คำศัพท์ภาษาไทย มีทั้งยาก มีทั้งง่าย ยิ่งในยุคดิจิทัลที่เรามักใช้ภาษาพิมพ์ที่รวดเร็วเน้นการอ่านออกง่ายมากกว่าความถูกต้อง อาจส่งผลให้เด็ก ๆ จดจำคำเหล่านั้นแบบผิด ๆ ซึ่งเป็นปัญหาคู่คนไทยมาช้านาน วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามีคำไหนบ้างที่ควรให้หนูน้อยเรียนรู้ไว้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดตัวสะกดแม้แต่ตัวเดียว
รู้จักภาษาไทยเบื้องต้น
ภาษาไทยเป็นภาษากลางของประเทศไทย ที่ใช้ในประเทศของเราเท่านั้น ต่างจากภาษาอังกฤษที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติ ทำให้ไม่คุ้นเคยต่อภาษาอื่น การเรียนรู้ภาษาไทยจึงกลายมาเป็นภาษากลางที่เป็นรากฐานของทุกคน และเด็ก ๆ ต้องทำการเรียนรู้ตั้งแต่จำความได้ เพื่อใช้ในการสื่อสาร ด้วยเหตุนี้เองทำให้วภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้กับภาษาอังกฤษเลย
โดยภาษาไทยของเรานั้นถูกค้นพบอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในพุทธศักราช 1826 จากการประดิษฐ์ ดัดแปลงโดยพ่อขุนรามคำแหง และถูกใช้เป็นภาษาราชการอย่างเป็นทางการผ่านการจัดตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 และมีการปฏิรูปภาษาไทยขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2485 สำหรับภาษาไทยมีการสันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากตอนใต้ของประเทศจีน และอาจมีการเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก, ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟรี ! คําศัพท์ภาษาอังกฤษ ป.1 เอาไว้ให้ลูกตัวน้อยท่องจำได้ทุกเวลา
วิดีโอจาก : เทพลีลา
50 คำศัพท์ภาษาไทย ที่คนไทยมักเขียนผิด
|
ภาษาไทย คำไหนผิด คำไหนถูก มาดูเลย
|
คำที่มักเขียนผิด |
คำที่เขียนถูกต้อง |
นะค่ะ |
นะคะ |
อินเตอร์เน็ต |
อินเทอร์เน็ต |
กระเพรา |
กะเพรา |
ไอศครีม |
ไอศกรีม |
บุคคลากร |
บุคลากร |
อนุญาติ |
อนุญาต |
ซีรี่ย์ |
ซีรีส์ |
อีเมล์ |
อีเมล |
ปรากฎ |
ปรากฏ |
ศรีษะ |
ศีรษะ |
สเน่ห์ |
เสน่ห์ |
ผัดไท |
ผัดไทย |
กระเพรา |
กะเพรา |
ภาพยนต์ |
ภาพยนตร์ |
พากษ์ |
พากย์ |
เท่ห์ |
เท่ |
ศิลป |
ศิลป์, ศิลปะ |
สร้างสรร |
สร้างสรรค์ |
สัมภาษ, สัมภาสน์ |
สัมภาษณ์ |
เครื่องสำอางค์ |
เครื่องสำอาง |
ลิปสติค |
ลิปสติก |
ตระกร้า |
ตะกร้า |
เซ็นต์ชื่อ |
เซ็นชื่อ |
กดไลค์ |
กดไลก์ |
อัพเดท, อัปเดท |
อัปเดต |
อัพโหลด |
อัปโหลด |
คลิ๊ก |
คลิก |
แอพพลิเคชั่น |
แอปพลิเคชัน |
เว็ปไซต์ |
เว็บไซต์ |
ดิจิตอล |
ดิจิทัล |
กราฟิค, กราฟฟิก |
กราฟิก |
วีดิโอ |
วิดีโอ |
โปรโมชั่น |
โปรโมชัน |
คำนวน |
คำนวณ |
ก้อ |
ก็ |
เวอร์ชั่น |
เวอร์ชัน |
แพ็คเกจ |
แพ็กเกจ |
แผนการณ์ |
แผนการ |
กระทันหัน |
กะทันหัน |
ไข่มุข |
ไข่มุก |
คลีนิก |
คลินิก |
ทนุถนอม |
ทะนุถนอม |
เบรค |
เบรก |
สัปปะรด |
สับปะรด |
สังเกตุ |
สังเกต |
ต่าง ๆ นา ๆ |
ต่าง ๆ นานา |
คุ้กกี้, คุ๊กกี้ |
คุกกี้ |
เครื่องลาง |
เครื่องราง |
เจตจำนงค์ |
เจตจำนง |
บริสุทธ, บริสุทธิ |
บริสุทธิ์ |
ทำไมภาษาไทยจึงยากสำหรับเด็ก ๆ
ถึงแม้จะเป็นภาษากลาง แต่การเรียนรู้ก็ไม่ได้ทำได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากแต่ละภาษาไทยมีความยากในตัวของภาษานั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เด็กหลายคนจึงมีปัญหากับการเรียนรู้ ทั้งจากหลักภาษาไวยากรณ์ หรือการออกเสียง รวมไปจนถึงการเขียนสะกดคำให้ถูกต้องทั้งคำไทยแท้ หรือคำทับศัพท์ที่มาจากภาษาอื่น ๆ ซึ่งก็มีเหตุผลหลากหลาย ได้แก่
- ขาดการฝึกฝนที่ถูกต้อง : คำศัพท์ภาษาไทยหลายคำอาจไม่ได้มีสอนในชั้นเรียน แต่มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน บางคำอาจเป็นเพียงแค่ภาษาพูด แต่เมื่อต้องเขียน หรือพิมพ์ในบทสนทนาผ่านสื่อต่าง ๆ ก็อาจเกิดความผิดพลาดกันมากขึ้น เช่น การใช้คำว่า “ค่ะ” และ “คะ” ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในสังคมไทยให้ความสำคัญพอสมควรในปัจจุบัน ซึ่งอาจต้องฝึกจากการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ในชั้นเรียนจะไม่ได้สอนก็ตาม
- ไม่คุ้นเคยกับคำทับศัพท์ : คำทับศัพท์ที่เกิดขึ้นถูกนำมาเขียนแทนคำภาษาอังกฤษต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความสับสนสำหรับเด็ก ๆ ได้ เพราะในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นการท่องศัพท์แบบปกติ แต่คำทับศัพท์อาจมีการสะกดที่กำหนดไว้อย่างตายตัว ซึ่งต้องศึกษาเป็นคำ ๆ ไป อีกทั้งหลายคำ อาจมีการบัญญัติขึ้นในภายหลังตามมา ทำให้เกิดคำทับศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น หากเด็ก ๆ ไม่ได้ติดตามก็อาจนำไปสู่ความไม่เข้าใจในภาษาไทยได้
- เสียงเหมือนแต่ความหมายต่าง : เมื่อการออกเสียงเหมือนกัน แต่คำนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ อาจสับสน และจำผิดได้ เช่น “ถ้า-ท่า”, “หน้า-น่า”หรือ “ให้-ไห้” เป็นต้น ดั่งที่เราเห็นกันในปัจจุบันว่ายังมีอีกหลายคนที่เขียนผิดจนมองว่าเป็นเรื่องปกติ สำหรับเด็กเองหากไม่ได้รับการขัดเกลาในจุดนี้ก็อาจทำให้การเรียนภาษาไทย มีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
- คำศัพท์หลายรูปแบบ : ภาษาไทยนั้นต่างจากภาษาอังกฤษตรงที่ ภาษาอังกฤษมีคำที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ แต่ภาษาไทยมีมากกว่านั้น นอกจากคำศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป และคำทับศัพท์แล้ว ภาษาของเรายังมีคำราชาศัพท์ด้วย และในชั้นเรียนเด็ก ๆ อาจต้องเรียนคำชนิดต่าง ๆ แทบทั้งสิ้น จึงอาจทำให้เด็ก ๆ มองว่ามีความยากต่อการจดจำ ทำให้เขียนผิดอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง
ทำอย่างไรให้ลูกใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ?
เรื่องนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เนื่องจากคำศัพท์ของทุกภาษา มีทั้งคำที่ง่าย และคำที่ยากปะปนกันไป ไม่แปลกที่จะเกิดการจดจำคำที่ผิดทั้งมาจากการไม่ได้เรียนรู้การเขียนที่ถูกต้อง ร่วมกับการจำมาผิด ๆ จากการเห็นตามสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ยังอาจพบได้ว่าเด็ก ๆ อาจจำคำที่ถูกต้องได้ในชั้นเรียน แต่ในยุคที่สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้เด็ก ๆ หลายคนต้องการประหยัดเวลาในการพิมพ์สนทนา จนเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ ๆ และเกิดความสับสนกับคำที่ถูกต้องในภายหลังได้อีกด้วย
ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้มีความซับซ้อน ไม่ต้องถึงขั้นเรียนพิเศษ แต่แค่ต้องให้เวลาในการศึกษาจากสื่อต่าง ๆ ทั้งจากบทความออนไลน์ หรือหนังสือ ที่รวบรวมคำเขียนภาษาไทย ที่คนมักใช้ผิดกัน แต่การอ่านเฉย ๆ ไม่นานอาจจะทำให้ลูกลืมได้ หากเป็นไปได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมช่วยฝึกให้ลูก เช่น เขียนตามคำบอก แต่เพิ่มเติมให้ต่างจากในห้องเรียนด้วยการมีรางวัลให้ตามคะแนนที่ได้ เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลูกฝึกการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยให้กับลูกได้แล้ว และแน่นอนว่าควรทำเป็นประจำเมื่อมีโอกาส เพราะหากไม่ได้ใช้คำเหล่านั้นนานเข้าลูกอาจลืมได้เช่นกัน
วิดีโอจาก : VGameKids
การใช้คำศัพท์ภาษาไทยให้ถูกต้องในภาษาเขียน ถือเป็นรากฐานที่ดีของสังคมไทย ที่คนในปัจจุบันให้ความสำคัญกันมากขึ้น จากความผิดเพี้ยนของภาษาในยุคออนไลน์ เพื่อป้องกันปัญหานี้ อย่าลืมที่จะฝึกลูกตั้งแต่ตอนที่เขายังเด็ก จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งเลย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ภาษาใต้คําด่า ที่หลายคนอยากฝึกไว้แหลงเพลิน ๆ ใครได้ฟังเป็นต้องอมยิ้ม
ภาษาลู คืออะไร เรียนรู้ภาษาสุดบันเทิงของชาว LGBTQ ไม่ยากอย่างที่คิด
57 ภาษาอีสานกวน ๆ คำไหนแสบเข้าเส้น จิกกัดแบบมีเสน่ห์
ที่มาข้อมูล : wikipedia sanook wongnai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!