“ สอนลูก ” โดยการสร้างวินัยหรือการทำโทษ ต่างกันอย่างไร
การสร้างวินัย คือ การสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบ ควบคุมตัวเองได้ และ เชื่อฟังผ่านการกำหนดแนวทาง กฎ และ ความคาดหวังให้กับลูก คุณต้อง สอนลูก ให้หรู้ถึงผลลัพธ์ของการไม่เชื่อฟังว่าเป็นอย่างไร เพราะสิ่งสำคัญคือการเรียนรู้จากการผิดพลาดนั่นเอง การสร้างวินัยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลักษณะนิสัย
ในทางกลับกัน การทำโทษจะพุ่งเป้าไปที่การทำผิด การทำให้เด็กรู้สึกแย่กับสิ่งที่ได้ทำ (หรือไม่ได้ทำ) การทำโทษ คือ การแสดงให้เด็กได้รู้ว่าสิ่งที่ลูกทำนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ
พญ.เบญจพร ตันตสูติ หรือ หมอมินบานเย็น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ระบุว่า การตีอาจจะช่วยลดพฤติกรรมไม่ดีของเด็กให้เกิดขึ้นน้อยลง และมันก็หยุดเด็กที่ทำตัวไม่ดีได้รวดเร็วดี แต่ข้อเสีย ก็คือ การตีเป็นการลงโทษที่ทำให้สัมพันธภาพของคนที่ตี และ คนที่ถูกตีเสียไปได้ง่าย
ตัวอย่างของการสร้างวินัย
เมื่อคุณสร้างวินัยให้กับลูก คุณต้องคิดถึงประโยชน์ และการพัฒนาของลูกเป็นที่ตั้ง เจตนาของคุณ คือ การสอนให้ลูกรู้ว่าการเติบโต และ เรียนรู้จากประสบการณ์เป็นอย่างไร สอนให้ลูกได้รู้จักการรับผิดชอบต่อการกระทำผิดของตัวเอง ให้ลูกมีทักษะสำคัญในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในอนาคต และ การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
การสร้างวินัย คือ…
- การช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจว่าทำผิดอะไร
- การให้ลูกของคุณรับรู้ถึงสิ่งที่ได้ทำผิดไป
- การช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจว่าต้องขอโทษต่อสิ่งที่ได้ทำผิดไป
- การให้ลูกของคุณชดเชยต่อสิ่งที่ได้ทำผิดไป
- การสอนให้ลูกของคุณเรียนรู้ถึงสิ่งที่ถูกต้องจากสิ่งที่ผิดพลาด และให้ทำตามนั้น
- การให้ผลของการกระทำ ที่สอดคล้องกับ “ความผิด” ที่ลูกคุณทำ
- การช่วยให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผลของการกระทำ
แต่ คุณต้องไม่ลืมว่า การสร้างวินัยคือการสอน และ ตัวอย่างผลของการกระทำที่พอจะสมเหตุสมผลอยู่บ้าง คือ การกักบริเวณ การเข้ามุม เสียสิทธิ์ประโยชน์บางอย่าง เช่น การลดเงินค่าขนม การลดเวลาเล่นเกมส์ หรือ การให้งานบ้านมากขึ้น และ อื่น ๆ
ตัวอย่างของการทำโทษ
ขอย้ำอีกครั้งว่าการทำโทษ คือ การพุ่งเป้าไปที่การกระทำผิดของเด็ก และ ทำให้เด็กรู้สึกแย่กับสิ่งที่ได้ทำ การทำโทษมีตั้งแต่การทำให้อาย การลงโทษทางร่างกาย (แน่นอนว่าการตีมือ หรือ ก้นนั้นไม่นับว่าเป็นการสร้างวินัย) การทำให้โดดเดี่ยวทางจิตใจ หรือกระทั่งการทำร้ายร่างกาย
วิธีการสร้างวินัยแทนที่จะทำโทษ
หลังจากอ่านนิยามของการทำโทษ และ ทำความเข้าใจกับมันแล้ว คุณพ่อคุณแม่น่าจะไม่อยากเลี้ยงลูกให้เติบโตมาในบรรยากาศเช่นนั้นแน่ ๆ
เพื่อเป็นการสร้างวินัยให้ได้ผลนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้อง….
- ใจเย็นเข้าไว้ ลงมือสอน หรือ ทำเอง แทนที่จะลงมือ เมื่อลูกทำสิ่งใดผิดก่อน
- เสาะหาข้อเท็จจริง เพราะ การทำอะไรรีบร้อนเกินไป แม้จะเป็นการสร้างวินัย ก็อาจจะผิดพลาดกันได้
- ลองพิจารณาตัวเด็กด้วย เด็กบางคนจะตอบสนองได้ดีต่อการถูกจำกัดสิทธิ์บางอย่าง แต่เด็กบางคนจะหลาบจำกว่ากับการต้องใช้เวลาทำงานบ้านมากขึ้น หรือต้องเขียนจดหมายขอโทษ
- มุ่งเน้นที่การสอนเรื่องชีวิต ให้บทเรียนแทนที่จะไปเน้นที่การทำผิด
- ปล่อยเรื่องที่ผ่านมาแล้วให้มันผ่านไป
- เล่าประสบการณ์ของตน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับลูก และเป็นคติสอนใจ
ทั้งนี้ หลักการในการปรับพฤติกรรมเด็กนั้นหากจะทำให้ได้ผลดี ต้องทำด้วยพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เด็กจะต่อต้านน้อยกว่า เชื่อฟังและมีความเกรงใจมากกว่า และ ต้องเริ่มทำตั้งแต่เด็กยังเล็ก สิ่งที่เด็กทำได้ดีก็ต้องชมเชยด้วย ใช่ว่าจะมองหาสิ่งที่เด็กทำผิดอย่างเดียว และ ผู้ใหญ่ต้องจัดการอารมณ์ให้ดี บางครั้งผู้ใหญ่ก็โกรธมากจนทำให้ปรับพฤติกรรมได้ไม่ดีเทำไหร่ เพราะ ความโกรธจนขาดสติ อย่าลืมว่า การปรับพฤติกรรมไม่ใช่การเอาชนะคะคานกัน
จากคำแนะนำดังกล่าว ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่น่าจะรู้แล้วล่ะ ว่าคุณจะสร้างวินัยให้กับลูกได้อย่างไร และ สามารถปรับให้เหมาะสมกับบุคลิกของลูกคุณ
Source : sanook.com , thaihealth.co.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ตีลูกดีไหม จะผิดไหมถ้ายังทำโทษลูกด้วยการตี!!!
วิธีทำโทษลูก พ่อแม่ยุคใหม่ควรทำโทษลูกอย่างไร ไม่ให้เจ็บปวด
เด็กดื้อต้องถูกทำโทษ ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ แต่ทำไมยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ!?!
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อ ติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนุบสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็งเพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”