X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 วิธี "เรียนรู้" ของเด็ก

16 Sep, 2014

พวกเราแต่ละคนล้วนมีวิธีการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และจดจำสิ่งที่เราเรียนของเราเอง วิธีการเรียนรู้หลัก ๆ มีอยู่ด้วยกันสามแบบ ประกอบด้วย ทางการมอง การฟัง และทางร่างกายร่วมกับความรู้สึก ซึ่งสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกเป็น 7 รูปแบบด้วยกัน

"เรียนรู้" ด้วยการมอง

"เรียนรู้" ด้วยการมอง

ผู้เรียนรู้ทางสายตาชอบเรียนรู้ผ่านการมองเห็น ผู้เรียนกลุ่มนี้จะทำความเข้าใจได้ดีจากรูปภาพ ภาพถ่าย แผนผัง และอื่น ๆ ที่ใช้ในการแสดง และอธิบายกรอบความคิด คุณสามารถใช้วีดีโอ และแผ่นป้ายสื่อการสอน ตกแต่งห้องด้วยแผ่นป้าย หรือภาพพิมพ์การศึกษาต่าง ๆ เช่นระบบสุริยะ หรือเรื่องทั่ว ๆ ไปเช่น อาหารของเรามาจากไหน สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ และอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้ทางสายตาเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนรู้ทางสายตาจะซึมซับ และเรียนรู้ได้ดีจากการทัศนศึกษานอกสถานที่ไปสวนสัตว์ โรงละคร และจากรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาต่าง ๆ เช่น Discovery Channel, Animal Planet, และ History Channel
"เรียนรู้" ด้วยการฟัง

"เรียนรู้" ด้วยการฟัง

ผู้เรียนรู้ทางโสตประสาทคือผู้ที่ฟังได้ดีที่สุด วิธีการทำให้ผู้เรียนกลุ่มนี้เรียนได้ดียิ่งขึ้นคือ การให้อ่านออกเสียง การใช้ดนตรี หนังสือเสียง และสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ คุณสามารถส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ดนตรี และภาษาได้ง่าย ๆ ผ่านสื่อเหล่านี้ แต่ว่าสำหรับทักษะด้านคณิตศาสตร์นั้นคุณต้องใช้วีดีโอคณิตศาสตร์เข้าช่วย ผู้เรียนรู้ทางโสตประสาทจะเรียนรู้ได้ดีกับบริบทการเรียนแบบฟังการบรรยาย แต่ว่าครูผู้สอนที่เน้นการปฏิบัติจริง หรือคาดหวังให้นักเรียนสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองเป็นส่วนมากจะทำให้ลำบากสักหน่อยกับการเรียนการสอนในบริบทนี้ ผู้เรียนจึงต้องอาศัยการเสริมด้วยการฟังด้วยตนเองที่บ้าน
"เรียนรู้" ทางถ้อยคำภาษา

"เรียนรู้" ทางถ้อยคำภาษา

ผู้เรียนทางถ้อยคำภาษาเป็นเด็กที่มีความยืดหยุ่น และสามารถรอบด้านมากที่สุด ความรักในถ้อยคำ และเสียงทำให้การเรียนรู้สนุก และน่าสนใจสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้ไม่ว่าเด็กจะเรียนรู้ด้วยวิธีไหนก็ตาม เด็กที่สนุกกับถ้อยคำมักจะชื่นชอบการฟัง และการอ่านไปด้วย อาจจะชอบวิธีใดวิธีหนึ่งมากกว่าอีกวิธี แต่จะชอบทั้งสองตัวเลือกอยู่ดี วิธีการเพิ่มพูนทักษะของผู้เรียนทางถ้อยคำภาษาที่ดี คือคุณควรใช้เวลาอ่านหนังสือกับลูก หรืออ่านให้ลูกฟังให้มากที่สุด ให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสกับหัวข้อ และรูปแบบของสิ่งที่อ่านที่หลากหลาย ทั้งตำราทำอาหารที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะทางคณิตศาสตร์ หนังสือภาพหาของที่ซ่อนอยู่ เกมปริศนาหาคำ อักษรไขว้ และหนังสือภาพต่าง ๆ นอกจากนี้เด็กกลุ่มนี้จะสนุกสนานไปกับการเล่นเกมกระดานที่ต้องอ่านคำสั่งต่าง ๆ เช่นเดียวกัน
"เรียนรู้" ทางร่างกาย

"เรียนรู้" ทางร่างกาย

ผู้เรียนรู้ทางร่างกายเป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้ผ่านทางการสัมผัส และความเคลื่อนไหว ทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือกิจกรรมเน้นการปฏิบัติจริงต่าง ๆ เด็ก ๆ ที่เป็นผู้เรียนรู้ทางร่างกายจะทำได้ดีในชั้นเรียนที่มีโครงงานที่ต้องให้ทำอะไรสักอย่าง ทั้งการสร้าง การเต้น การเคลื่อนไหว การแสดง คุณคงจะเข้าใจแล้วล่ะ วิชาที่เด็กกลุ่มนี้ชื่นชอบมักจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ พละ และการแสดง พวกแกจะทำได้ดีเลิศในวิชาอื่น ๆ ถ้ามีบรรยากาศที่เหมาะสม คุณสามารถสร้างบรรยากาศเหล่านี้ที่บ้านเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ได้ เช่น ให้ชุดอุปกรณ์ศิลปะ ทำอาหาร ทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่กระทั่งงานบ้าน เด็ก ๆ ที่เป็นผู้เรียนรู้ทางร่างกายจะสนุกสนานกับการไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับเด็ก ๆ และมีสื่อผสมเชิงโต้ตอบมากมาย มากมาย นอกจากนี้พวกแกจะสนุกไปกับงานไม้ งานปั้น และการทำงานร่วมกับสัตว์อีกด้วย
"เรียนรู้" ทางตรรกะ

"เรียนรู้" ทางตรรกะ

ผู้เรียนรู้ทางตรรกะคือเด็กที่คิดอย่างรอบคอบ อาจดูเหมือนจะทำอะไรช้า แต่อย่าเพิ่งตัดสินจากลักษณะภายนอกเช่นนั้น เพราะเด็กแค่คิดคำนวนถึงผลลัพธ์ก่อนที่จะพูด หรือทำเท่านั้นเอง ผู้เรียนรู้ทางตรรกะมักจะเป็นผู้เรียนรู้ทางสายตาด้วย เด็กกลุ่มนี้จะชอบเห็นตรรกะในความคิดตัวเองออกมาเป็นผล คุณจะไม่ประหลาดใจเลยที่เหล่าผู้เรียนรู้ทางตรรกะจะเป็นเลิศในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เหตุผลน่ะหรือ? เพราะพวกเขาสามารถเห็นผลลัพธ์ของความคิด ทุกอย่างที่ทำต้องสามารถเข้าใจได้ และต้องเป็นวิธีการแก้ปัญหา วิธีช่วยให้ผู้เรียนทางตรรกะสามารถตักตวงได้มากที่สุดจากการประสบการณ์การเรียนรู้คือการพูดคุยกับเด็กในทุก ๆ เรื่อง ฟังและร่วมแบ่งปันความคิดเห็น และถามว่าจะแก้ไขปัญหาบางเรื่องอย่างไร นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้เด็กฝึกแก้ปัญหาในรูปแบบของปริศนา เกม หนังสือเรื่องลี้ลับ และตรรกะ รวมถึงชุดอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เด็กกลุ่มนี้จะสนุกสนานกับการนั่งชมวีดีโอ และภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และทางแก้ไข แต่ว่าพวกเขาจะไม่ชอบเรื่องราวเพ้อฝัน และเทพนิยาย
บุคลิกภาพก็สำคัญ

บุคลิกภาพก็สำคัญ

นอกเหนือจากรูปแบบการ "เรียนรู้" (หรือการผสมผสานรูปแบบการเรียน) ของลูกคุณ แล้ว คุณจะต้องพิจารณาบุคลิกภาพของลูกคุณด้วยว่าเขาเป็นคนรักสังคม หรือรักสันโดษ พูดอีกอย่างก็คือ ลูกชอบทำงานเป็นกลุ่ม รวมทั้งชอบเล่น และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ มากกว่าอยู่คนเดียวรึเปล่า? ลูกเป็นเด็กที่จะถูกทำให้ไขว้เขวได้ง่าย ๆ จากงานที่กำลังทำอยู่ถ้ามีคนอื่นอยู่ใกล้ ๆ รึเปล่า?

เมื่อคุณรู้แล้ว คุณจะสามารถเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับลูกของคุณที่จะทำให้การเรียนรู้สนุกสนานได้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้น ลองคิดถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ดู

ผู้เรียนที่รักสังคมจะ... มีความสุขที่สุดเมื่ออยู่กับเพื่อน สามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน หรือได้ยิน และร่วมในการสนทนาสองวง หรือสองสถานการณ์ได้ในเวลาเดียวกัน สนุกสนาน หรือกระทั่งชื่นชอบกีฬาประเภททีมอย่างมาก ไม่รู้สึกกลัว หรือถูกคุกคามเมื่อถูกเรียกในชั้นเรียน เพลินเพลินไปกับโครงงานต่าง ๆ ในชั้นเรียน แสดงออกถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้นำแม้จะยังอายุน้อย เชื่อมโยงเหตุการณ์ และสิ่งที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชั้นด้วยความสนใจอย่างจริงใจ
สำหรับผู้ที่รักสันโดษ....

สำหรับผู้ที่รักสันโดษ....

มักจะชอบอยู่บ้านมากกว่าที่จะออกไปไหนต่อไหน ไม่ชอบเล่นกีฬาเป็นทีม แต่จะเลือกว่ายน้ำ ขี่ม้า หรือกิจกรรมที่เล่นเดี่ยว ๆ ได้มากกว่ากีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม ไม่ชอบเสียงดัง ๆ และรู้สึกว่าเสียงดัง ๆ น่ารำคาญ ชอบที่จะทำงานคนเดียวมากกว่า ไม่เคยมีความคิดริเริ่มที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม มักจะไม่ค่อยยอมอ่านออกเสียง หรือพูดในชั้น มักจะมีเพื่อนสนิทแค่คนสองคนมากกว่าหลาย ๆ คน
คุณต้องรู้จักลูกของคุณ

คุณต้องรู้จักลูกของคุณ

การช่วยเสริมสร้างการ "เรียนรู้" ของลูกคุณนั้น คุณต้องรู้นิสัยลูกของคุณให้ดี และรู้ว่าอะไรเหมาะกับเขา และนั่นจะช่วยให้คุณทำให้ชีวิตของลูกคุณเครียดน้อยลง และสนุกสนานมากยิ่งขึ้น นั่นเป็นการมอบเครื่องมือให้กับลูกของคุณ และช่วยให้ลูกสามารถสนุกสนาน และทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นที่โรงเรียนอีกด้วย
ถัดไป
img

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การศึกษา
  • /
  • 7 วิธี "เรียนรู้" ของเด็ก
แชร์ :
  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
    บทความจากพันธมิตร

    Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF

  • จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025
    บทความจากพันธมิตร

    จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
    บทความจากพันธมิตร

    Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF

  • จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025
    บทความจากพันธมิตร

    จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว