สมัยก่อนผู้หญิงมักจะคลอดลูกเองที่บ้าน แต่ด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ คลอดลูกเองที่บ้าน จึงไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป โดยคุณหมอจะแนะนำ ให้มาคลอดที่โรงพยาบาลหรือถ้าเป็นต่างจังหวัด ก็อาจจะเป็นที่สถานีอนามัยแทน แต่ก็ยังมีผู้หญิงอีกหลาย ๆ คนที่ต้องการคลอดลูกเองที่บ้านมากกว่า
การคลอดลูกเองที่บ้านในประเทศไทย
โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะไม่ค่อยเห็นการคลอดลูกเองที่บ้านในประเทศไทย คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะไปคลอดที่โรงพยาบาลมากกว่า อาจเพราะความสะดวกของอุปกรณ์และสถานที่ แต่ก็อาจมีบ้างเคสฉุกเฉินที่คุณแม่คลอดลูกเองที่บ้าน ในขณะเดียวกันโดยเฉพาะทางยุโรป การคลอดลูกเองที่บ้านและการคลอดลูกในน้ำ ถือเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก งานวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ได้เผยว่า ผู้หญิงที่คลอดลูกเองที่บ้าน มีแนวโน้มที่จะมีโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้หญิงที่ไปคลอดที่โรงพยาบาล
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า ผู้หญิงที่เคยมีลูกมาก่อนและคลอดลูกในบ้าน 1,000 คน จะมีเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น ที่มีความเสี่ยงร้ายแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล ขณะที่ผู้หญิงที่คลอดในโรงพยาบาล 1,000 คน จะมี 2.3 คนที่มีความเสี่ยงร้ายแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล อาจสรุปได้ว่าการคลอดลูกเองที่บ้าน มีความเสี่ยงน้อยกว่าการคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เมื่อใดที่จะคลอดลูกเองที่บ้านได้
การคลอดที่บ้านเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงที่ความพร้อมทางด้านร่างกาย และสถานที่ในการคลอดบุตร โดยคุณแม่ควรมีความพร้อมดังนี้
- มีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความเสี่ยงต่ำ
- มีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแล
- วางแผนห้องและจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ไว้พร้อมใช้งาน
- บ้านที่จะใช้เป็นสถานที่คลอดตั้งอยู่ใกล้โรงพยาบาล เผื่อในกรณีฉุกเฉิน จะได้ส่งตัวคุณแม่ไปยังโรงพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้าง แม่ท้องคลอดลูกเองควรเลือกท่าอะไรดี?
เมื่อใดที่ไม่ควรคลอดลูกเองที่บ้าน
ในทางกลับกัน การคลอดลูกเองที่บ้านไม่แนะนำสำหรับคุณผู้หญิงที่มีปัญหาทางสุขภาพ ดังนี้
- เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- ไม่มีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ ที่มีผ่านการอบรมและมีประสบการณ์คอยดูแล
- คิดว่าไม่สามารถทนอาการปวดท้องคลอดได้
- เคยมีประสบการณ์ในการคลอดที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหา เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกไม่กลับหัวหรือมีส่วนนำเป็นก้น
- มีประวัติการผ่าคลอดหรือการผ่าตัดมดลูก
- คู่สมรสไม่สนับสนุนการคลอดที่บ้าน
ข้อดีของการคลอดลูกเองที่บ้าน สำหรับคุณแม่ที่อายุไม่มาก
- ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและผ่อนคลาย แวดล้อมไปด้วยครอบครัวและเพื่อน ๆ
- สามารถเลือกอยู่ในภาวะแวดล้อมที่ต้องการได้ จึงสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดครั้งนี้ได้มากกว่า
- มีอิสระเต็มที่ ในการทำให้ตนเองรู้สึกสบายอย่างที่ต้องการ
- ได้อยู่สบาย ๆ ในบ้านของตัวเอง
- ไม่ต้องเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ได้รับความใส่ใจดูแลจากพยาบาลผดุงครรภ์มากกว่าในโรงพยาบาล
- มีความรู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นในการเป็นคุณแม่มากขึ้น
- เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับลูกน้อยทันที
- สามารถให้นมลูกได้ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมทั้งสำหรับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง
- ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการคลอดที่โรงพยาบาล
บทความที่เกี่ยวข้อง : คลอดลูกเอง ที่บ้าน ประสบการณ์ของชีวิต ทำคลอดเองเป็นอย่างไร
คลอดลูกที่บ้านมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
สำหรับการคลอดบุตรที่บ้าน อาจไม่ครอบคลุมประกันสังคม แนะนำให้คุณแม่ลองตรวจสอบกับทางหน่วยงานประกันสังคมก่อนเพื่อจะได้ดูว่ามีสิทธิ์ได้รับเงินค่าคลอดบุตรหรือไม่ คุณแม่อาจต้องสอบถามกับพยาบาลผดุงครรภ์และทางหน่วยงานแพทย์ดูด้วยว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพราะค่าใช้จ่ายในการคลอดลูกของแต่ละบ้านนั้น จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับที่อยู่อาศัยของคุณ
ความเสี่ยงในการคลอดลูกเองที่บ้าน
ก่อนที่จะตัดสินใจคลอดลูกเองที่บ้าน คุณจะต้องพิจารณาถึงข้อด้อยต่าง ๆ ได้แก่
- ถ้าคุณทนการเจ็บท้องคลอดไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว คุณจะไม่มีทางเลือกที่จะขอบล็อกหลัง
- หากเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น เช่น อาการเหนื่อยอ่อนจากการคลอด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทารกอยู่ในภาวะเครียด สายสะดือพลัดต่ำ หรือมีการตกเลือด คุณจะต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- ครอบครัว เพื่อน ๆ และคุณหมออาจไม่เห็นด้วยหรือไม่สนับสนุนความคิดนี้
- คุณต้องเป็นผู้ตัดสินใจ หรือเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดที่บ้านเองทุกอย่าง
- อาจไม่มีความเป็นส่วนตัวเนื่องจากครอบครัวและเพื่อน ๆ อาจเข้ามายุ่งกับการคลอด
ทำอย่างไรถึงจะปลอดภัย
เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะคลอดลูกเองที่บ้าน สิ่งที่คุณจะต้องพิจารณา และเตรียมพร้อมเพื่อความปลอดภัยได้แก่
- จ้างพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับใบอนุญาต พร้อมสูติแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการทำคลอดที่บ้าน สัมภาษณ์นางพยาบาลที่จะมาช่วยดูแลการคลอดของคุณ ทำความรู้จักกับเธอและขอคำแนะนำ ในการเตรียมรับมือกับอาการเจ็บท้องคลอดและเรื่องอื่น ๆ ที่คุณอาจต้องทราบ
- เตรียมแผนสำรอง ในกรณีที่เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น คุณควรมีแผนสำรองที่จะช่วยให้การพาคุณส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านเป็นไปได้เร็วขึ้น
- เตรียมหากุมารแพทย์ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้คุณหมอมาดูลูกน้อยของคุณได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ดีและไม่มีปัญหาใด ๆ
- เตรียมอุปกรณ์และข้าวของที่จำเป็นสำหรับการคลอด นอกเหนือจากเครื่องมือที่พยาบาลผดุงครรภ์จะนำมาแล้ว คุณจะต้องสอบถามด้วยว่าคุณควรจะต้องเตรียมอะไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้อง : คลอดลูกเอง มีข้อดีอย่างไร ความเสี่ยงและข้อควรรู้ หากต้องการคลอดลูกที่บ้าน
อุปกรณ์ในการคลอดลูกที่บ้าน
ส่วนใหญ่แล้ว อุปกรณ์ในการคลอดลูกเองที่บ้าน ทางแพทย์จะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ซึ่งคุณแม่อาจต้องปรึกษากับพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ประจำตัวก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าบ้านของคุณมีอุปกรณ์ครบทุกอย่าง หากมีอะไรขาดหายไป ก็จะได้เตรียมไว้ได้ ซึ่งอุปกรณ์หลัก ๆ ที่ใช้ในการทำคลอดลูกที่บ้าน มีดังนี้
- แผ่นดูดซับน้ำ
- แผ่นรองซับประจำเดือน
- เข็มฉีดยา
- สบู่ฆ่าเชื้อ
- ที่หนีบสายไฟ
- ถุงมือสะอาด
- ผ้าก๊อซ
- แผ่นเตรียมแอลกอฮอล์
- กะละมัง
- ผ้าคลุมกันน้ำ
- ผ้าเช็ดตัว
- ผ้าเช็ดหน้า
- ผ้าปูที่นอนและผ้าห่ม
- ถุงขยะ
หากคุณกำลังตั้งครรภ์และพิจารณาการคลอดที่บ้านอยู่ ขอให้คุณชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่างข้อดีและข้อด้อยของการคลอดแบบนี้ ไม่มีใครบอกได้ว่า อะไรดีที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือการตัดสินใจของคุณ จะมีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกน้อย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คลอดลูกในน้ำเองที่บ้าน วิดิโอคุณแม่คลอดลูกเองในอ่างน้ำที่บ้าน
ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้าง แม่ท้องคลอดลูกเองควรเลือกท่าอะไรดี?
คลอดลูกเองหน้าห้องฉุกเฉิน แม่สายสตรอง..ขอแชร์ประสบการณ์ที่ลืมไม่ลง!!
ที่มา : medthai, motherhood, healthline