ลูกกระดูกคลาดเคลื่อน ต้องทำยังไงบ้าง? มารับมือไปพร้อมกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งนี้น่าจะทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนตกใจอยู่เหมือนกันว่า ลูกกระดูกคลาดเคลื่อน เราจะต้องทำยังไงบ้าง และหากลูกของเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เราควรมีวิธีการรักษาและดูแลลูกยังไงดี เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้รับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการรับมือเมื่อ ลูกกระดูกคลาดเคลื่อน ไปพร้อมกันเลยนะคะ

 

สาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ กระดูกเคลื่อนเกิดจากอะไรบ้าง?

คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็อาจจะกำลังสงสัยอยู่ใช่ไหมคะว่า มีสาเหตุหรือปัจจัยอะไรบ้างที่อาจส่งผลทำให้ลูกของเรามีอาการกระดูกเคลื่อนขึ้นมาได้ สำหรับใครที่ยังไม่รู้สาเหตุอย่างแน่ชัด เรามาดูไปพร้อมกันได้เลยค่ะ

 

 

1. วิ่งหกล้ม

อย่างที่รู้กันดีว่าเมื่อเขาอยู่ในช่วงวัยเด็ก เขาก็จะชอบวิ่งเล่นรอบบ้าน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จนทำให้เขาวิ่งหกล้มจนกระดูกเคลื่อนขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นหากลูกของเราเคยวิ่งหกล้มมาก่อนหน้านี้ ถึงแม้เขาจะไม่ได้มีแผลเกิดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายก็ตาม แต่สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกกระดูกคลาดเคลื่อนขึ้นมาได้เหมือนกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ถือของหรือยกของหนัก

สาเหตุที่อาจส่งผลทำให้ลูกของมีอาการกระดูกเคลื่อนขึ้นมาได้อีกอย่างเลย คือ การยกของหนัก ๆ ซึ่งสิ่งนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องระวังมาก ๆ และที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ลูกถือของหนักหรือยกของหนักจนเกินไปนะคะ เพราะสิ่งนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างอันตรายมาก ๆ เลย

 

วิธีการสังเกตอย่างไรว่าลูกกระดูกคลาดเคลื่อน

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่าเราควรมีวิธีการสังเกตอย่างไรว่า อาการที่ลูกของเราเป็นอยู่ในตอนนี้กำลังบ่งบอกว่าลูกของเรากำลังมีอาการกระดูกเคลื่อนอยู่ในตอนนี้ หากเป็นแบบนั้นแล้วล่ะก็ เรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ ขอบอกเลยนะคะว่าสังเกตได้ไม่ยากเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกใช้บันไดเลื่อน ทำอย่างไร? วิธีป้องกันอุบัติเหตุใกล้ตัวลูกรัก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. มีอาการบวมแดง

การที่ลูกของเรามีอาการกระดูกเคลื่อนขึ้นมานั้น ส่วนบริเวณนั้น ๆ ของร่างกายมักจะมีอาการบวมแดงขึ้นมาด้วย ซึ่งอาจจะเกิดจากการอักเสบ จนบางครั้งก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเจ็บหรือปวดขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องทำการสังเกตดูดี ๆ ด้วยนะคะ

 

2. มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

สิ่งที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ต่อมาเลย เป็นเรื่องของการเคลื่อนไหว ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งได้ พฤติกรรมเหล่านี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าลูกของเราน่าจะมีอาการกระดูกคลาดเคลื่อนส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายก็เป็นได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. มีอาการเจ็บหรือปวดเกิดขึ้น

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราเริ่มรู้สึกปวดบริเวณใดบริเวณหนึ่งในร่างกาย สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะมีกระดูกคลาดเคลื่อนขึ้นมาได้ และที่สำคัญไปกว่านั้นเราควรรีบพาเด็ก ๆ ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันทีเลยนะคะ

 

4. มีอาการงอแงทั้งวัน

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็ก ๆ รู้สึกปวดหรือเจ็บอะไรขึ้นมา เขาก็จะชอบงอแงหรือบางครั้งก็จะร้องไห้ขึ้นมาได้เลย เพราะฉะนั้นหากลูกของเรามีอาการหงุดหงิดหรือชอบงอแงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เราก็อาจจะคอยสังเกตอาการของลูกน้อยไปด้วยนะคะ

 

5. มีสีผิวที่ผิดปกติ

หากลูกของเรามีอาการกระดูกเคลื่อนเกิดขึ้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อีกอย่างเลยคือ สีผิวส่วนที่มีกระดูกเคลื่อนจะมีความแตกต่างออกไป เพราะฉะนั้นใครที่กำลังสงสัยว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะมีอาการกระดูกเคลื่อนหรือเปล่า เราก็อาจจะลองทำการสังเกตบริเวณผิวของลูกน้อยตามไปด้วยนะคะ

วิธีการรับมือเบื้องต้นหากลูกมีกระดูกเคลื่อนยังไงดี?

หากลูกของเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์กระดูกคลาดเคลื่อนอยู่ในตอนนี้ไม่ตกต้องใจไปนะคะ เพราะวันนี้เราได้นำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ได้รู้กันแล้ว ส่วนจะมีขั้นตอนการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

 

 

1. อย่างแรกที่เราจะต้องทำเลย เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นมาแล้วเราไม่ควรที่จะพยายามดึงแขน ขา หรือพยายามจัดกระดูกให้ลูกด้วยตัวเอง เพราะสิ่งนี้นอกจากเป็นการจัดกระดูกที่ผิดวิธีแล้วนั้น อาจจะทำให้อาการที่ลูกกำลังเป็นอยู่ในตอนนี้รุนแรงขึ้นก็เป็นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีความจำเป็นที่ต้องถอดเสื้อผ้าหรือกางเกงออกนั้น เราก็อาจจะทำการตัดเสื้อผ้าออกตามตะเข็บของเสื้อผ้าได้เลย หรือพูดง่าย ๆ ว่าไม่ควรถอดออกไปเลยนะคะ เพราะหากเราให้เด็ก ๆ เคลื่อนไหวส่วนที่กระดูกเกิดการคลาดเคลื่อน ผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกปวดหรือเจ็บได้ง่ายเลย

 

3. จากนั้นเราก็อาจจะต้องใช้สิ่งของบางอย่างมาเป็นตัวช่วยประคองแขนหรือขาลูกไว้ก่อน เพื่อที่เขาจะได้รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น อีกอย่างเราควรที่จะให้ลูกของเราอยู่นิ่ง ๆ ให้มากที่สุด หรือทางที่ดีเราก็อาจจะใช้ผ้าพยุงหรือดามแขน หรือขาไว้ก่อนได้ เพื่อที่กระดูกจะได้ไม่เกิดการคลาดเคลื่อนไปมากกว่านี้

 

4. หากเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราเริ่มมีอาการเจ็บหรือปวดขึ้นมานั้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะนำน้ำแข็งหรือผ้าเย็นมาทำการประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดขึ้นมาได้ บอกเลยนะคะว่าวิธีนี้เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้นเลยทีเดียว

 

5. หลังจากที่เราทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเรียบร้อยแล้วนั้น จากนั้นให้เรารีบพาเด็ก ๆ มาพบแพทย์โดยทันที เพื่อที่คุณหมอจะได้รับทำการรักษาได้อย่างถูกวิธีและถูกต้องให้เร็วที่สุด

 

วิธีดูแลลูกเมื่อมีอาการกระดูกเคลื่อนควรทำอย่างไรบ้าง?

หากใครที่ยังไม่รู้ว่าเราควรเริ่มยังไงดี เมื่อลูกของเรามีอาการกระดูกเคลื่อนขึ้นมา อีกทั้งเราควรมีวิธีการดูแลลูกยังไงบ้าง เพื่อที่ลูกของเราจะได้กลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติมากที่สุด เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : กระดูกสันหลังคดในเด็ก ร้ายแรงถึงตายหากไม่รักษา

 

 

1. ทำการเข้าเฝือก

แน่นอนว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเรามีอาการกระดูกหัก หรือกระดูกเคลื่อนขึ้นมา การรักษาที่สำคัญและดีที่สุดจะต้องทำการใส่เฝือกตามไปด้วย ซึ่งการใส่เฝือกนั้นเราก็อาจจะต้องให้เฝือกมีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่เป็นบริเวณกระดูกหัก เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น

 

2. ไม่ควรรัดสายตึงจนเกินไป

จากนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องทำการสังเกตดูส่วนที่เป็นสายรัดเฝือกตามไปด้วย โดยเราอาจจะต้องดูว่าสายเฝือกที่ลูกใส่นั้นอยู่ในระดับที่ตึง หรือหย่อนมากจนเกินไปหรือเปล่า ซึ่งหากจะให้ดูเราควรให้สายรัดอยู่ในระดับที่พอดี เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้ไม่รู้สึกรำคาญ และไม่ได้รู้สึกปวดตามไปด้วยนะคะ

 

3. พยายามให้ลูกวางแขน หรือขาอย่างถูกต้อง

สิ่งที่เราอาจจะต้องดูต่อมาเลยคือ เราควรพยายามให้ลูกวางแขน หรือขาให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ซึ่งในขณะเดียวกันเราก็อาจจะต้องให้หาหมอนนุ่ม ๆ มาให้ลูกรองแขนหรือขาไว้ก่อนได้ เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้ไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดตามมานั่นเอง

 

4. ไม่ปล่อยให้ลูกวิ่งเล่น

ถึงแม้ว่าลูกจะยังสามารถเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยของเราวิ่งเล่นตามปกติสักเท่าไหร่ เพราะสิ่งนี้ค่อนข้างที่เสี่ยงอันตราย หรืออาจจะทำให้เด็ก ๆ วิ่งหกล้มขึ้นมาอีกได้ ดังนั้นเราควรต้องระวังเรื่องนี้ให้ดี หรือควรให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ ก่อนจะดีกว่า

 

5. พยายามไม่ให้เฝือกโดนน้ำ

สิ่งที่เราอาจจะต้องใส่ใจต่อมาเลย นั่นคือพยายามอย่าให้เฝือกของเด็ก ๆ โดนน้ำ เพราะการใส่เฝือกโดยส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างใช้เวลานานอยู่เหมือนกัน หากเมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้โดนน้ำ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เกิดการอับชื้นจนทำให้ผิวของลูกน้อยเกิดผดผื่น หรือมีอาการอักเสบขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน

 

6. เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่

เชื่อหรือไม่คะว่าการกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ สิ่งนี้ก็จะเข้ามาช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายของเราให้ดีขึ้นมาได้ ยิ่งหากร่างกายของเราได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มเปี่ยม ไม่แน่อาการกระดูกเคลื่อน หรือกระดูกหักที่ลูกกำลังพบเจออยู่ก็อาจจะเข้ามาช่วยเสริมสร้างในเรื่องกระดูกได้ดีเพิ่มขึ้นด้วยนะคะ

 

จากที่เราได้พาคุณพ่อคุณแม่มารู้ถึงวิธีการสังเกตว่าเราควรดูยังไงว่า ลูกของเรากำลังมีกระดูกเคลื่อนอยู่ในตอนนี้ บอกเลยว่าดูได้ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ หรือหากใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลูกกระดูกเคลื่อน หรือกระดูกหัก ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะเราได้นำวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันแล้ว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกหกล้ม หัวโน ดูแลอย่างไร ควรปล่อยให้ลูกลุกด้วยตัวเองดีไหม?

ลูกเดินช้า มีปัญหาเรื่องการพัฒนาการหรือไม่ เมื่อไหร่ต้องกังวล?

สีผิวผิดปกติของลูก สีผิวไม่สม่ำเสมอ สัญญาณสำคัญของโรคด่างขาว

ที่มา : pobpad, bangkokhealth, bangkokinternationalhospital

บทความโดย

Tidaluk Sripuga