัวยาได้โดยตรง

บทคววามที่น่าสนใจ : วิธีดูแลลูกในท้องให้แข็งแรง การดูแลทารกในครรภ์ บำรุงครรภ์ คนท้องดูแลตัวเอง อย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จับซาไท้เป้า คืออะไร

จับซาไท้เป้า หรือสมุนไพรแบบรวมที่มีสรรพคุณมากมายสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่หาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพรจีนทั่วไป โดยจับซาไทเป้านั้นได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจะนิยมทานกันในช่วงของไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือจะทานช่วงเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ และเว้นการทานไป 2 เดือน และเริ่มกลับมาทานอีกครั้งในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะคลอดลูก สำหรับใครที่มีเชื้อสายจีน หรือเป็นสะใภ้จีนต่างก็ต้องเคยผ่านจับซาไท้เป้ากันมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งจับซาไท้เป้า ประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญถึง 13 ดังนี้

  • ตังกุย (โกฐเชียง) หนัก 1 สลึง 1 เฟื้อง : ช่วยในเรื่องของปรับการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดลมสูบฉีดได้แก้ ป้องการและลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างตั้งครรภ์
  • ชวงเกียง หนัก 1 สลึง 1 เฟื้อง : กระตุ้นเลือดให้หมุนเวียนได้ดี และยังช่วยส่งเสริมในเรื่องของพลังไหลเวียนภายในร่างกายอีกด้วย
  • กำเช้า (ชะเอมเทศ) หนัก 5 หุน 1 เฟื้อง : บำรุงม้าม และช่วยเสริมชี่ หรือพลังชีวิตที่ไหลเวียนไปมาในร่างกายเป็นรูปแบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต (ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน)
  • โก้วซี หนัก 1 สลึง 1 เฟื้อง : บำรุงไต ตับ และม้าม อีกทั้งยังช่วยเสริมพลังหยิน หรือธาตุเย็นในร่างกายของเรา
  • แปะเจี้ยก หนัก 2 หุน 1 เฟื้อง : ช่วยในเรื่องของการกระจายตัวของเลือดที่คั่ง และแก้การเกิดเชื้อราในช่องคลอด
  • เหี่ยเฮี๊ยะ หนัก 7 หุน : ช่วยเรื่องการแข็งตัวของลิ่มเลือด และป้องกันการแท้ง
  • ขวนผก หนัก 8 หุน : ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเสีย เบื่ออาหาร และท้องเสีย
  • เกียงอั๊ว หนัก 5 หุน : แก้อาการกล้ามเนื้อเกร็ง และการเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของสารอาหารในเลือด อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการหวัดได้อีกด้วย
  • จี้ชัก หนัก 1 สลึง : แก้อาการแน่นหน้าอก พะอืดพะอม อาเจียน และแก้ไจที่มีเสมหะเป็นจำนวนมาก
  • ชวนป๋วย หนัก 1 สลึง : ช่วยเรื่องของการขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอ
  • ปักคี้ หนัก 8 หุน : แก้อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และบำรุงเสริมกำลังชี่
  • เก็งไถ่ หนัก 8 หุน : เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ และสามารถใช้ในการห้ามเลือดได้
  • เชเกีย หรือขิงแก่สด 3 แผ่น : แก้ไอ ขับลม และให้ความอบอุ่นแก่ช่วงท้อง

บทความที่น่าสนใจ : 10 เมนูอาหารเช้าคนท้อง ไม่อ้วน แถมมีประโยชน์ ได้สารอาหารครบ บำรุงครรภ์

 

จับซาไท้เป้า มีสรรพคุณในการบำรุงครรภ์ และทารกในครรภ์ (ภาพโดย 4045 จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการต้ม จับซาไท้เป้า

หากคุณซื้อจับซาไท้เป้ามาจากร้านขายสมุนไพรจีน คุณสามารถถามวิธีรับประทานกับคนขายได้ โดยการต้นจับซาไท้เป้านั้นมีสูตรที่ตายตัว และเป็นเหมือนกันทั่วโลก โดยมีวิธีการต้ม ดังต่อไปนี้

  1. นำสมุนไพรที่ได้จากร้านมาล้างก่อน 1 รอบ (เนื่องจากเป็นสมุนไพรจีนที่แห้ง อาจมีผงหรือฝุ่นติดอยู่)
  2. นำหม้อมาตั้งน้ำ 600 มิลลิลิตรด้วยไฟแรง และเมื่อน้ำเดือนให้เปลี่ยนมาใช้ไฟกลาง
  3. ใส่สมุนไพรทั้งหมดลงไป สังเกตขิงที่ได้มาจากในห่อยาก หากเป็นขิงแห้งให้นำออก และใส่ขิงสดแก่เข้าไปแทน
  4. ต้มยาด้วยไฟกลางจนกว่าน้ำจนแห้งเหลือ 1 ใน 3 จากของเดิม
  5. เมื่อได้ยาได้ที่แล้วสามารถรินทานได้เลย โดยจะต้องรับประทานตอนที่ยังอุ่นอยู่ (เนื่องจากเป็นสมุนไพรจึงทำให้มีรสชาติที่ฝาด และขม คุณสามารถใส่น้ำผึ้งลงไปผสมได้เล็กน้อย)
  6. เก็บกากยาที่ต้มไว้ต้มได้อีก 1 ครั้ง โดยปกติแล้ว ยา 1 ห่อสามารถต้มได้ 2 ครั้ง และรับประทานได้ 1 วัน โดยจะทาน 15 วันต่อ 1 ห่อ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สรรพคุณของจับซาไท้เป้า

จับซาไท้เป้า มีสรรพคุณในการบำรุงครรภ์ และทารกในครรภ์ โดยส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการป้องกันไม่ให้เกิดอาการไข้ ไอ การหมุนเวียน และพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์ตามศาสตร์ตำราของแพทย์แผนจีน อีกทั้งทำให้ระบบการย่อยอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะพบกันมาให้มีทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น การไล่ลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น

 

 

ถึงแม้ว่าการทานยาสมุนไพรที่มีประวัติการทานมาอย่างยาวนานอย่างจับซาไท้เป้า ซึ่งมีสรรพคุณในเรื่องของการบำรุงครรภ์แล้วนั้น ก่อนที่คุณแม่จะตัดสินใจทาน หรือไปหาซื้อมาลองทานควรศึกษาข้อมูล และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะ เพื่อความปลอดของตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อีกทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยในครรภ์ เคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เพราะการทานยาเพียงอย่างเดียวคงช่วยให้ลูกของเรามีสุขภาพที่ดีไม่ได้ และการพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นเรื่องที่สำคัญ อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 อาหารของคนท้องไตรมาสที่3 ไตรมาสที่3ควรทานอะไร บำรุงครรภ์

น้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

ที่มา : 1, orientalmed