คำราชาศัพท์นั้น เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่อใช้ในการแบ่งตามชั้นวรรณะของบุคคล นับว่าเป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพ ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ ข้าราชการ และสุภาพชน ก็จะมีคำที่ใช้แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราได้รวบรวม คำราชาศัพท์ หมวดกริยา คำราชาศัพท์เกี่ยวกับพระอิริยาบถต่าง ๆ มาฝากไว้เป็นเกร็ดความรู้กันค่ะ มาลองดูกันว่าคุณรู้จักคำเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนกันนะ
คำราชาศัพท์ หมวดกริยา
|
คำราชาศัพท์ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
พระราชดำรัส |
พระ – ราช – ชะ – ดำ – รัด |
คำพูด |
ตรัส |
ตรัด |
พูด |
เสด็จพระราชดำเนิน |
สะ – เด็ด – พระ – ราด – ชะ – ดำ – เนิน |
เดินไปที่ไกล ๆ |
เสด็จลง… |
สะ – เด็ด – ลง – … |
เดินทางไปที่ใกล้ ๆ |
พระราชนิพนธ์ |
พระ – ราด – ชะ – นิ – พน |
แต่งหนังสือ |
พระกาสะ |
พระ – กา – สะ |
ไอ |
พระสรวล |
พระ – สวน |
หัวเราะ |
ปรมาภิไธย |
ปะ (ปอ) – ระ – มา – พิ – ไท |
ลงลายมือชื่อ |
ทรงสัมผัสมือ |
ทรง – สัม – ผัด – มือ |
จับมือ |
พระเกษมสำราญ |
พระ – กะ – เสม – สัม – ราน |
สุขสบาย |
พระปินาสะ |
พระ – ปิ – นา – สะ |
จาม |
พระราชโองการ |
พระ – ราด – ชะ – โอง – กาน |
คำสั่ง |
พระราโชวาท |
พระ – รา – โช – วาด |
คำสั่งสอน |
พระราชประสงค์ |
พระ – ราด – ชะ – ปะ – สง |
อยากได้, ต้องการ |
พระราชปฏิสันถาร |
พระ – ราด – ปะ – ติ – สัน – ถาน |
ทักทายปราศรัย |
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวม 70 คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยมักเข้าใจผิด
คำราชาศัพท์เกี่ยวกับพระอิริยาบถต่าง ๆ
|
คำราชาศัพท์ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
สรงพระพักตร์ |
สง – พระ – พัก |
ล้างหน้า |
ชำระพระหัตถ์ |
ชำ – ระ – พระ – หัด |
ล้างมือ |
เสด็จประพาส |
สะ – เด็ด – ปะ – พาด |
ไปเที่ยว |
พระราชปุจฉา |
พระ – ราด – ปุด – ฉา |
ถาม |
ถวายบังคม |
ถะ – หวาย – บัง – คม |
ไหว้ |
พระบรมราชวินิจฉัย |
พระ – บะ – รม -ราด – วิ – นิด – ไฉ |
ตัดสิน |
ทอดพระเนตร |
ทอด – พระ – เนด |
ดู |
พระราชทาน |
พระ – ราด – ชะ – ทาน |
ให้ |
พระราชหัตถเลขา |
พระ – ราด – ชะ – หัด – ถะ – เล – ขา |
เขียนจดหมาย |
ทรงเครื่อง |
ซง – เครื่อง |
แต่งตัว |
ทรงพระอักษร |
ซง – พระ – อัก – สอน |
เรียน, เขียน, อ่าน |
ประทับ |
ประ – ทับ |
นั่ง, อยู่ |
ทรงยืน |
ซง – ยืน |
ยืน |
บรรทม |
บัน – ทม |
นอน |
กริ้ว |
กิ้ว |
โกรธ |
คำราชาศัพท์ควรรู้
|
คำราชาศัพท์ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
ประชวร |
ประ – ชวน |
ป่วย |
ประสูติ |
ประ – สูด |
เกิด |
ทูล |
ทูน |
บอก |
เสวย |
สะ – เหวย |
กิน |
ถวาย |
ถะ – หวาย |
ให้ |
โปรด |
โปรด |
รัก, ชอบ |
ทรงม้า |
ซง – ม้า |
ขี่ม้า |
ทรงดนตรี |
ซง – ดน – ตรี |
เล่นดนตรี |
กันแสง |
กัน – แสง |
ร้องไห้ |
สรวล |
สวน |
หัวเราะ |
ประชวร |
ประ – ชวน |
ป่วย |
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวม 52 คำทับศัพท์ภาษาไทย ใช้กันเยอะ ใช้กันบ่อย เขียนถูกหรือเปล่า ?
กฎการใช้คำราชาศัพท์ในหมวดกริยา
- การใช้คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์ที่มีคำว่า “ทรง” ตามด้วย คำกริยา หรือคำนาม จะมีความหมายถึง กษัตริย์ หรือเทพเจ้า เช่น ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร ก็จะเป็นคำที่ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน ในขณะที่ทรงหงส์ จะหมายถึง พระพรหม ทรงโค หมายถึง พระอิศวร ดังนั้นคำราชาศัพท์นิยามได้ว่า เป็นการใช้กับเทพ และสมมติเทพ นั่นเอง
- การเปลี่ยนไปใช้คำกริยาราชาศัพท์ที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเติมคำใด ๆ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน เสวย สรง โปรด ทอดพระเนตร กริ้ว พระราชทาน ประทาน ประชวร บรรทม สิ้นพระชนม์ สวรรคต เสวย ประทับ พระราชทาน เป็นต้น
- การเปลี่ยนคำกริยาด้วยการประกอบคำว่า “ทรง” นำหน้า เช่น ทรงเล่น ทรงออกกำลังกาย ทรงพักผ่อน ทรงพระประชวร ทรงพระสรวล เป็นต้น
- คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง เช่น เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง เช่น ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์
- คำที่เป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่น เสด็จ เสวย โปรด ประทับ เป็นต้น
- คำว่า “ไป” “มา” “กลับ” “เข้า” “ออก” “ขึ้น” “ลง” จะใช้คำว่า “เสด็จ” นำหน้า เช่น เสด็จพระราชดำเนินกลับ เสด็จออกจากโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น
แม้จะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก และคำศัพท์ต่าง ๆ ก็แตกต่างจากที่เราใช้ทั่วไป แต่ก็ยังเป็นคำที่พวกเราคนไทย ควรรู้จักและเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจในการกล่าวถึงบริบทต่าง ๆ โดยเฉพาะเรามักจะได้พบเจอคำศัพท์เหล่านี้ เมื่อรับชมข่าวพระราชสำนัก ในแต่ละวันนั่นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ คำราชาศัพท์ที่ควรเรียนรู้
50 คำศัพท์ภาษาไทย ที่คนไทยมักเขียนผิด และลูกควรเรียนรู้ไว้ก่อน
เทคนิคการจำ “กริยา 3 ช่อง” พื้นฐานภาษาอังกฤษที่สำคัญสำหรับเด็กประถม
ที่มา : lifestyle.campus-star.com, digitalschool.club
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!