X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลี้ยงลูกในขวบปีแรกอย่างไรไม่เรียกว่าพลาด

29 May, 2016
เลี้ยงลูกในขวบปีแรกอย่างไรไม่เรียกว่าพลาด

เลี้ยงลูกในขวบปีแรกอย่างไรไม่เรียกว่าพลาด

สำหรับการเลี้ยงลูกคนแรกแล้ว พ่อแม่มือใหม่จะต้องเรียนรู้และลองผิดลองถูกกับเจ้าตัวเล็กในช่วงขวบปีแรก ที่บอกว่าเลยจะต้อง “เหนื่อย” แน่นอน แต่ด้วยสัญชาตญาณความเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว ต้องพยายามเต็มที่ในการดูแลลูกน้อยอยู่แล้ว มาดูวิธีการเลี้ยงลูกในช่วงขวบปีแรกสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ว่าทำอย่างไรถึงไม่เรียกว่าพลาดกันนะ
ไม่ต้องตกใจเกินไปเมื่อเห็นลูกร้องไห้งอแง

ไม่ต้องตกใจเกินไปเมื่อเห็นลูกร้องไห้งอแง

ดูเหมือนเด็กกับการร้องไห้จะเป็นของคู่กันตั้งแต่เกิดไปเสียแล้ว การที่ลูกส่งเสียงร้องไห้งอแง ไม่ได้เกิดจากลูกเจ็บ ป่วย หรือมีอาการแย่เสมอไป แต่อาจเป็นเพราะลูกอาจจะยังส่งเสียงพูดไม่ได้ หรือเพราะความเป็นเด็กตัวน้อยที่ไม่สามารถนึกคิดประโยคยาว ๆ ในสิ่งที่เขาต้องการมาบอกพ่อแม่ได้ การร้องไห้จึงเป็นการแสดงออกหรือการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่

แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการร้องไห้ของลูกผิดปกติ เมื่อเข้าไปปลอบแล้วไม่หยุดร้อง ร้องไห้เสียงดัง หาสาเหตุไม่เจอ ควรรีบไปหาคุณหมอเพื่อดูอาการนะคะ

บทความแนะนำ : เทคนิคหยุดลูกร้องไห้ 4 วิธี
ไม่ต้องตื่นเต้นลนลานกับทุกสิ่งอย่างเกินเหตุ

ไม่ต้องตื่นเต้นลนลานกับทุกสิ่งอย่างเกินเหตุ

ช่วงพาลูกน้อยกลับเข้าบ้าน จะกลายเป็นช่วงที่คุณแม่ตื่นเต้นและลนลานมากที่สุด เมื่อต้องเจอกับพฤติกรรมของลูกที่คุณแม่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เช่น ต้องอาบน้ำลูกอย่างไร ตกใจเมื่อลูกแหวะนม ลูกร้องไห้หนักมาก ฯลฯ ทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นตระหนกและจะพลอยไปกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดความกังวลและมีความเครียดไปด้วยได้

ถึงแม้จะเห็นว่าลูกรักเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ แต่โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของทารกจะมีกระบวนการยืดหยุ่น และสามารถปรับสภาพร่างกายตัวเองได้ อาการที่เกิดขึ้นกับทารกสามารถแก้ปัญหาได้ หากคุณแม่ค่อย ๆ ปรับตัวและเรียนรู้วิธีต่าง ๆ ในการดูแลทารกด้วยความใจเย็น ก็จะทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกกังวลมากเกินไป
ไม่แสดงพฤติกรรมรุนแรงหรือก้าวร้าวต่อหน้าลูก

ไม่แสดงพฤติกรรมรุนแรงหรือก้าวร้าวต่อหน้าลูก

เพราะลูกน้อยคือผ้าผืนขาว และพ่อแม่ก็คือต้นฉบับของลูก ทารกตั้งแต่ 3 เดือนก็สามารถรับรู้และมีความรู้สึกแล้ว เด็กจะซึมซับ จดจำ สิ่งที่เห็นมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นหากคิดว่ามีปัญหารุนแรงที่ต้องคุยกัน เกิดการขึ้นเสียง ส่งเสียงดัง รวมถึงการทะเลาะตบตี ก็ไม่ควรแสดงต่อหน้าลูก หรือเลี่ยงไปคุยกันห้องอื่น เพราะพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ลูกน้อยรู้สึกกดดันและสร้างความเครียดได้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ในอนาคต

บทความแนะนำ : 9 วิธี เลี้ยงลูกแบบไหนให้โตมาไม่ก้าวร้าว
ไม่หลงเชื่อข้อมูลผิด ๆ และนำมาใช้กับลูก

ไม่หลงเชื่อข้อมูลผิด ๆ และนำมาใช้กับลูก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันนี้เรามักจะค้นคว้าหาข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ทก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ซึ่งหากพ่อแม่พลาดไปหลงเชื่อข้อมูลจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรค้นคว้าหาข้อมูลดูให้มากกว่าหนึ่งแห่ง หรือขอคำแนะนำการเลี้ยงลูกจากคุณแม่ที่มีประสบการณ์มาก่อน แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับลูกน้อย แต่หากเป็นข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ เช่น วิธีการรักษา การป้องกันโรค การใช้ยา หรือการฉีควัคซีน ฯลฯ ถ้ามีข้อสงสัยเหล่านี้ ควรขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอดีกว่าคะ
ไม่จำเป็นต้องปลุกลูกมาดื่มนมตอนกลางคืน

ไม่จำเป็นต้องปลุกลูกมาดื่มนมตอนกลางคืน

การนอนของเด็กเล็กสำคัญมากนะคะ หากลูกนอนหลับอย่างสนิทแล้ว คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่ากลัวลูกกินนมแม่ไม่อิ่ม ถึงขนาดต้องปลุกลูกขึ้นมากินนมกลางดึก เพราะสำหรับเด็กเล็กแล้วเมื่อลูกหิวก็จะร้องไห้ส่งสัญญาณเรียกหานมจากคุณแม่อยู่แล้ว

บทความแนะนำ : ฝึกลูกนอนยาวด้วยเทคนิค Dream Feed
ไม่หลงลืมที่จะแสดงความรักต่อกันฉันท์สามีภรรยา

ไม่หลงลืมที่จะแสดงความรักต่อกันฉันท์สามีภรรยา

ไม่ใช่ว่ามีลูกแล้ว จะทุ่มเทความรักหรือเวลาให้ลูกทั้งหมด จนลืมเวลาที่จะกุ๊กกิ๊กหรือเอาใจใส่กันเหมือนก่อน เพราะนั้นอาจกลายเป็นระยะห่างที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางกายของคุณทั้งคู่เหินห่าง ในเมื่อมีลูกมาเป็นโซ่ท้องคล้องใจเติมความสมบูรณ์แบบให้เป็นครอบครัวแล้ว ก็อย่าลืมหาเวลาเติมความรักและสร้างเร่าร้อนให้เกิดขึ้นกันบ้างนะคะ

บทความแนะนำ : 10 เคล็ด(ไม่)ลับทำการบ้านกับสามีตอนลูกหลับ
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เลี้ยงลูกในขวบปีแรกอย่างไรไม่เรียกว่าพลาด
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว