พื้นที่สีแดง ใครเดินทางมาจากจังหวัดเสี่ยง จังหวัดไหนที่เดินทางไปแล้วต้องกักตัว วันนี้ theAsianparent ข้อมูลแต่ละพื้นที่มาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้เช็กกัน
จังหวัดที่ต้องกักตัว พื้นที่สีแดง
การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ระลอกใหม่ ทำให้หลายจังหวัดต้องปิดตัว และใช้มาตรการเข้มงวดมากขึ้น และประกาศให้ผู้ที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ หรือนักท่องเที่ยว ต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน โดยล่าสุดประกาศพื้นที่ในจังหวัดทั้งหมด 46 จังหวัด โดยแบ่งตามภาคได้ ดังนี้
ภาคเหนือ 14 จังหวัด
พื้นที่สีแดง ภาคเหนือ
- เชียงใหม่
- ตาก
- นครสวรรค์
- น่าน
- พะเยา
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- แพร่
- ลำพูน
- อุตรดิตถ์
- อุทัยธานี
- ลำปาง
- สุโขทัย
ภาคกลาง และภาคตะวันออก 5 จังหวัด
พื้นที่สีแดง ภาคกลาง และภาคตะวันออก
- ชัยนาท
- นครนายก
- ประจวบคีรีขันธ์
- ลพบุรี
- สิงห์บุรี
ภาคใต้ 12 จังหวัด
พื้นที่สีแดง ภาคใต้
- กระบี่
- ชุมพร
- ตรัง
- นครศรีธรรมราช
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- พังงา
- พัทลุง
- ระนอง
- สงขลา
- สตูล
- สุราษฎร์ธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด
พื้นที่สีแดง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ขอนแก่น
- ชัยภูมิ
- นครพนม
- บึงกาฬ
- บุรีรัมย์
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- ยโสธร
- สกลนคร
- สุรินทร์
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อำนาจเจริญ
- อุดรธานี
- อุบลราชธานี
และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 นั้นยังคงระบาดอยู่ อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ยังคงอยู่ในอัตราที่สูงกว่าระลอกที่ผ่าน ๆ มา นายญนน์ โภคทรัพย์ และสมาคมศูนย์การค้าไทย จึงยกระดับมาตรการการเฝ้าระวัง โดยประกาศเลื่อน การเปิด – ปิด ของห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ โดยมีการเปิด – ปิด เวลา 11.00 – 20.00 น. และ นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ได้แถลงการณ์วันที่ 29 เม.ย. 64 ให้ควบคุมเข้มงวดขึ้น ในพื้นที่สีแดงเข้ม โดยงดรับประทานอาหารในร้าน สามารถซื้อกลับไปรับประทานที่บ้าน ไม่เกิน 21.00 น. รวมถึงที่ทำงาน ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย อย่าเคร่งครัด และห้ามจัดกิจกรรมที่มีคนเกินกว่า 20 คน
6 จังหวัด คุมเข้ม เปลี่ยนจากพื้นที่สีแดง เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม
6 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม
- กรุงเทพมหานครฯ
- นนทบุรี
- เชียงใหม่
- ชลบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
มาตรการสำหรับพื้นที่สีแดงเข้ม 6 จังหวัด มีอะไรบ้าง ?
- พื้นที่ กรุงเทพมหานครฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการเป็นพื้นที่ที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวด
- ห้ามจัดกิจกรรมที่รวมกันมากกว่า 20 คน
- ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ต้องซื้อมารับประทานที่บ้านเท่านั้น โดยงดบริโภคอาหารเครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน โดยทางร้านจะสามารถเปิดขายได้ถึงเวลา 21.00 น.
- สนามกีฬา ยิม ฟิตเนส ให้ปิดบริการทั้งหมด ยกเว้นสถานที่ออกกำลังกายโล่งแจ้ง เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สามารถเปิดได้จนถึงเวลา 21.00 น. งดการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขาย รวมถึงร้านเกม เครื่องเล่น
- ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัดกลางคืน สามารถเปิดได้ไม่เกิน 23.00 น.
- ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด งดเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้นมลูกได้ไหม ส่งผลกระทบถึงลูกหรือไม่
18 จังหวัด ที่ห้างสรรพสินค้า ปิดตั้งแต่ 20.00 น.
ห้างสรรพสินค้า ปิด20.00น.
- กรุงเทพมหานครฯ
- เชียงใหม่
- ชลบุรี
- สมุทรปราการ
- ประจวบคีรีขันธ์
- สมุทรสาคร
- ปทุมธานี
- นครปฐม
- ภูเก็ต
- นครราชสีมา
- นนทบุรี
- สงขลา
- ตาก
- อุดรธานี
- สุพรรณบุรี
- สระแก้ว
- ระยอง
- ขอนแก่น
31 สถานที่พื้นที่เสี่ยงในกรุงเทพ ฯ มีที่ไหนปิดบ้าง ?
สถานที่เสี่ยง
สั่งปิด 31 สถานที่เสี่ยง เริ่ม 26 เมษายน เป็นเวลา 14 วัน โดยมีสถานที่ ดังนี้
- โรงมหรสพ , โรงภาพยนตร์ , โรงละคร
- สวนน้ำ , สวนสนุก
- สวนสัตว์
- ที่เล่นสเกต
- โต๊ะสนุกเกอร์
- ที่เล่นโบว์ลิ่ง , ตู้เกม
- ร้านอินเทอร์เน็ต
- สระว่ายน้ำ
- ฟิตเนส
- ที่จัดนิทรรศการ
- พิพิธภัณฑ์
- ห้องสมุด
- ที่รับเลี้ยงเด็ก ยกเว้นรับเลี้ยงเด็กในโรงพยาบาล
- ที่ดูแลผู้สูงอายุ
- สนามมวย
- โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้
- ร้านสัก
- สถาบันสอนลีลาศ
- สนามม้า
- ศูนย์พระเครื่อง
- คลินิกเสริมความงาม
- ร้านนวดแผนไทย
- สนามแข่งขัน
- ที่แสดงมหรสพ
- ห้องประชุม
- ห้างสรรพสินค้า เปิด 11.00 – 21.00 น.
- ร้านตัดผม – เสริมสวย (เปิดให้บริการ ตัด สระ ซอย)
- สนามกีฬา
- ร้านสะดวกซื้อ 05.00 – 22.00 น.
- งดกิจกรรมสังสรรค์ , รายการทีวี หรือที่มีคนเกิน 20 คน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก ทำยังไงดี? รวมวิธีสอนให้ลูกใส่หน้ากาก
โควิด – 19 ระบาดหนัก มีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไร
ใครที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัว 14 วัน และหากรู้สึกว่าตัวเองมีไข้ มากกว่า 37.5 องศา มีอาการไอเจ็บคอ อ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- เชื้อไวรัสโควิด – 19 สามารถติดต่อได้ทางลงหายใจ น้ำมูก และน้ำลาย ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส
- เชื้อไวรัสโคโรน่า สามารถติดต่อในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมได้เช่นกัน ดังนั้น ควรรับประทานอาหาร ที่สุกเท่านั้น
- งดรับประทานอาหารที่ดิบ และเนื้อสัตว์ป่า
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หรือผู้ป่วยเด็ดขาด
- ล้างมือให้สะอาด และใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ
- ไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการเป็นไข้ ไอ หรือจาม
- งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด
- ไม่นำมือมาสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูก ปาก หากไม่จำเป็น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5
ที่มา : amarintv,pptvhd36,prachachat
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!